ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 48' 6.9998"
13.8019444
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 19' 18.0001"
100.3216667
เลขที่ : 196841
หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนก
เสนอโดย นครปฐม วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
อนุมัติโดย นครปฐม วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : นครปฐม
0 276
รายละเอียด

หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกและเป็นแหล่งหลอมรวมจิตใจความเป็นมหิดล โดยสิ่งที่น่าจะเป็นศูนย์รวมแห่งศรัทธาได้คือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่มีรากฐานมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดลมาเป็นเวลายาวนาน เพราะท่านเป็นผู้วางรากฐานทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยจึงสร้างพื้นที่ขึ้นมา 2 ส่วน คือ สถานที่จัดแสดงงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย ประกอบไปด้วย 2 พื้นที่ใหญ่ ๆ คือ หอพระราชประวัติสมเด็จพระบรมราชชนกกับหอเกียรติยศแห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ใช้คอนเซปต์ คือ ฟ้า รุ้ง ดิน ธาตุ โดยหอพระราชประวัติฯ ใช้แนวคิดเรื่อง “ฟ้า” สื่อถึง “เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช” อย่างไรก็ตามสิ่งที่จัดแสดงไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ประวัติบุคคล แต่เน้นการตีความและดึงสิ่งที่เป็นผลงานที่ท่านทำเป็นคุโณปการต่อแผ่นดิน แบ่งเนื้อหาการจัดแสดงออกเป็น 7 โซน ดังนี้ 1.ปัญญาของแผ่นดิน 2.เจ้าฟ้าของแผ่นดิน 3.เจ้าฟ้านักเดินทาง 4.ประทีปแห่งปัญญา 5.รักษ์คนไข้ด้วยความรัก 6.กันภัยมหิดล 7.หยั่งรากในแผ่นดิน แสดงการสืบสานพระราชปณิธานในด้านต่าง ๆ ที่สมเด็จพระบรมราชชนกทรงริเริ่ม

ที่อยู่ :ชั้น 3 ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

โทรศัพท์ :0-2800-2680-9 ต่อ 4346-7 โทรสาร 0-2442-9580

ค่าเข้าชม :ไม่เก็บค่าเข้าชม

หมวดหมู่
หอจดหมายเหตุ
สถานที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ตำบล ศาลายา อำเภอ พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่