ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 2' 27.0013"
16.0408337
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 10' 48.9655"
104.1802682
เลขที่ : 197413
แหล่งเรียนรู้โบราณคดีวัดธาตุทอง (เกลี้ยงเก่า) จังหวัดยโสธร
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 19 กันยายน 2565
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 19 กันยายน 2565
จังหวัด : ยโสธร
0 232
รายละเอียด

วัดธาตุทอง (เกลี้ยงเก่า) ตั้งอยู่บ้านเกลี้ยงเก่า หมู่ที่ 4 ตำบลโพนงาม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 8 ไร่ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 5 เมตร ยาว 6 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2405 เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ศาลาการเปรียญ กว้าง 8 เมตร ยาว 8 เมตร สร้าง เมื่อ พ. ศ. 2512 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 1 หลัง เป็นอาคารตึกครึ่งครึ่งตึกครึ่งไม้ สร้าง เมื่อ พ.ศ. 2530 ปูชนียวัตถุมีพระประธานทองเหลือง ขนาดหน้าตักกว้าง 25 นิ้ว ปางมารวิชัย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524 พระพุทธรูปไม้ จำนวน 3 องค์ พระพุทธรูปทองเหลืองจำนวน 3 องค์และพระพุทธรูปปูนจำนวน 3 องค์ วัดธาตุทองตั้งเมื่อ พ.ศ. 2400 โดยมีพ่อเฒ่า สีหาราช แม่เฒ่าคำมี ไชยแสง บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ. ศ. 2405 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตรยาว 25 เมตร

จากการสอบถามพระครูสิทธิธรรม เจ้าอาวาสวัดธาตุทองเกลี้ยงเก่า เจ้าคณะตำบลโพนงาม ท่านได้เล่าประวัติวัดธาตุทองตามเอกสารกล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ.2400สมัยเจ้าอธิการชาลี ธม.มิโก เป็นเจ้าอาวาสโดยการบริจาคที่ดินของพ่อสีหาราช แม่คำมี ไชยแสง ภายในมีโบราณสถานสำคัญคือเจดีย์ประธาน เจดีย์รายด้านหลังเจดีย์ประธาน และสิมทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ประธาน ลักษณะสถาปัตยกรรมเจดีย์ประธานเป็นทรงบัวเหลี่ยมสร้างก่ออิฐถือปูน ในผนังสี่เหลี่ยมจัตุรัสล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ที่มีช่องทางเข้าทั้ง4ด้าน ส่วนฐานอิฐเป็นฐานเขียงขนาดเล็ก ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป3ชั้น รับฐานบัวซ้อนกัน2ชั้น ตอนกลางเป็นบัวเป็นชุดบัวเหลี่ยมซ้อนกัน2ชั้นรับปลียอด ลักษณะสถาปัตยกรรมเจดีย์รายเป็นทรงบัวเหลี่ยมสร้างก่ออิฐถือปูนในผนังสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานตอนล่างเป็นเขียงซ้อนกัน3ชั้นรับส่วนห้องมณฑป เหนือขึ้นไปเป็นชุดบัวเหลี่ยมและปลียอด ส่วนสิมมีลักษณะสถาปัตยกรรม มีเป็นทรงพื้นถิ่นอีสาน เป็นสีไม้สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บนฐานก่ออิฐถือปูนเตี้ยในผนังสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด3ห้อง เฉพาะผนัง ห้องแรกหน้าตีไม้ระนาดระแนงแบบก้างปลา ส่วนผนังห้องที่เหลือตีไม้ทึบในแนวตั้ง มีหน้าต่างห้องละ1บาน มีประตูทางเข้าอยู่ตอนกลางด้านหน้า บานประตูตีไม้ระแนงแนบก้างปลา หลังคาทรงจั่ว โดยยกจั่วเล็กในตอนกลางอีก1ชั้น ประดับโหง่ ใบระกาเป็นแผ่นไม้เรียบ และหางหงส์ โดยจังหวัดยโสธรพบสิมไม้ในลักษณะเดียวกันนี้อีก ที่สิมวัดสมสะอาดและสิมวัดกุดชุมใน ลักษณะของเจดีย์และสิมวัดธาตุทอง คือเป็นงานสถาปัตยกรรมในต้นพุทธศตวรรษที่25ที่สะท้อนความเป็นพื้นถิ่นอีสานได้อย่างชัดเจน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถานวัดธาตุทองโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม110ตอนที่220วันที่25ธันวาคม พ.ศ.2536กำหนดพื้นที่ประมาณ1ไร่1งาน3แบบตารางวาและได้ดำเนินการบูรณะพร้อมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์เมื่อ พ.ศ.2453

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
แหล่งเรียนรู้โบราณคดีวัดธาตุทอง (เกลี้ยงเก่า) จังหวัดยโสธร
ตำบล โพนงาม อำเภอ กุดชุม จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง วัดธาตุทอง (เกลี้ยงเก่า) จังหวัดยโสธร
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
ตำบล โพนงาม อำเภอ กุดชุม จังหวัด ยโสธร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่