หุ่นกระบอกบ้านหนองเรือ หมู่ที่ 2 ตําบลหนองเรือ อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่าการแสดงหุ่นกระบอกอีสานเกิดขึ้นครั้งแรกในภาคอีสาน เมื่อปี พ.ศ. 2528 ที่บ้านหนองเรือ หมู่ที่ 2 ตําบลหนองเรือ อําเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น โดยนายสวน ผ่องแผ้ว ปัจจุบันได้เสียชีวิตไปแล้ว นายสังวาลย์ ผ่องแผ้ว ซึ่งเป็นน้องชายจึงรับการสืบทอดแทน โดยเป็นหัวหน้าคณะหุ่นกระบอกเพชรหนองเรือ ซึ่งเริ่มแสดงหุ่นกระบอกอย่างจริงจัง เมื่อตอนที่มีโอกาสมาเล่นหนังประโมทัยหรือตะลุงอีสานที่สวนอัมพร ได้เห็นการแสดงหุ่นกระบอกของภาคกลางแล้วเกิดแรงบันดาลใจ จึงนําไปคิดค้นประดิษฐ์ตัวหุ่นและรูปแบบการแสดงในแบบฉบับของตัวเองขึ้นมา โดยเริ่มแสดงหุ่นกระบอกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา การแต่งกาย มีเครื่องแต่งกาย และอากัปกิริยาต่างๆ ที่แสดงออกซึ่งใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหว ของคนจริงๆ โดยยึดแบบอย่างของหุ่นภาคกลางเป็นแกนหลัก ส่วนวัสดุและกระบวนการประดิษฐ์ต่างๆ ได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ให้แตกต่างไปจากแบบที่พบเห็นมา เช่น วัสดุที่นํามาทําเป็นศีรษะและคอหุ่นจะทําจากไม้ และหมุนรอบได้ ผมทําด้วยด้ายสีดําหรือเส้นใยประเภทอื่น เครื่องแต่งกายใช้ผ้าตัดเย็บเป็นตัวเสื้อ ตัวหุ่นผู้หญิงจะใส่กระโปรง ส่วนลําตัวของหุ่นเย็บผ้าเป็นถุงแล้วยัดด้วยนุ่น ส่วนแขน 2 ข้างของหุ่นมีข้างละ 3 ท่อน สามารถงอพับได้อย่างคล่องแคล่ว เมื่อเชิดแสดงทําให้ส่วนต่างๆ ของตัวหุ่นเคลื่อนไหวเหมือนมีชีวิตจิตใจจริงๆ มีสมาชิกผู้ร่วมแสดงในคณะหุ่นกระบอก ทั้งหมด 24 คน ส่วนมากเป็นกลุ่มเครือญาติของนายสังวาลย์ ผ่องแผ้ว โดยหุ่นกระบอกนี้ จะมีลักษณะเด่นมีความเป็น มหรสพแบบชาวบ้านที่มีแก่นสารอยู่ที่ความบันเทิงสนุกสนานเป็นหลัก ในขณะเดียวกันก็สอดแทรกคติพจน์ในการดําเนิน ชีวิต อาทิ หุ่นประโมทัย และหุ่นกระบอก โดยมีองค์ประกอบคือหุ่นกระบอก แคน พิณ ซอ ฉิ่ง ฉาบ กลองชุด ออแกน กีต้าร์ไฟฟ้า เบสไฟฟ้า ฯลฯ และยังสามารถสร้างรายได้ 50,000 บาทต่อครั้ง เฉลี่ยรายได้ 500,000 บาทต่อปี