อนาซีดกุมปัง เป็นการขับร้องตามจังหวะผสมผสานกับเครื่องดนตรี คือกุมปัง (รำมะนาอาหรับ) การตีกุมปังต้องสอดคล้องกับจังหวะเพลง (อนาซีด) เพื่อให้ไพเราะยิ่งขึ้น โดยเริ่มแรกมาจากชาวเปอร์เซีย เข้ามาในประเทศไทยบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้ นายปอตรี มะนอ เล่าว่า เดิมทีตนและเพื่อนๆ ได้มีการรวมตัวร้องเพลงอนาซีดเพื่อความบรรเทิงเท่านั้น ต่อมามีงานบุญในหมู่บ้านเลยมีแนวคิดที่จะเอาเพลงอนาซีดประสานร่วมกับเครื่องตีกุมปัง เลยได้เชิญครูกุมปังจากอำเภอแว้งมาสอนในหมู่บ้าน โดยคนแรกที่นำการตีกุมปังเข้ามาในพื้นที่อำเภอสุไหงปาดี คือ นายฮาเซ็ม สีระโก อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 15/1 หมู่ที่ 4 ตำบลริโก๋ อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส และยังเป็นคณะแรกของจังหวัดนราธิวาสที่มีการผสมผสานระหว่างเพลงอนาซีดและกุมปังเข้าด้วยกันจนเกิดความไพเราะน่าฟังยิ่งขึ้น
นายปอตรี มะนอ เล่าว่า วิธีตีกุมปัง คือ ผู้เล่นจะตีส่วนที่เป็นหนัง โดยใช้ฝ่ามือหรือนิ้วมือข้างใดข้างหนึ่งที่ผู้เล่นถนัด ส่วนมืออีกข้างหนึ่งจับกุมปัง การตีกุมปังมี ๒ แบบ
1. การตีกลองกุมปังแบบเปิดมือ
2. การตีกลองกุมปังแบบปิดมือ
ซึ่งการตีทั้งสองแบบจะมีเสียงออกมาที่แตกต่างกันไป
การแสดงกุมปัง ผู้แสดงสามารถนั่ง ยืนหรือเดินขณะแสดงได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานหรือความเหมาะสม มักจะนิยมแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หรืองานประเพณีท้องถิ่น เช่น งานแต่งงาน เข้าสุนัต และการต้อนรับบุคคลสำคัญ
การแสดงกุมปัง คณะหนึ่งประกอบด้วย
1. กลุ่มตีกุมปัง
2. นักร้อง