การบังคับให้ใช้นามสกุล ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ จึงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่น ๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 มีการให้คนไทยทุกคนต้องมีนามสกุลนามสกุลคือ ชื่อบอกตระกูล (หรือสกุล) เพื่อแสดงที่มาของบุคคลนั้น ๆ ว่ามาจากครอบครัวไหน ตระกูลใด ธรรมเนียมการใช้นามสกุลปรากฏอยู่ทั่วไปในหลาย ๆ ประเทศและวัฒนธรรมซึ่งในแต่ละที่ก็อาจจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างกันไป
ในหลาย ๆ วัฒนธรรม (เช่น ทางตะวันตกตะวันออกกลางและในทวีปแอฟริกา) นามสกุลจะอยู่ในลำดับหลังสุดของชื่อบุคคล แต่ในบางวัฒนธรรม โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออก (จีนญี่ปุ่นเกาหลีเวียดนาม) นามสกุลจะอยู่ในลำดับแรก ส่วนนามสกุลของไทยจะอยู่เป็นลำดับสุดท้ายเหมือนทางตะวันตก
แต่เดิมนั้นคนในชุมชนจะมีนามสกุล แต่จะใช้ชื่อบ้านเป็นสร้อยหรือคล้ายนามสกุล เช่น ชื่อ “นายดีบ้านดอย” “นายสีสันทราย” เมื่อมีการบังคับใช้เป็นกฎหมายให้คนไทยต้องไปขออนุญาตมีนามสกุล ในส่วนของอำเภอแม่จัน นายอำเภอได้มีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ราษฎรมาแจ้งเพื่อมารับเอานามสกุลตัวเอง ซึ่งราษฎรสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับคำว่านามสกุล จึงอาศัยนายอำเภอตั้งให้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนมากจะเอานามบ้านมาเป็นนามสกุล เช่น ราษฎรที่อพยพมาจากอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน มาตั้งถิ่นฐานอยู่อำเภอแม่จัน นายอำเภอจะตั้งนามสกุลให้ว่า “จันทาพูน” ด้วยเหตุนี้คนที่มาจากจังหวัดลำพูนจึงใช้นามสกุล “จันทาพูน” อยู่มากมาย ราษฎรที่อยู่แต่ละหมู่บ้านจะอาศัยชื่อบ้านมาตั้งนามสกุล เช่น บ้านป่าซาง ให้ใช้นามสกุล “ซางสุภาพ” บ้านร่องก๊อ ให้ใช้นามสกุล “ก๊อใจ” บ้านสันนา ให้ใช้นามสกุล “นาใจ” บ้านบ่อก้าง ให้ใช้นามสกุล “ก้างออนตา” บ้านแม่คำ ให้ใช้นามสกุล “ซาวคำเขต” บ้านสันทราย ให้ใช้นามสกุล “ทรายหมอ” หรือ “อรินต๊ะทราย” บ้านแม่คี ให้ใช้นามสกุล “มงคลคี” บ้านป่าเปา ใช้นามสกุล “ปาเปาอ้าย” บ้านแม่คำสบเปิน ให้ใช้นามสกุล “คำเงิน” และบ้านป่าตึง ใช้นามสกุล “ติ๊บป่าตึง”