ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 12' 58.4129"
14.2162258
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 15' 49.1634"
101.2636565
เลขที่ : 197256
ศิลปะการแสดง ลำล่อง ลำเต้ย ชุมชนคุณธรรมฯวัดคีรีวัน
เสนอโดย นครนายก วันที่ 12 กันยายน 2565
อนุมัติโดย mculture วันที่ 30 กันยายน 2565
จังหวัด : นครนายก
0 489
รายละเอียด

ศิลปะการแสดงลำล่อง ลำเต้ย นั้นเป็นลักษณะทำนองประเภทหนึ่งของหมอลำ โดยลำเต้ยนั้นเป็นการท่องทำนองและลีลาการขับลำชนิดหนึ่งที่ผู้ลำจะต้องฟ้อนประกอบการลำตามจังหวะและทำนอง

ลำเต้ยจึงเป็นการลำเพื่อหยอกล้อหรือเกี้ยวพาราสี การร้องขับลำต้องใช้สำเนียงสั้น-ยาว ใช้เสียงสูง-ต่ำประกอบ และใช้เครื่องดนตรีประกอบ เช่น พิณ แคน กลอง ฉิ่ง ฉาบ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน

ส่วนลำล่องจะใช้ในงานไว้อาลัย โดยมาจากความเชื่อในการเรียกวิญญาณที่ล่วงไปแล้ว มารับบุญกุศล แต่ถ้าในงานมงคลก็จะเป็นการกล่าวสอน เช่นงานแต่งงาน เป็นต้น ในการเล่นลำล่องนั้น จะมีองค์ประกอบคือ ตัวผู้ร้อง คนเล่นแคน โดยทำนองการเล่นจะปรับเสียงแคนให้เข้ากับตัวผู้ร้อง

การร้องลำล่อง ลำเต้ย จะเป็นการนำเอาขนบธรรมเนียมประเพณี รวมถึงตำนาน นิทานโบราณ

ประวัติงาน แต่ละงานนำมาแต่งเป็นบทกลอนให้มีความไพเราะ เพื่อเป็นข้อคิด เตือนใจให้กับชุมชน

ทั้งนี้ หมอลำล่อง ลำเต้ย บ้านคลองสีเสียด ตำบลหินตั้ง ในชุมชนคุณธรรมไทยเวียงวัดคีรีวัน/ชุมชนวัฒนธรรมวัดคีรีวัน แต่โบราณมักเป็นการร้องลำเรื่อง ลำกลอน และร้องลำ ลิเกลาว แต่ได้หายไปแล้ว

ในปัจจุบันได้มีศิลปินพื้นบ้าน อย่างนายเดโช สุขสวัสดิ์ หมอลำพื้นบ้าน ที่มีความสนใจในการร้องลำเต้ย ลำล่อง ได้ไปศึกษาร่ำเรียน จนกลายมาเป็นศิลปินหมอลำพื้นบ้านประจำชุมชนวัดคีรีวัน นอกจากนี้ยังมีนายอนุวัฒน์ มะลิ และนายกวิช สีรา ผู้ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการแสดง และเป็นผู้ที่ร่วมอนุรักษ์การแสดงลำเต้ย ลำล่องในชุมชนคุณธรรมวัดคีรีวัน/ชุมชนวัฒนธรรมไทยเวียงวัดคีรีวัน

คำสำคัญ
ลำล่องลำเต้ย
สถานที่ตั้ง
วัดคีรีวัน
ตำบล ศรีนาวา อำเภอ เมืองนครนายก จังหวัด นครนายก
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายเดโช สุขสวัสดิ์
เลขที่ 24/1 หมู่ที่/หมู่บ้าน 8 บ้านคลองสีเสียด
จังหวัด นครนายก รหัสไปรษณีย์ 26000
โทรศัพท์ 0560720520
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่
Loading...