ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 45' 4.347"
17.7512075
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 28' 4.1336"
100.4678149
เลขที่ : 197769
ไม้พายโบราณ วัดผาเลือด
เสนอโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
อนุมัติโดย อุตรดิตถ์ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
จังหวัด : อุตรดิตถ์
0 398
รายละเอียด

ท่าดอนหลวง เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งในท้องที่ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ชาวผาเลือดต่างรู้จักกันดี เพราะเป็นท่าน้ำสำหรับจัดกิจกรรมการแข่งขันเรือพายของตำบลผาเลือดมานานแล้ว แต่สำหรับชาวผาเลือดที่อายุตั้งแต่ ๖๕ – ๗๐ ปีขึ้นไปต่างรู้กันดีว่า “ท่าดอนหลวง” ไม่ใช่มีความสำคัญเฉพาะใช้เป็นท่าน้ำสำหรับแข่งเรือพายเท่านั้น แต่เป็นสถานที่สำคัญที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตคนผาเลือดมาตั้งแต่โบราณกาล สมัยที่ยังไม่มีการสร้างเขื่อนปิดกั้นลำน้ำน่าน การสัญจรทางน้ำ คือ เส้นทางหลักของการเดินทางเข้าออกอำเภอท่าปลา “ท่าดอนหลวง” คือ ท่าเรือใหญ่ของตำบลผาเลือด เรือยนต์ขายสินค้าเรือ โดยสารมักจะมาแวะจอดที่นี่เพื่อซื้อขายสินค้า รับ - ส่งคนผาเลือดและคนถิ่นอื่นที่เข้ามาในพื้นที่ตำบลผาเลือด ส่วนในชุมชนผาเลือดเองท่าน้ำแห่งนี้ คือ ท่าน้ำ ท่าจอดเรือของคนสองฝั่งน้ำสำหรับการเดินทางไปมาหาสู่กัน และท่าดอนหลวงยังเป็นเส้นแบ่งแดน “ปลอดภัยและอันตราย” เนื่องจากลำน้ำน่านเหนือท่าดอนหลวงขึ้นไปมีหาด แก่งและวังน้ำวนหลายแห่ง ที่สามารถสร้างอันตรายถึงแก่ชีวิตให้แก่ผู้ที่ใช้เส้นทางสัญจรตามลำน้ำน่านนี้ได้ แต่หากย้อนกลับไปในอดีตปี พ.ศ. ๒๓๒๙ ตั้งแต่เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองน่าน ลำดับที่ ๕๖ ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ “ท่าดอนหลวง คือ ท่าจอดเรือของเจ้าเมืองน่าน” ราวเดือนกรกฎาคม (ฤดูน้ำหลาก) เมื่อถึงเวลาที่ต้องถวายเครื่องบรรณาการ (ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง) เจ้าเมืองน่านและบริวารจะล่องเรือชล่าซึ่งเป็นเรือขนาดเล็กมาจอดไว้ที่ “ท่าดอนหลวง” ก่อนจะต่อเรือลำใหญ่ที่จอดไว้ล่องต่อไปกรุงเทพฯ พักที่กรุงเทพฯ ประมาณ ๑ เดือน แล้วใช้เวลาเดินทางกลับอีกประมาณ ๒ เดือน เช่น หากเดินทางล่องไปกรุงเทพฯ ในเดือนสิงหาคม ก็จะใช้เวลาเดินทางกลับในเดือนกันยายน – ตุลาคม โดยจะมาถึงท่าดอนหลวงราวเดือนพฤศจิกายน ก่อนจะเดินทางขึ้นไปเมืองน่านด้วยเรือชล่าที่จอดไว้ก่อนหน้านี้ ส่วนเรือลำใหญ่จอดทิ้งไว้ที่ “ท่าดอนหลวง” โดยมีผู้ดูแลรักษาไว้ให้มีสภาพควรแก่การใช้งานได้ตลอดเวลา

ไม้พายโบราณ วัดผาเลือด ไม้พายเรือเจ้าเมืองน่าน มีความยาวถึง ๖.๙๘ เมตร ใบพายกว้าง ๐.๔๖ เมตร ไม้พายนี้มีอายุประมาณ ๒๐๐ ปี แต่นำมาเก็บไว้ที่วัดผาเลือด ตำบลผาเลือด อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ประมาณ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมา เป็นไม้พายหางเสือเรือของเจ้าเมืองน่าน (ไม่ได้มีไว้พาย) ทำหน้าที่บังคับเรือไม่ให้เสียหลักและวิ่งไปตามทิศทางที่ต้องการ เจ้าเมืองน่านใช้เรือลำนี้บรรทุกเครื่องบรรณาการ ไปถวายพระเจ้ากรุงรัตนโกสินทร์ เรือเจ้าเมืองน่านมีลักษณะคล้ายเรือมอญ คาดว่าสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๓๑๐ โดยช่างชาวมอญ ส่วนท้ายเรือมีลักษณะคล้ายเรือสุพรรณหงส์ ลำเรือมีความกว้าง ๔.๐๐ เมตร ยาว ๒๖.๐๐ เมตร ประตูเรือมีความสูงประมาณ ๓.๐๐ เมตร กว้าง ๔.๐๐ เมตร บานประตูทำจากไม้สักทาด้วยสีเขียวมีความงดงามมาก เรือสามารถบรรทุกคนได้ประมาณ ๒๐๐ คน ใช้ไม้พาย ๒ อันๆ ละ ๒ คน มีคนถือท้ายเรือ ๒ คน เนื่องจากแม่น้ำน่านตั้งแต่ท่าดอนหลวงขึ้นไปยังเมืองน่าน มีแก่งหิน วังวนและทางน้ำแคบตื้นเรือใหญ่จึงไม่สามารถแล่นเรือได้ ดังนั้น เมื่อถึงเวลาที่ต้องถวายเครื่องบรรณาการราวเดือนกรกฎาคม (ฤดูน้ำหลาก) เจ้าเมืองน่านและบริวารจะล่องเรือชล่าซึ่งเป็นเรือขนาดเล็กมาจอดไว้ที่ท่าดอนหลวง แล้วจึงใช้เรือลำใหญ่ที่จอดไว้ล่องต่อไปกรุงเทพฯ

คำสำคัญ
วัตถุโบราณ
สถานที่ตั้ง
วัดผาเลือด
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ ๑
ตำบล ผาเลือด อำเภอ ท่าปลา จังหวัด อุตรดิตถ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
หนังสือเล่าเรื่องเมืองผาเลือด
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ อีเมล์ uttaraditculture65@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน ศาลากลางจังหวัดอุตรดิตถ์ ชั้น ๑ อีเมล์ uttaraditculture65@gmail.com
ถนน ประชานิมิตร
ตำบล ผาเลือด อำเภอ ท่าปลา จังหวัด อุตรดิตถ์ รหัสไปรษณีย์ 53000
โทรศัพท์ 055403092 โทรสาร 055403093
เว็บไซต์ https://uttaradit.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่