นางด้งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาโรคแบบดั้งเดิมของชาวไทยพวน โดยมีร่างทรงเป็นหมอรักษาคนป่วยที่เชื่อว่าเป็นการกระทำของผีที่ทำให้ป่วย ร่างทรงจึงใช้การร้องรำประกอบเครื่องดนตรี พร้อมทั้งการพูดจาไพเราะอ่อนหวานหว่านล้อมอ้อนวอนผีของร่างทรง เพื่อให้ผีเกิดความอ่อนไหวคล้อยตาม เมื่อออกจากการเข้าทรงแล้วผู้ป่วยหายป่วย ชาวบ้านจึงเกิดความเชื่อพิธีกรรมนางด้ง
เนื่องจากสมัยก่อนที่ยุคยังไม่เจริญ ชาวบ้านเจ็บป่วย ไม่มีแพทย์แผนปัจจุบัน มีแต่หมอชาวบ้าน หายาสมุนไพรมารักษาต้มให้กิน หายบ้าง ไม่หายบ้าง และคนไทยพวนเชื่อเรื่องภูตผีวิญญาณอยู่แล้วจึงไปหาร่างทรงท่านหนึ่งซึ่งเป็นที่กล่าวขานในตำบลเกาะหวาย มีการรักษาผ่านร่างทรงโดยแม่ของ นางปั่น ตรีวงษ์ เรียกว่า หมอพวงพม่า ในช่วงปี พ.ศ. 2400 หมอพวงพม่าท่านติดตามแม่ไปรักษา คนป่วยทุกหนทุกแห่ง เมื่อแม่ของท่านเสียชีวิตไป ท่านจึงเข้าทรงในการรักษาซึ่งได้รับการถ่ายทอด มาจากแม่ตั้งแต่ท่านอายุ 18 ปี จนเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักของชาวบ้านทั้งใกล้ไกลที่มีความเชื่อ และเคารพศรัทธา ในการเข้าทรงรักษาผู้ป่วยให้หายได้ ประเพณีการเลี้ยงขวบปีของชาวไทยพวน บ้านเกาะหวายจึงเกิดขึ้นมานับร้อยกว่าปี เกิดจากความเชื่อว่าเมื่อผีปู่ย่าผีบ้านผีเมืองคุ้มครองปกปักรักษาลูกหลานในหมู่บ้าน