ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 49' 18.3918"
13.8217755
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 59' 28.2606"
99.9911835
เลขที่ : 197741
ผ้าซิ่นลาวครั่ง
เสนอโดย นครปฐม วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
อนุมัติโดย นครปฐม วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
จังหวัด : นครปฐม
0 721
รายละเอียด

ผ้าซิ่นลาวครั่งมักต่อตีนซิ่นด้วยฝ้ายหรือไหม ตีนซิ่น ตอนบนตกแต่งด้วยการจกลวดลายและตีนซิ่นตอนล่างปล่อยเว้นให้เป็นผืนผ้าสีแดง ถือเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาวลาวครั่งจนถึงปัจจุบัน สีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีที่ใช้เป็นสีที่ได้จากธรรมชาติ เช่น สีเหลืองจากมะพูด หรือใบหูกวาง สีน้ำตาลจากหมากหรือประดู่ สีเทาจากประดู่ย้อมโคลน สีครามได้มาจากต้นครามผสมกับปูนกินหมาก สีแดงได้มาจากครั่ง ลวดลายบนผืนผ้าของชาวลาวครั่งส่วนใหญ่จะมาจากสิ่งของใกล้ตัวที่ใช้ในวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ความเชื่อ เช่น ลายนาค ลายม้า ลายขอ ลายดอกแก้ว ลายเอี้ย เป็นต้น ลายที่ได้รับความนิยม ได้แก่ ลายโบราณ ลายหมี่ลวด และ ลายหมี่ตา

ผ้าซิ่นตีนจกที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ของชาวลาวครั่ง เช่น

- ซิ่นก่าน ใช้เทคนิคการจกหรือขิดตัวซิ่นทั้งผืน

- ซิ่นหมี่ลวด เป็นซิ่นที่ใช้เทคนิคการมัดหมี่และทอต่อเนื่อง โดยไม่มีเทคนิคอื่นมาคั่น ทำให้เกิดลวดลายอย่างต่อเนื่อง ลวดลาย ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายหมี่สำเภา ลายหมี่ขอใหญ่ เป็นต้น

- ซิ่นหมี่ตา ใช้เทคนิคการมัดหมี่สลับกับการจกหรือ ขิด ทำให้เกิดลวดลายขนานกับลำตัวเป็นทางลงลวดลายของ มัดหมี่ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลาย หงส์ หรือลายนาค เป็นต้น

- ซิ่นหมี่น้อย เป็นซิ่นที่ใช้เทคนิคการมัดหมี่เป็นลวดลาย แถบเล็ก ๆ สลับด้วยฝ้าย หรือไหมพื้นสีต่างๆ

โครงสร้างของผ้าจะแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น

1. หัวซิ่น นิยมทอด้วยสีดำ สีแดง หรือ เลือกตามสี ที่ต้องการ นิยมใช้ลวดลายโบราณสำหรับหัวซิ่น เช่น ลายน้ำ สามเชี่ยว ลายทอขั้นเครื่อง เป็นต้น

2. ตัวซิ่น นิยมทอด้วยไหมย้อมสีดำ สีแสด สีเขียว สีแดง สีเหลือง ลายที่นิยมนำมาใช้เป็น ลายหลักในส่วนตัวซิ่น เช่น ลายมะเขือผ่าโผ่ง และ ลายอ้อแอ้ ส่วนลายที่ใช้ทอเป็น ลักษณะแถวเดินเส้นประกอบลงไปบนผืนซิ่นด้วยนั้น คือ ลาย แก่นฝ้าย หรือ ลายเอี้ยแก่นฝ้ายก่อนนำลายหมาป่ามาใช้ สำหรับตกแต่งบริเวณเชิงผ้า ซึ่งในบริเวณส่วนเชิงผ้านี้จะต้อง เน้นทอให้เกิดลักษณะเป็นลายริ้วเล็ก ๆ เพื่อให้แลดูสวยงาม

นอกจากลายข้างต้นนี้แล้วในส่วนของตัวซิ่นยังมีการนำ ลายชนิดอื่นมาทอประกอบได้อีก เช่น ลายแก่นหมากห่อย ลายปีกบ่าง ลายเถาะกระไดลิง ลายขอบ้อง ลายนาค ลายขอขื่อ ลายขอน้อย ลายขอหลวง เมื่อจัดเป็นแถวลายดีแล้ว อาจมี การเพิ่มลายสร้อยสา ลายเขี้ยวหมาเป็น ลายเขี้ยวหมาตาย มาขนาบบริเวณด้านล่างของแถวลายเพื่อเพิ่มความสวยงาม

3. ผ้าลาวครั่ง เมื่อนำมาทำเป็นผ้าซิ่นลาวครั่ง ความสำคัญ จะอยู่ที่ “ตีนซิ่น” ซึ่งในอดีต ตีนซิ่นต้องเป็นสีแดงเท่านั้น ซึ่งคนโบราณใช้สีแทนสัญลักษณ์ถึงที่มาของบรรพบุรุษ ซึ่งสีแดง สื่อความหมายแทน “ดวงอาทิตย์” เนื่องจากบรรพบุรุษย้ายอพยพ มาจากทิศตะวันออก และสีแดงจะใช้เฉพาะในส่วนตีนซิ่นเท่านั้น ผ้าซิ่นลาวครั่งมีการใช้สีหลัก ๆ อยู่ 5 สี ได้แก่ สีแดง แทนการ อพยพมาจากทิศตะวันออก สีดำแทน “เมือง” ที่มีลักษณะ อุดมสมบูรณ์มี “ดินดำน้ำชุ่ม” สีขาว สื่อความหมายแทน “เชื้อชาติ” บอกถึงชาติพันธุ์หรือชนเผ่าของบรรพบุรุษคือ “ลาวพุทธ” สีเหลือง สื่อแทน “ดอกจำปา” บอกถึงเอกลักษณ์ชุมชน คือ ความเป็นลาว และสีสิ้ว หรือ สีเขียว สื่อแทน “การดำรงชีวิต” บอกถึงความ เป็นธรรมชาติ

คำสำคัญ
ผา
สถานที่ตั้ง
กลุ่มทอผ้าศรีอุทุมพร (วัดโพรงมะเดื่อ)
ตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
กลุ่มทอผ้าศรีอุทุมพร (วัดโพรงมะเดื่อ)
บุคคลอ้างอิง นายกมนพรรธน์ บ่อแก้ว
ตำบล โพรงมะเดื่อ อำเภอ เมืองนครปฐม จังหวัด นครปฐม รหัสไปรษณีย์ 73000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่