ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 29' 2.3784"
12.4839940
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 10' 4.715"
102.1679764
เลขที่ : 196766
พิธียกเกวียน ของชาวตะปอน
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 24 มิถุนายน 2565
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 24 มิถุนายน 2565
จังหวัด : จันทบุรี
1 372
รายละเอียด

เมื่อจัดทำและเตรียมส่วนประกอบต่าง ๆของเกวียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะต้องทำพิธีไหว้ครู หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "พิธียกเกวียน"ก่อนประกอบเกวียนให้สามารถใช้งานได้โดยเตรียมเครื่องไหว้ครู และเครื่องทำน้ำมนต์ไว้ให้พร้อม นำส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียนที่ยังไม่ได้ประกอบเป็นเล่มมาวางพิงไว้ สำหรับปะแหลก วางพิงไว้ที่ท้ายเกวียน ส่วนแอกไม่ได้กองรวมไว้ นอกจากนี้ยังคงต้องระวังรังผึ้งไม่ให้ถูกพื้น เกวียนที่ใช้งานแล้วจนกระทั่งชำรุด เมื่อทำการซ่อม ก็ห้ามไม่ให้รังผึ้งถูกพื้นเช่นเดียวกัน ต้องค้ำยันหรือแขวนไว้ มิฉะนั้นต้องทำพิธียกเกวียนใหม่ สำหรับเครื่องมือวางต่ำลงมาใกล้โต๊ะเครื่องไหว้

๑. เครื่องไหว้ครู ประกอบด้วย

๒. ผ้าขาว ๑ ผืน

๓. หัวหมู ๑ หัว

๔ ดอกไม้ ๑ ช่อ

๕. พานหมาก ๑ ชุด

๖. บุหรี่มวนโต ๑ มวน (มวนพิเศษด้วยใบตอง)

๗. บายศรีปากชาม

๘. ธูป ๕ ดอก

๙. ขันทำน้ำมนต์ ๑ ใบ พร้อมน้ำสะอาด

๑๐. เทียนทำน้ำมนต์ ๑ เล่ม

๑๑. ไข่ต้ม ๒ ฟอง

๑๒. ฝักมะขาม ๘ ฝัก

๑๓. หนามระกำ ๓๒ หนาม

๑๔. เหล้า ๑ ขวด

๑๕. โต๊ะตั้งของบูชา ๑ ตัว

ผู้ประกอบพิธี นำเครื่องบูชาครูวางไว้บนโต๊ะที่ปูด้วยผ้าขาว โดยใช้หนามระกำปักรอบไข่ต้ม ฟองละ ๑๖ หนาม แล้วใช้ฝักมะขามวางรอบหนามระกำเป็นวง ข้างละ ๔ ฝัก (ฝักมะขามมาแทนไม้ใหญ่ที่ใช้ทำกง หนามระกำแทนกำ และไข่ต้มแทนดุม)

ครูที่ผู้ประกอบพิธีทำการบูชาครูด้วยเครื่องไหว้ครูต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังทำน้ำมนต์ธรณีสาร เพื่อปัดเป่าเสนียดจัญไรด้วย แล้วผู้ประกอบพิธีจึงประพรมน้ำมนต์ส่วนประกอบของเกวียนที่วางพิงไว้ รวมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ด้วย แล้วช่วยกันยกส่วนประกอบต่าง ๆ ของเกวียนให้เข้าที่ให้เรียบร้อย และมีการใส่กงล้อและปะแหลก ทำการผูกมัดให้เรียบร้อย ขั้นตอนสุดท้ายคือการมัดปะแหลกด้วยหวาย ส่วนแอกยังคงวางอยู่ที่เดิม ต่อจากนี้จะช่วยกันยกเกวียนให้เดินหน้าไปเล็กน้อย ประมาณ ๑ วา แล้วจึงใส่แอกเทียมเกวียน ใช้ควายดี ๆ ซึ่งได้แก่ควายที่ใช้งานแล้วและเชื่อง เทียมเกวียนเอาฤกษ์ไว้ก่อน ให้ควายลากไประยะหนึ่ง จึงนำมาเก็บไว้เป็นอันเสร็จพิธี ในวันที่ประกอบพิธีวันนั้นจะไม่ใช้งานเลยทั้งวัน

สถานที่ตั้ง
ตำบลตะปอน
ตำบล ตะปอน อำเภอ ขลุง จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือพื้นบ้าน การทำเกวียนพื้นบ้าน
บุคคลอ้างอิง อิศรวรรณ อุตตมะเวทิน อีเมล์ jumjimchan@hotmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
ถนน เลียบเนิน
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่