ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 29' 2.3784"
12.4839940
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 10' 4.715"
102.1679764
เลขที่ : 197695
วัดตะปอนใหญ่
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 18 มกราคม 2566
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 18 มกราคม 2566
จังหวัด : จันทบุรี
0 620
รายละเอียด

วัดตะปอนใหญ่ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อ พ.ศ. ๒๒๙๐ เดิมชื่อ วัดโพธิธาราม อ่านว่า โพ-ทา-ราม เหตุเพราะวัดมีต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ปกคลุมเจดีย์เก่าอยู่ขึ้นบริเวณริมคลองตะปอนใหญ่ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดตะปอนใหญ่" ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งคำว่าตะปอน ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจากคำว่า ตะโพง วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
คำว่า “ตะโพง” เป็นภาษาถิ่นของชาวบ้านในพื้นที่ เป็นคำที่ใช้เรียกลักษณะการวิ่งของเกวียนที่วิ่งตะโพงหรือวิ่งโขยกบนถนนหนทางที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เป็นที่มาของคำว่า ตะโพงใหญ่ และเพี้ยนเสียงมาเป็นตะปอนใหญ่ จวบจนปัจจุบันวัดตะปอนใหญ่ ศูนย์รวมความศรัทธาของชาวบ้านตำบลตะปอนชุมชนตะปอนเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งของจังหวัดจันทบุรี ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างย่านชุมชนเก่าตลาดพลิ้ว อำเภอแหลมสิงห์ และย่านชุมชนตลาดขลุง อำเภอขลุง อยู่บนเส้นทางถนน สายพลิ้ว - ขลุง ซึ่งถนนสายโบราณที่มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่าในอดีตพระเจ้าตากสินมหาราช เคยใช้เป็นเส้นทางเดินทัพในช่วงที่ไปรวบรวมกำลังพลจากเมืองตราด และยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจังหวัดจันทบุรีและตราด นับว่าเป็นชุมชนโบราณที่มีความโดดเด่นและหลากหลายของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ชุมชนตะปอน มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา บางส่วนจะทำสวนผลไม้ เงาะ มังคุด ทุเรียน ลักษณะอากาศ โดยทั่วไปไม่หนาวจัด ไม่ร้อนจัด และเป็นเขตพื้นที่ที่มีฝนตกเกือบตลอดปี หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า ฝนแปดแดดสี่

วัดตะปอนใหญ่มีศิลปวัตถุที่ได้มีการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในวัด ๓ รายการคือ ตู้พระธรรมไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ หีบพระธรรมไม้ศิลปะรัตนโกสินทร์ และธรรมาสน์ไม้ลงรักปิดทองศิลปะรัตนโกสินทร์ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและเข้าใจถึงประวัติศาสตร์สืบไปและมีศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อยู่บริเวณหน้าโบสถ์หลังใหม่ของวัดตะปอนใหญ่

โบสถ์หลังใหม่ของวัดตะปอนใหญ่ ที่โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสีส้มอิฐ สร้างด้วยศิลาแลงทั้งหลัง พระประธานประดิษฐานอยู่ถึง ๓ องค์ ซึ่งมีการสร้างในรูปแบบของศิลปะ ๓ สมัย ได้แก่ สมัยเชียงแสนสมัยอู่ทอง และสมัยสุโขทัย ภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๒ แต่ยังคงงดงาม ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์

“วิหารพระพุทธเมตตา หรืออุโบสถหลังเก่า ของวัดตะปอนใหญ่ อีกหนึ่งศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นและคุณค่าของวัดตะปอนใหญ่”วิหารพระพุทธเมตตา (อุโบสถหลังเก่า) สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๕ ทำการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ โดยหลวงพ่อเพชร อินฺทปัญโญและทำการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๕ โดยกรมศิลปากร เป็นโบราณสถานที่มีอายุมากกว่า ๒๐๐ ปีมีอัตลักษณ์เฉพาะเรื่องรูปแบบการสร้าง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ หลังคาทรงไทยช่อฟ้ามีลักษณะเป็นลายเถาว์ไม้ม้วนกลมเป็นสองวงทั้งหัวและท้าย ไม่มีใบระกา แต่มีหางหงส์ลายกนกกาบทั้งตัวที่ ๑ และตัวที่ ๒

มีหลังคาพะไลโดยรอบมุงด้วยกระเบื้องว่าวซีเมนต์ ผนังก่อด้วยอิฐสอด้วยปูนหมัก และขัดผิวด้วยปูนตำ ฐานอุโบสถเป็นฐานบัว อุโบสถไม่มีภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านใน ภายใoประดิษฐานพระพุทธเมตตา (หลวงพ่อสัมฤทธิ์ผล) พระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ทรงประทับนั่งในอิริยาบถแบบวีราสนะแสดงภูมิปรรศมุทรา

สถานที่ตั้ง
วัดตะปอนใหญ่
ตำบล ตะปอน อำเภอ ขลุง จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง กัญญารัตน์ ดาษดื่น อีเมล์ watanatam.chan@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี รหัสไปรษณีย์ 22000
โทรศัพท์ 039-303298
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่