ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 15' 49.3913"
14.2637198
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 4' 13.0782"
101.0702995
เลขที่ : 197245
ขนมกุยช่าย เจ้หงอ
เสนอโดย นครนายก วันที่ 12 กันยายน 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 กันยายน 2565
จังหวัด : นครนายก
0 467
รายละเอียด

ขนมกุยฉ่าย มีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนแต้จิ๋ว คือ อั่งก้วย ใช้ก้วย กู่ใช่ก้วย ถ่วงก้วย ถ่วง อี่ก้วย อี่ถ่วงก้วย และสุ่งก้วย ตั้งชื่อตามวัตถุดิบ รูปทรง และความหมายมงคลของตัวขนม มีวัตถุดิบ หลักคือ แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ข้าวแดงป่น (ผลอั่งคัก) และวัตถุดิบรองที่น ามาท าไส้ขนมต่างๆ เช่น ข้าวเหนียว ถั่วลิสง กุ้งแห้ง กุยช่าย หน่อไม้ ถั่วกวน มันแกวขูด เผือก ขนมมีทรงกลม ขนาด ประมาณ 8 – 10 เซนติเมตรา ถ้าใช้ไหว้เจ้าหรือใช้ในพิธีมงคลจะผสมสีชมพูลงในแป้ง หากใช้ในพิธี อวมงคลจะไม่ผสมสีใดๆ ที่จีนอาจมีการกดขนมลงพิมพ์ให้มีลวดลายสวยงาม ขนมกุยช่ายเป็น สัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคลและความสามัคคีกลมเกลียวกันในครอบครัว เทศบาลที่ใช้ไหว้ ประกอบด้วย ตรุษจีน หง่วงเซียว สารทจีน พิธีไหว้ขอบคุณเทพเจ้าปลายปี

ขนมกุยช่าย เดิมเป็นอาหารท้องถิ่นของชาวจีนแต้จิ๋ว เนื่องจากตัวไส้ท าจากใบของ ต้นกุยช่าย จึงถูกเรียกว่า ขนมกุยช่าย ที่มีวัตถุดิบแบบง่ายๆ คือ แป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งข้าวเหนียว เพื่อให้เนื้อขนมมีทั้งความยืดหยุ่น เหนียวหนึบ และสามารถคงรูปร่างได้ด้วยแป้งข้าวเจ้า น้ ามัน เกลือ ที่เป็นส่วนแป้งด้านนอก ส่วนด้านในก็จะมีไส้ดั้งเดิมแต่แรกเริ่มเลยคือ ไส้ผักกุยช่ายที่เป็นต้น คล้ายต้นกระเทียม ส่วนที่น ามาใช้คือใบของต้นกุยช่ายขนมกุยช่ายแบบจีนนั้นมีแบบที่เป็นติ่มซ า ซึ่งท าชิ้นเล็กๆ แป้งใช้แป้งตังหมิ่นซึ่งเป็นแป้ง สาลีที่ไร้กลูเต็น ผสมแป้งข้าวเจ้า มีทั้งแบบนึ่งและทอด อีกแบบหนึ่ง คือ แบบแต้จิ๋ว (โชยจี่ก้วย) ที่ นึ่งเป็นถาดใหญ่ ใช้แป้งผสมใส่กุยช่ายกวนพร้อมแล้วนึ่งสุกตัดก้อน ทอดได้ดีเยี่ยมไม่อมน้ ามันบางแห่งได้ดัดแปลงเป็นขนมกุยช่ายปากหม้อหรือขนมกุยช่ายแป้งสด ซึ่งใช้แป้งแบบข้าวเกรียบปาก หม้อ ขึงผ้าปากหม้อตั้งน้ าเดือด ให้ลูกค้าเลือกใส้วางในแผ่นแป้งบางก่อนพลิกแป้งนึ่งให้หุ้มไส้ขนมกุยช่ายในประเทศไทย ต้องย้อนไปเมื่อสมัยกรุงธนบุรี ตามค าบอกเล่าของสุดารา สุจฉายา ผู้ซึ่งให้ความรู้เกี่ยวกับตลาดพลู ว่าที่แห่งนี้เป็นชุมชนชาวจีนแต้จิ๋วขนาดใหญ่ อพยพมา ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา เดิมท าการเกษตรปลูกหมากพลูจนเป็น แหล่งซื้อพลูขนาดใหญ่ นอกจากความรู้ด้านการเกษตร ท าสวนยกร่องที่ชาวจีนน าเข้ามาแล้ว ยังน า วัฒนธรรมด้านอาหารมาเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก โดยชาวจีนแต้จิ๋วก็ได้น าเอาวิธีการท าขนมชนิดนี้ เข้ามา จากที่ท ากินเองในครัวเรือนสู่และเริ่มท าขนมกุยช่ายขายเพื่อหาเลี้ยงชีพ ด้วยความอร่อยและ แปลกใหม่ ในที่สุดก็เริ่มถูกปากและเป็นที่นิยมของคนไทย โดยสันนิษฐานกันว่า เริ่มแพร่หลาย หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยแหล่งใหญ่และขึ้นชื่อเรื่องกุยช่ายทอด ที่มีความอร่อยและมีชื่อเสียง โด่งดังมากที่สุด คือ ตลาดพลู ในเขตธนบุรี โดยสามารถหาทานขนมกุยช่ายได้ตามตลาดนัด หรือ รถเข็น มีทั้งเป็นร้านติดแอร์และไม่ติด แผงลอยรถเข็นขายขนมนี้มากเจ้าตลอดถนนทอดไทจาก หัวถนนจรดท้ายถนนประมาณ 20 กว่าเจ้า จนเรียกได้ว่าเป็นถนนแห่งขนมกุยช่ายก็ว่าได้ขนมกุยช่าย เป็นอาหารที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน และเป็นสิ่งที่บอกเล่าเรื่อ่งราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ ส าหรับ ขนมกุยช่าย ที่เป็นที่นิยม ในไทย มี 3 แบบ คือ ขนมกุยช่ายแบบแต้จิ๋ว ที่ท าเป็นก้อนขนาดใหญ่ ขนมกุยช่ายแบบถาด ที่ใส่ กุยช่ายกวนไปพร้อมแป้งแล้วนึ่งให้สุก และขนมกุยช่ายปากหม้อ หรือ ขนมกุยช่ายแป้งสด ซึ่งใช้แป้ง แบบข้าวเกรียบปากหม้อ แต่เปลี่ยนไส้เป็นกุยช่ายผัดแทน โดยสีของกุยช่ายทอดนั้น โดยทั่วไป เนื้อแป้งจะเป็นสีขาว บางทีก็มีสีอื่น ๆ เนื่องจากมีการเติมสีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกอัญชัน ใบเตย ฯลฯ ลงไป แต่หากใช้ในงานเทศกาล หรือ ไหว้เจ้าต่าง ๆ เนื้อแป้งของกุยช่ายทอด จะเป็น สีชมพูหรือแดงระเรื่อกุยช่ายทอด ถือเป็นของทานเล่นที่รสชาติอร่อย กินได้ทุกเวลา จึงสามารถหาซื้อได้ ทุกโอกาส นอกจากนี้ ยังเป็นขนมโบราณ ที่บรรพบุรุษเชื้อสายจีนน าเข้ามา สะท้อนถึงวัฒนธรรม และรากเหง้าของคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน จึงควรที่จะสืบสานวิธีการท าและต่อยอดรสชาติและ รูปลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์ต่อไป เพื่อให้คนรุ่นหลัง ยังคงได้ทานและรู้จักขนมชนิดนี้ส่วนกุยช่ายของไทยมีหลากหลายไส้เช่น ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ ไส้มันแกว เป็นต้น ต่างเรียก รวมๆ ว่าขนมกุยช่าย ขนมกุยช่ายในไทย มี 3 แบบ มีทั้งแบบเป็นก้อนกลม แบบถาด และแบบ ข้าวเกรียบปากหม้อ ขนมกุยช่ายโดยทั่วไปเนื้อแป้งจะมีสีขาวขนมกุยช่าย เจ้หงอ มีชื่อมาจากชื่อเล่นของคุณนวลพิศ ปฐมัง ที่มีชื่อเล่นว่า “เจ้หงอ” ซึ่งเกิดในครอบครัวค้าขายที่มีเชื้อสายจีน ในสมัยก่อนที่ “เจ้หงอ” ยังเป็นเด็ก ครอบครัวมักชอบท า ขนมกุยช่ายให้ได้รับประทานในครอบครัวเป็นประจ าอยู่เสมอ ครั้นเมื่อ “เจ้หงอ” แต่งงาน มีครอบครัวก็มีคิดที่อยากจะประกอบกิจการค้าขายเป็นของตัวเอง จึงเริ่มน าเอาวิธีการท าขนม กุยช่ายขายเพื่อหาเลี้ยงชีพ เริ่มแรกได้ท าเป็นร้านเล็กๆ ที่ท ากันเองในครอบครัว เริ่มจ าหน่าย ครั้งแรกในราคาตัวละ 50 สตางค์ ซึ่งเป็นเจ้าแรกที่ขายขนมกุยช่ายของตลาดบ้านนา โดยลูกค้า มักติดปากเรียกว่า ขนมกุยช่าย เจ้หงอ มีความพิเศษ และมีจุดเด่นของขนมกุยช่าย คือ มีรูปทรงที่มี ลักษณะคล้ายขนมกะหรี่ปั๊บหรือเกี้ยวซ่า มีแป้งที่บาง กินแล้วนุ่ม และไส้ที่เยอะจนแทบทะลักออกมา มีกลิ่นและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของใบกุยช่าย และใส้ต่างๆ เช่น ไส้เผือก ไส้หน่อไม้ ไส้มันแกว ในส่วนของน้ าจิ้มจะมีรสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม ซึ่งมีความโดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และ ถูกใจลูกค้าเป็นอย่างมาก และมีการเปิดขายมายาวนานกว่า 60 ปีซึ่งจุดเด่นของขนมกุยช่าย จึงมี ความโดดเด่นและมีความแตกต่างจากร้านอื่น ๆ อย่างชัดเจนขนมกุยช่าย เจ้หงอ จึงเป็นวัฒนธรรมอาหารที่มีคุณค่า ที่เกิดจากการสั่งสมภูมิปัญญา ของบรรพบุรุษในการน าเอาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในต ารับอาหาร ส าหรับใช้บริโภคในครัวเรือนและชุมชนวัฒนธรรมอาหารถูกหล่อหลอมมาจากประสบการณ์และ ทักษะของคนจากรุ่นสู่รุ่น แล้วถ่ายทอดมายังลูกหลาน นอกจากนั้นวัฒนธรรมอาหารยังซึบซับเข้าสู่ วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี ทางศาสนา กล่าวว่า “วัฒนธรรมด้านอาหาร หมายถึง อาหาร ที่เป็นไปตามความเชื่อ ค่านิยม วิถีชีวิต และความรู้ของสังคม แต่ละสังคมมีลักษณะเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ด้านอาหารของแต่ละสังคม” ดังนั้น วัฒนธรรมอาหารจึงนับเป็นจุดแข็งของแต่ละประเทศ เนื่องจากมีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งยากที่ใครในต่างวัฒนธรรมจะเลียนแบบ มีแต่เจ้าของ วัฒนธรรมเท่านั้นที่ควรจะน าไปขยายผลต่อยอดให้มีความโดดเด่นและถ่ายทอดไปยังลูกหลานให้ เกิดความภาคภูมิใจในอนาคตอาหารพื้นบ้านของแต่ละท้องถิ่นจะมีเอกลักษณ์ตามแบบฉบับของแต่ละวัฒนธรรม อาหารเหล่านี้ได้รับการถูกปรุงแต่งและถ่ายทอดสูตรอาหารแบบรุ่นต่อรุ่น ต ารับอาหารพื้นบ้าน จึงเป็นความผสมผสานที่ลงตัวระหว่างชนิดของอาหาร ปริมาณของผัก เนื้อสัตว์ และเครื่องปรุง มีเสน่ห์ของความเป็นไทยในตัวเอง มีรสชาติกลมกล่อมและหลากหลายรสชาติในอาหารชนิด เดียวกัน นอกจากนี้อาหารพื้นบ้านไทยยังแสดงออกถึงภูมิปัญญาหลักแหลมของบรรพบุรุษไทย ที่คิดค้นปรุงแต่งให้เป็นอาหารแห่งความมีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอาหารแห่งสุขภาพโดยแท้จริง ขนมกุยช่าย เจ้หงอ ตั้งอยู่เทศบาลซอย 10 ต าบลบ้านนา อ าเภอบ้านนา จังหวัด นครนายก ที่มีการเปิดขายมายาวนานกว่า 60 ปี จึงถือเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวตลาดบ้านนา ที่มีความหลากหลาย และมีความโดดเด่นด้านวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลายได้รับการผสมผสานเข้ากัน อย่างลงตัว มีเอกลักษณ์ด้านรูปร่างตัวขนมกุยช่ายที่คล้ายขนมกะหรี่ปั๊บหรือเกี้ยวซ่า มีแป้งที่บาง กินแล้วนุ่ม และไส้ที่เยอะจนปัจจุบันมีร้านเปิดขายขนมกุยช่ายอย่างหลายหลาย ถือเป็นความ หลากหลายทางด้านภูมิปัญญาพื้นบ้าน มรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีการสืบทอดต่อๆ กันมา ถ่ายทอดสู่ชนรุ่นหลังในรูปแบบของอาหารพื้นบ้าน
คำสำคัญ
ขนมกุยช่าย
หมวดหมู่
อื่นๆ
สถานที่ตั้ง
ซอย เทศบาลซอย
ตำบล บ้านนา อำเภอ บ้านนา จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง คุณเสาวรส ปฐมัง
ซอย เทศบาลซอย
ตำบล บ้านนา อำเภอ บ้านนา จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26110
โทรศัพท์ 0989265121
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่