โปงลางกลองยาวชมรมผู้สูงอายุวัดเฉลียงทอง อําเภอภูผาม่านนายอุทัย เพียรรักษาแหล่งภูมิปัญญา : ที่อยู่ 37 หมู่ที่ 1 บ้านโนนคอม ตําบลโนนคอม อําเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ได้เล่าว่า นายอุทัย เพียรรักษา ได้จัดตั้ง ชมรมขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2561 เพื่อจะไปนําการแสดงในงานตรุษไทและได้ใช้วงดนตรีโปงลางต้อนรับแขกผู้มาเยือน ของชุมชนวัดเฉลียงทองที่เดินทางมาท่องเที่ยวและมาเยี่ยมชนการแสดงแดงกลองยาวซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสาน ซึ่งเชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากําลังทําสงครามกัน เวลาพักรบทหารพม่าก็เล่น “กลองยาว” กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จําแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนําเข้ามาเล่นในงานที่มีขบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น นิยมเล่นกันเป็นที่งานรื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ชิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว ในการแสดงแต่ละครั้งจะใช้คนทั้งหมดรวมจํานวน 14 คน เรียกว่าหนึ่งคณะ ตามจํานวนของเครื่องดนตรีซึ่งมี 14 ชิ้นคือ กลองยาว 5 ลูก พิณ 1 คอ โปงลาง 9 สาย เครื่องขยายเสียง กลองรํามะนา 1 ลูก โหม่ง 1 ฉาบ 2 คู่ ฉิ่ง 1 คู่ กลองโซโล 1 ชุด รถเข็น 1 คัน