คูเมืองได้รับอิทธิพลการสร้างมาจากอินเดีย เป็นการสร้างคูน้ำและกำแพงดินล้อมรอบ โดยส่วนด้านในคูเมืองเป็นเทวสถานของศาสนา พราหมณ์-ฮินดู แต่รอบนอกจะเป็นพุทธศาสนา สร้างเป็นขอบเขตของเมืองและสร้างเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ โดยคำว่าทวารวดี หมายความว่าเมืองที่ประกอบไปด้วยประตูและรั้ว คูลูกศร คือคูน้ำที่ขุดเชื่อมระหว่างคูน้ำทิศเหนือและคูน้ำทิศใต้ เนื่องจากค้ำทิศใต้มีลักษณะสูงกว่าทางทิศเหนือ โดยจะผันน้ำจากทางทิศใต้ไปทางทิศเหนือ โดยทางต้นน้ำฝั่งคูน้ำทิศใต้มีเทวสถานของพระนารายณ์หรือพระวิษณุจตุรพุทธสถิติอยู่ เป็นความเชื่อเพื่อให้น้ำไหลผ่านเทวลัย เพื่อให้น้ำธรรมดากลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์เพื่อนำน้ำไว้ใช้สำหรับบุคคลสำคัญของเมือง คูลูกศร มีที่มามาจากบริเวรต้นต้นน้ำของคูลูกศรมีเทวสถานของพระนารายณ์สถิติอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่าคูลูกศรนี้จาก พระนารายณ์แผลงศร
ปัจจุบันอำเภอศรีมโหสถเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปราจีนบุรีที่ชาวสวนปลูกส้มโอมาก พันธุ์ส้มโอ
ที่นิยมปลูกในพื้นที่เป็นทองดีและพันธุ์ขาวน้ำผึ้งซึ่งเป็นพันธุ์ส้มโอที่มีรสชาติหวานและเป็นที่ต้องการของตลาดทั่วไป และยังเป็นพืชเศรษฐกิจของอำเภอศรีมโหสถนิยมปลูกกันมากในพื้นที่ตำบลโคกปีบ โดยผลผลิตของส้มโออำเภอศรีมโหสถหวานเป็นเอกลักษณ์อำเภอศรีมโหสถเนื่องมาจากน้ำที่ใช้ในการรดน้ำส้มโอเป็นน้ำที่สูบมาจากน้ำคูเมือง
ที่มีแร่ธาตุมาจากศิลาแลง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รสชาติของส้มโอมีรสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์
สำนักงานศิลปากรที่ 5 ร่วมกับอำเภอศรีมโหสถ ร่วมบูรณะโบราณสถานให้พื้นที่อำเภอศรีมโหสถและร่วมกับท่องเที่ยวจังหวัดปราจีนบุรี สภาวัฒนธรรมอำเภอศรีมโหสถและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ โดยทางอำเภอศรีมโหสถร่วมกับสำนักงานศิลปากรที่ 5 จัดอบรมมัคคุเทศก์สำหรับนำเที่ยวพื้นที่สำคัญในอำเภอศรีมโหสถและร่วมกับวิสาหกิจชุมชนในในพื้นที่จัดทำเส้นทางท่องเที่ยวเมืองโบราณอำเภอศรีมโหสถ