คณะกลองยาวพ่อคําผายบ้านหว้าหลานปู่คําแสนนางดวงมณี ทัพขวา ได้เล่าว่าคณะกลองยาว สมัยก่อนนิยมใช้สําหรับประกอบขบวนแห่ต่างๆ เช่นเดียวกับวงมโหรีอีสาน และใช้กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีหลัก โดยใช้กลอง ประมาณ 3-5 ลูก ไม่มีพิณหรือแคนบรรเลงลายประกอบอาศัยลวดลายของจังหวะกลองและลีลาการที่ฉาบใหญ่ เป็นสิ่งดึงดูดยังไม่มีขบวนนางรําฟ้อนรําประกอบจากนั้นมีเพิ่มจํานวนกลองขึ้นมาให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้นอาจใช้ผู้หญิงตีบ้างคณะ กลองยาวในยุคปัจจุบันมีการประยุกต์เพื่อให้ดูทันสมัยขึ้นนั่นคือนอกจากใช้การโชว์กลอง ยังมีการใช้พิณ แคนบรรเลง ประกอบ ใช้อิเล็กโทนบรรเลงประกอบมีขบวนนางรําฟ้อนประกอบขบวนแห่ มีเครื่องแต่งกายเป็นเอกลักษณ์ และบางคณะ อาจมีการจัดรูปแบบขบวนตกแต่งรถสําหรับขบวนแห่แบบต่างๆ เป็นต้น
คณะกลองยาวพ่อคําผายบ้านหว้าหลานปู่คําแสน ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2522 โดยนายคําผาย น้อยผาง ได้ชักชวน สมาชิกในหมู่บ้าน จํานวน 13 คน จัดตั้งคณะกลองยาวขึ้น โดยมีคณะกลองยาวบ้านเหล่านาดี เป็นครูฝึกสอน จากนั้น ได้เริ่มรับงานไปแสดงตามงานบุญ งานบวช งานประเพณีต่างๆ ต่อมา สมาชิกในคณะเสียชีวิตหลายคน จึงได้ตั้งคณะ กลองยาวขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2540 แต่ก็ล้มเลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2552 ได้จัดตั้งคณะกลองยาวขึ้นใหม่ โดยมี สมาชิกเก่าไม่กี่คนและเพิ่มผู้หญิงที่เป็นแม่บ้านเข้ามาในคณะ ทําให้ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานประเพณี งานบวช งานขึ้นบ้านใหม่ งานพิธีเปิดโครงการต่างๆ เป็นต้น และเมื่อ พ.ศ. 5554 คณะกลองยาวฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศกลองยาวประเภทประชาชน จากงานเทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยว และงานกาชาด จังหวัดขอนแก่น
องค์ประกอบการแสดงประกอบด้วย : จํานวนผู้แสดง 20 คน
- เครื่องดนตรี 5 ชิ้น ประกอบด้วย กลองยาว รํามะนา ฉาบ พิณ ฆ้อง
รายได้ของคณะจํานวน 15,000-60,000 บาท/ครั้งเฉลี่ยจํานวน200,000 บาท/ปี
ผลงานสร้างชื่อเสียง/รางวัลพ.ศ. 2554 คณะกลองยาวฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศกลองยาวประเภทประชาชน จากงาน เทศกาลไหม ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาด จังหวัดขอนแก่น