ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 50' 59.438"
17.8498439
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 24' 35.5234"
102.4098676
เลขที่ : 196849
ผ้าทอพื้นเมืองโพธิ์ตาก
เสนอโดย หนองคาย วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
อนุมัติโดย หนองคาย วันที่ 7 กรกฎาคม 2565
จังหวัด : หนองคาย
0 773
รายละเอียด

ชุมชนบ้านโพธิ์ตาก ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เป็นกลุ่มวัฒนธรรมไทพวน ที่มีวิถีชีวิตดั่งเดิม ใช้ภาษาไทพวน และมีฐานทรัพยากรไม่ว่าจะเป็น ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบ ที่อยู่ในชุมชน พืชพรรณนานาชนิด ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ชุมชนบ้านโพธิ์ตากมีแหล่งการทอผ้าฝ้ายด้วยเทคนิคการมัดหมี่ แต่ในปัจจุบันทางกลุ่มใช้สีเคมีในการย้อมสี ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การผ้าฝ้ายมัดหมี่ของชนเผ่าไทพวน และย้อมฝ้ายด้วยธรรมชาติ ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพของชุมชนด้านการออกแบบลวดลายที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์และวัฒนธรรมไทพวน รวมถึงกระบวนการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ประเภทของที่ระลึกให้เป็นสินค้าชุมชนออกจำหน่ายสู่ตลาดจริง เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือจากการย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนในแบบวิถีไทพวนได้

เป้าหมายในการสร้างรายได้เพิ่มจากสิ่งที่มีอยู่และสร้างรายใหม่จากผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ใช้ภูมิปัญญา ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยพวน การพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบลายผ้าฝ้ายทอมือและผลิตภัณฑ์ชุมชนทั้งงานผ้า งานจักสาน เพื่อเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วยการพัฒนาผ้าฝ้ายทอมือจากการย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชนในแบบวิถีไทยพวน เป็นการวางแผนใช้ทรัพยากรในชุมชนให้คุ้มค่า การจัดการ โดยการใช้บุคคลกรปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ การบูรณาการร่วมกันทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจชุมชนที่ยังยืน

รูปแบบการทอเป็นแบบ- ทอมัดหมี่- ทอลายตาราง (มัดหมี่) – ทอตารางผสมทอมัดหมี่ การออกแบบลายผ้าที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของไทพวน อัตลักษณ์ของกลุ่มไทพวน บ้านโพธิ์ตาก คือ ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน (พันสี) ลายใบโพธิ์ (ได้จากประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน จากผู้เฒ่าผู้แก่)- ลายพญานาค (ลวดลายที่สื่อถึงความเชื่อลุ่มแม่น้ำโขง ของจังหวัดหนองคาย)- ลายรวงข้าว (สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์)

สีที่ย้อมทั้งหมด 7 โทนสี1 สีโทนชมพูจากเปลือกสีเสียด2 สีโทนเทาอ่อนถึงเข้มถึงดำจากการย้อมยู

คาริปตัสและจุ่มโคลน3 สีโทนเขียวอ่อนจากใบมะม่วงป่า4 สีโทนน้ำตาลจากเปลือกอะร่าง5 สีโทนแดงจากครั่ง6 สีโทนเหลืองจากเปลือกมะพูดและแก่นเข7 สีอิฐ จากการย้อมเข ทับครั่ง

การย้อมสีธรรมชาติ คือ การนำเอาวัตถุดิบในธรรมชาติที่ได้จากพืช สัตว์ จุลินทรีย์ และแร่ธาตุต่างๆ มาทำการย้อมกับ เส้นด้าย เพื่อนำมาใช้ในการทอผ้า เพิ่มสีสันให้กับเส้นด้ายให้มีความสวยงาม การย้อมสีด้วยภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อน รวมกับการใช้ เทคโนโลยีการติดสี และการย้อมให้ได้สีอย่างสม่ำเสมอ ได้นำเอาองค์ความรู้ในการย้อมสีผ้าด้วยวัสดุจากธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อ ผู้คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาสู่ลูกหลาน และเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพของชาวชนบท โดยขั้นตอนในการ ย้อมสีธรรมชาติแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้1. การทำความสะอาดเส้นฝ้าย ก่อนการย้อม ก่อนที่จะนำเส้นฝ้าย/ ผ้า ไปย้อมสีนั้น ต้องกำจัดไขมัน สิ่งสกปรก รวมทั้งสารที่เคลือบติดเส้นด้ายออกไป เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้สีย้อมติดเส้นด้ายไม่ดี ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผ้าทอที่ขอการรับรอง มผช. ไม่ผ่านมาตรฐานในรายการความคงทนของสีต่อการซัก

สถานที่ตั้ง
อำเภอโพธิ์ตาก
อำเภอ โพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางฐิติชญาน์ รัสเซลล์
จังหวัด หนองคาย
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่