ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 39' 36.0745"
17.6600207
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 2' 5.743"
100.0349286
เลขที่ : 197161
การแสดงฟ้อนนางโยน
เสนอโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 9 กันยายน 2565
อนุมัติโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 3 ตุลาคม 2565
จังหวัด : อุตรดิตถ์
0 861
รายละเอียด

ฟ้อนนางโยนเป็นฟ้อนโบราณของลับแล หรือการร่ายรำโบราณของลับแล ใช้ฟ้อนในงานสำคัญ เช่น งานรับเจ้านาย งานบุญสำคัญ เป็นฟ้อนที่ค้นพบในตระกูลของพระเมืองด้ง(จันทร์) และถูกส่งต่อเฉพาะในกลุ่มลูกหลานเครือญาติ

ฟ้อนนางโยน เป็นการแสดงที่ใช้รับเสด็จในหลวงรัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จประพาสมณฑลพายัพ ซึ่งขณะนั้น ได้เสด็จมาตั้งค่ายประทับแรม ณ ม่อนจำศีล อยู่ในเขตเมืองลับแลง ในครั้งนั้น ผู้ที่ฟ้อนนางโยนคือ แม่หม่อนแจ้น หลานสาวคนเดียวของพระเมืองด้งต่อมาได้สืบทอดมาสู่แม่หม่อนเสงี่ยม เครือฝั้น ช่างฟ้อนนางโยนผู้ซึ่งเป็นหลานของแม่หม่อนแจ้ง และเป็นผู้ให้ข้อมูลการฟ้อนนางโยนให้กับอาจารย์ดาบฟ้า ไชยลับแลง นักวิจัยชุมชนกลุ่มฟื้นฟูอัตลักษณ์ไท-ยวนลับแลง ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยร่วมกับทันตแพทย์ภัทรภูมินทร์ ชัยชมพู และเขียนหนังสือเรื่อง ฟ้อนโบราณเมืองลับแลง

การแต่งกายของช่างฟ้อนนางโยน

ช่างฟ้อนนางโยนมักจะนุ่งซิ่นตีนจกลับแลงชักชายพก พบการนุ่งซิ่นซ้อนหรือซิ่นขาวไว้ภายใน เพื่อถนอมผ้าซิ่นที่สวมไว้ข้างนอก ซึ่งซิ่นซ้อนหรือซิ่นขาวนี้ ในภายหลังมีการนำเอาแถบผ้าลูกไม้มาประดับตรงชายซิ่นเพื่อความงดงาม อาจคาดเอวด้วยเข็มขัดเงิน นาก หรือ ทอง ห่มผ้าสว้าน(ผ้าสไบ) สีดำ สีขาว ผ้าสว้านเป็นผ้าฝ้ายทอมือหรือผ้าไหมที่ทอขึ้นเอง การใช้ผ้าทอสีพื้นสีอื่นที่ซื้อจากตลาด แพร ผ้าลูกไม้ ผ้าพิมพ์ลาย มาทำผ้าสว้านนั้นพบในราวสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา นอกจากนี้อาจสวมใส่เครื่องประดับ เช่น ปิ่น สร้อยตัว เข็มขัด ตุ้มหู กำไลตาม ให้งามพอตัว แม่หม่อนเสงี่ยม เครือฝั้น กล่าวว่า "กั๋บสำคัญ ต้องเคี้ยวหมาก เพราะปากจะได้งามๆ แดงๆ ฟันจะได้สวยๆ"

ทรงผมของช่างฟ้อนนางโยน

ทรงผมของหญิงสาวชาวไท-ยวนลับแลงที่ใช้ในการฟ้อนนางโยน พบการเกล้าผมสูง 2วิธี คือ การเกล้าแบบวิดว้องและการเกล้าหลักวัวหลักควาย

๑) การเกล้าแบบวิดว้อง การเกล้าแบบวิดว้องนั้นจะใช้มือรวบมัดเส้นผมเป็นช่อหมุนเป็นมุ่นมวย แล้วจึงจั๊กหรือวิดว้อง (ดึงปลายผมสอดลอดออกมาตรงกลางมวย ให้เป็นรูปคล้ายๆ กับบ่วง)

๒) การเกล้าหลักวัวหลักควาย การเกล้าหลักวัวหลักควายนั้น ต้องมีการอั่วผม คือนำเอาเส้นฝ้ายสีดำหรือปอยผมของตนเองที่เก็บถนอมรวบรวมจากการหลุดขณะหวีผมมามัดรวมกันแล้วซโลมด้วยน้ำมันแอ๊กสำหรับใส่ผม( หญิงสาวชาวล้านนาแต่โบราณเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสาวไม่นิยมตัดผม) จากนั้นจึงนำไปผูกรวมกับผมจริงเพื่อเพิ่มปริมาณของผมให้ดูมากขึ้น แล้วจึงทำการหมุนเป็นมุ่นมวยวิดว้อง คล้ายกับวัวหรือควายที่เดินวนรอบไม้ที่ใช้เป็นหลักมัด ในยุคหลังไม่ค่อยพบลักษณะวิดว้องในการเกล้าหลักวัวหลักควาย

ปัจจุบันมีการฟื้นฟูการแสดงฟ้อนนางโยน โดยมีการฝึกซ้อมเพื่อใช้ในการแสดงต่างๆ เพื่อสืบทอดการแสดงฟ้อนโบราณของชาวลับแลไว้ไม่ให้สูญหายไป

สถานที่ตั้ง
ตำบล ฝายหลวง อำเภอ ลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือฟ้อนโบราณเมืองลับแล
บุคคลอ้างอิง จังหวัดอุตรดิตถ์ อีเมล์ uttaraditculture65@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ อีเมล์ uttaraditculture65@gmail.com
ถนน ประชานิมิตร
ตำบล ท่าอิฐ อำเภอ เมืองอุตรดิตถ์ จังหวัด อุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53000
โทรศัพท์ 055403092 โทรสาร 055403093
เว็บไซต์ www.m-culture.go.th/uttaradit
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่