ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 5° 46' 25.2998"
5.7736944
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 3' 40.8053"
101.0613348
เลขที่ : 197793
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน
เสนอโดย ยะลา วันที่ 17 มีนาคม 2566
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 17 มีนาคม 2566
จังหวัด : ยะลา
0 862
รายละเอียด
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน หมู่ที่ ๒ ตำบลตาเนาะแมเราะ อ.เบตง จ.ยะลา

๑. การบริหารจัดการชุมชน

๑.๑ ผู้นำชุมชนเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการชุมชนที่ดี มีหลักธรรมาภิบาล
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนโดยการนำของนายศรัลญ์วิชย์ นวลเจริญ มีการพัฒนาและส่งเสริมการประกอบอาชีพหลัก และอาชีพเสริมเพื่อให้คนในชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนและส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและผู้ว่างงานในชุมชนให้สามารถพัฒนาไปสู่ความพออยู่พอกิน โดยชุมชนได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากกรมการพัฒนาชุมชนให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ประจำปี ๒๕๕๗ และใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานชุมชน ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีคุณธรรม บริหารงานด้วยความโปร่งใส และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน๑.๒ ผู้นำชุมชนมีความรู้ มีความเข้าใจในบริบทของชุมชนอย่างชัดเจน
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีนายศรัลญ์วิชย์ นวลเจริญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ ๒ เป็นผู้นำชุมชนผู้มีความรู้ความสามารถในการบริหารงานชุมชน โดยมีทีมงานคณะกรรมการจากทุกกลุ่มฝ่ายจึงทำให้เป็นศูนย์กลางในการบริหารงาน ส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย กฎกติกา และข้อบังคับของหมู่บ้าน โดยมีการประชาสัมพันธ์ และให้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ใช้กลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน สร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะปัญหาต่างๆ ตามบริบทของชุมชน๑.๓ ชุมชนมีการบูรณาการการทางานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนมีต้นทุนทางธรรมชาติ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงาม ทำให้มีหน่วยงานจากภายนอกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เข้ามาร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการ OTOP นวัตวิถี โดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย โครงการ บวร On Tour กระทรวงวัฒนธรรม มีผู้นำชุมชนที่ใส่ใจในข้อราชการ ประกาศ ระเบียบ กฎหมาย และนโยบายต่างๆของรัฐบาล โดยจะนำเข้าแจ้งในที่ประชุมชุมชนให้ประชาชนรับทราบ ส่งผลให้คนในชุมชนรับทราบข้อมูลข่าวสาร มีความรู้ความเข้าใจ เท่าทันสถานการณ์๑.๔ สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนส่งเสริมให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นบ้าน มีความภูมิใจในท้องถิ่นโดยมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ และมีแนวทางในการอนุรักษ์ประเพณีท้องถิ่นไปในทิศทางเดียวกันด้วยความสมัครสมานสามัคคี โดยจัดกิจกรรมสืบทอดประเพณีที่สำคัญของชุมชน ประเพณีของชนเผ่าลาหู่ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีวันไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเข้าพรรษา และประเพณีวันตรุษจีน๑.๕ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการขับเคลื่อนชุมชนอย่างชัดเจน
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา ได้คัดเลือกบ้านบ่อน้ำร้อน เป็นชุมชนท่องเที่ยวนวัตวิถี ต้นแบบระดับจังหวัด และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ดำเนินการขับเคลื่อนชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว "บวร On Tour” ภายใต้โครงการพัฒนาต่อยอด ทุนทางวัฒนธรรมตามรอยศาสตร์พระราชาเพื่อชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน "บวร On Tour” ของชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วย พลังบวร เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน ให้มีความเข้มแข็งและมีความยั่งยืนตามรอยศาสตร์พระราชา โดยนำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นทั้งภูมิสังคม ภูมิปัญญา และภูมิทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มาต่อยอดเพื่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่าอย่างสร้างสรรค์๑.๖ ชุมชนมีการบริหารจัดการชุมชน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19)
๑. กรณีมีคนในหมู่บ้าน/ชุมชนได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด - 19) ให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ดำเนินการกับผู้ป่วย และผู้ที่อยู่ในระยะใกล้ชิดกับผู้ป่วย และให้แจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเข้ารับการประเมินในการรักษาต่อไป
๒. การป้องกันและฝ้าระวังกลุ่มผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน ให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง ในหมู่บ้าน/ชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิค - 19) ได้ง่าย ให้หลีกเลี่ยงการพบปะ รวมทั้งงดกิจกรรมนอกบ้าน และงดการไปในที่ชุมชน
๓. มีการทำความสะอาดสถานที่ท่องเที่ยว กำจัดขยะมูลฝอยทุกวัน ให้เจ้าหน้าที่ที่ดูแลสถานที่ท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่ แอลกอฮอล์ เจล มีการลงทะเบียนบริเวณทางเข้าบ่อน้ำพุร้อน และให้มีการเว้นระยะห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร เพื่อป้องกันการติดต่อสัมผัส หรือแพร่เชื้อโรคทางละอองฝอยน้ำลาย



๒. อัตลักษณ์ของชุมชนที่มีความโดดเด่น

๒.๑ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ /ภาษา /เครื่องแต่งกาย
บ้านบ่อน้ำร้อนเบตง มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ โดยกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนประกอบด้วย กลุ่มชาติพันธุ์ไทย ชาติพันธุ์จีน ชาติพันธุ์มลายู ชนเผาลาหู่คนในชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยความรักสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีน้ำใจไมตรี อยู่กันอย่างมีความสุขพร้อมร่วมมือกันในพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง
ชนเผ่าลาหู่บ้านบ่อน้ำร้อน อำเภอเบตงชาวลาหู่ หรือ มูเซอ เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านบ่อน้ำร้อนระยะแรกเพียงครอบครัวเดียว เพื่อเป็นแรงงานในการทำการเกษตร โดยรับจ้างกรีดยาง ทำงานในสวนส้ม สวนทุเรียนภายหลังได้ชักชวนญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากรวมกันเป็นกลุ่ม จนปัจจุบันบ้านบ่อน้ำร้อน มีประชากรเผ่าลาหู่ ถึง ๒๐๐ คน ซึ่งยังคงอนุรักษ์สืบสานอัตลักษณ์การแต่งกายวัฒนธรรมประเพณีของชนเผ่าไว้เป็นอย่างดี เมื่อถึงช่วงงานเทศกาล ทั้งหญิงและชายต่างพากันสวมชุดประจำเผ่าด้วยเครื่องแต่งกายอันวิจิตรงดงาม เสื้อผ้าจะมีการปักลวดลายอย่างสวยงาม ขอบแขนเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยผ้าที่ต่างสีจากตัวเสื้อ เพื่อเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ อย่างมีความสุขพร้อมๆนี่คืออีกหนึ่งความงดงามหลากหลายทางวัฒนธรรมในพื้นที่ชายแดนใต้๒.๒ ศิลปะ ดนตรี และการแสดง การร้องเพลงตอบโต้การเป่าแคนเป่าขลุ่ย การแสดงของชนเผ่าลาหู่ รำเซิ้ง๒.๓ เทศกาล ประเพณีท้องถิ่น /กีฬา การละเล่นท้องถิ่น ทุกปีชาวลาหู่บ้านบ่อร้อนจะจัดงานขึ้นปีใหม่ และงานเทศกาลตรุษจีน เพื่อให้ชาวลาหู่ได้ร่วมกิจกรรม สร้างความรักหวงแหนวัฒนธรรมดั้งเดิม และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมภายในงานมีการละเล่น การแสดงวัฒนธรรมต่างๆ ของชนเผ่าลาหู่ เช่น การแต่งกายสวยงาม การโยนลูกช่วง การร้องเพลงตอบโต้ การเป่าแคนเป่าขลุ่ย๒.๔ อาหารท้องถิ่น /ภูมิปัญญาด้านอื่นๆ เช่น หัตถกรรม การก่อสร้างบ้านเรือน สมุนไพร ฯลฯ ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน มีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่โดดเด่น เป็นพื้นที่ของแหล่งผลิตวัตถุดิบอาหารที่ขึ้นชื่อของอำเภอเบตง เป็นเมนูขึ้นชื่อของอำเภอเบตง ที่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยือนจะต้องลิ้มลอง เช่น
๑. ไก่เบตง เป็นอาหารจะมีรสชาติอร่อย เนื้อนุ่ม หนังกรอบ ไม่มีมันผสมถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองเบตง
๒. ผักน้ำ มีลักษณะคล้ายๆ กับผักคะน้า หรือผักกวางตุ้ง แต่มีความกรอบและหวานกว่ามากซึ่งสถานที่เพาะพันธุ์ผักน้ำนั้นก็ตั้งอยู่บนภูเขาสูง
๓. ปลานิลสายน้ำไหล เป็นปลาที่มีรสชาติดี หายาก เป็นอาหารขึ้นชื่อและโด่งดังของชาวชุมชนคุณธรรมบ้านบ่อน้ำร้อน เช่น ปลานิลแดดเดียว,ขลุ่ยปลานิล,ปลานิลนึ่งซีอิ๊ว
๔. ส้มโชกุล ส้มโชกุนที่นี้มีคุณลักษณะต่างจากส้มทั่วไปผลจะใหญ่กว่า รสชาติหวานนำเปรี้ยวเปลือกบาง เนื้อเยอะ
๕. ทุเรียนมูซังคิง ทุเรียนสายพันธุ์ที่มีราคาขึ้นสูงไปถึง กิโลกรัมละ ๕๐๐ – ๑,๐๐๐ บาทด้วยความอุดมสมบูรณ์ของชุมชนคุณธรรมบ้านบ่อน้ำร้อนสวนศักดิ์ศรี จึงเป็นสวนแรกๆ ที่นำทุเรียนพันธุ์มูซังคิงเข้ามาปลูกในพื้นที่บ้านบ่อน้ำร้อน อำเภอเบตงซึ่งลักษณะเด่นของทุเรียนสายพันธุ์ เหมาซานคิง จะมีเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์ชัดเจน คือบริเวณก้นผลจะดูเป็นแฉก ๕แฉก รูปดาวแปลกตามาก จัดเป็นทุเรียนเปลือกบาง เมล็ดเล็กและลีบบาง เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเนียน รสชาติหวานมันและหวานแหลม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
๖. เฉาก๊วยเบตง เฉาก๊วยดั้งเดิมสูตรโบราณ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ถึงปัจจุบันกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม โดยใช้เตาถ่านไม้ฟืนในการต้มน้ำหญ้าเฉาก๊วย เพื่อเอาน้ำของหญ้าเฉาก๊วยที่มีสีดำขลับมาเคียวแป้งและน้ำเชื่อม เพื่อให้มีกลิ่นหอมของน้ำตาลอ้อยและสมุนไพรของหญ้าเฉาก๊วย
ซึ่งนำมาจากประเทศจีนและทำให้เฉาก๊วยมีสีดำขลับ เนื้อเหนียว และนุ่ม ไม่กรอบ รับประทานแล้วชุ่มคอ โดยหญ้าสมุนไพรเฉาก๊วยนี้ มีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนในกระหายน้ำ ขับเสมหะ แก้คลื่นไส้ เบื่ออาหาร ช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อน ลดอาการกล้ามเนื้ออักเสบ ลดอาการตับอักเสบ ลดอาการไขข้ออักเสบ และระดับน้ำตาลในเลือดเป็นของฝาก ที่นักท่องเที่ยวผู้มาเยือนบ้านบ่อน้ำร้อน ทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องแวะซื้อกลับไปเสมอ



๓. แหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นของชุมชน๓.๑ แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม เช่น อาคารบ้านเรือน ศาสนสถาน ตลาดวัฒนธรรม ถนนสายวัฒนธรรม ตลาดน้า พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศูนย์การเรียนรู้ บ้านศิลปิน หอศิลป์
วัดบ่อน้ำร้อน เป็นสถานที่ประดิษฐ์ฐานรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ ๓ จังหวัดภาคใต้ นักท่องเที่ยวนิยมเข้ามาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม และเรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นประจำทุกวันพระสวนะและวันสำคัญทางศาสนา โบสถ์คริสต์ ศาสนสถานที่ชนเผ่าลาหู่ประกอบพิธีทางศาสนา ถึงแม้จะย้ายถิ่นฐานมาจากที่อื่นแต่ชนเผ่า ลาหู่ ยังคงสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีชนเผ่าลาหู่ให้คงอยู่สืบไปซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ที่นับถือศาสนาคริสต์๓.๒ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ แหล่งโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์ สถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์
อุโมงค์ปิยะมิตรเป็นอุโมงค์ดินที่อดีตขบวนการคอมมิวนิสต์มลายา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เป็นฐานปฏิบัติการหลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียงอาหาร อุโมงค์ยาวประมาณ ๑ กิโลเมตร กว้าง ๕-๖ ฟุต มีทางเข้าและออก ๙ ทาง ปัจจุบันเหลือเพียง ๖ ทาง ภายในอุโมงค์จุคนได้ประมาณ ๒๐๐ คน จะมีที่นอนเตียงดิน อุปกรณ์ถนอมอาหาร บริเวณภายนอกอุโมงค์เดิมเคยเป็นลานกว้างสำหรับฝึกกำลังพล ปัจจุบันมีการจัดนิทรรศการแสดงภาพและเรื่องราวประวัติศาสตร์รวมถึงวิถีการดำเนินชีวิตในป่าสำหรับให้ความรู้นักท่องเที่ยว๓.๓ พื้นที่หรือศูนย์การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดาริ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน/ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สวนหมื่นบุปผา สวนดอกไม้เบตง หรือเรียกว่า สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง เป็นสวนดอกไม้เมืองหนาวแห่งเดียวในภาคใต้ ในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยสภาพภูมิศาสตร์ที่อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางราว ๘๐๐ เมตร มีอากาศเย็นสบายตลอดปี ระบบน้ำเพียงพอ มีดอกไม้นานาพันธุ์บานสะพรั่ง เป็นเสน่ห์ของชุมชนที่คอยต้อนรับและเชิญผู้มาเยือน เที่ยวชมความสวยงามของดอกไม้ที่ปลูกเรียงรายเป็นทิวแถว และสัมผัสกับสภาพภูมิอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นที่อื่นของภาคใต้๓.๔ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น สวนเกษตรอินทรีย์ สวนผสม ไร่ สวน นา ฟาร์ม เกษตรผสมผสาน
"ช้างบ่อน้ำร้อนเบตง” สวนส้มโชกุนปลูกบนภูเขาแบบขั้นบันใด ลักษณะต่างจากส้มทั่วไปผลจะใหญ่กว่า รสชาติหวานปนเปรี้ยวเปลือกบาง เนื้อเยอะ
"สวนศักดิ์ศรี” สวนทุเรียนมูซังคิง หรือ เหมาซานหวัง ราคากิโลกรัมละ ๕๐๐ – ๑,๐๐๐ บาท ลักษณะเด่นของทุเรียนสายพันธุ์นี้จะมีเอกลักษณ์ประจำสายพันธุ์ชัดเจน คือบริเวณก้นผลจะดูเป็นแฉก ๕ แฉกรูปดาว เป็นทุเรียนเปลือกบาง เมล็ดเล็กและลีบบาง เนื้อเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเนียน รสชาติหวานมัน๓.๕ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ภูเขา ถ้า น้าตก ทะเล ชายหาด ป่าชายเลน จุดชมวิว น้ำพุร้อน น้าแร่ และอื่น ๆ
บ่อน้ำพุร้อนเบตง เป็นบ่อน้ำร้อนธรรมชาติขนาดใหญ่ มีขนาดพื้นที่ประมาณ ๓ ไร่ โดยจะมีน้ำร้อน ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ มากมาย อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ประมาณ ๘๐ องศาเซลเซียส สามารถต้มไข่ไก่จนสุกภายใน ๗ นาที โดยเชื่อกันว่าน้ำแร่แห่งนี้ สามารถบรรเทารักษาโรคภัยต่างๆ ได้เป็นอย่างดี อาทิ โรคปวดเมื่อย โรคเหน็บชา โรคผิวหนัง เป็นต้น มีห้องพักบริการ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.



๔. กิจกรรมและรูปแบบการท่องเที่ยว

๔.๑ มีการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นวิถีดั้งเดิมของชุมชน เช่น การทำบุญ ตักบาตร การทำอาหารพื้นบ้าน งานฝีมือ การละเล่น การแสดงพื้นบ้าน การเรียนรู้อาชีพและวิถีชีวิตของชุมชน ฯลฯ
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีกิจกรรมการจักสานชะลอมไม้ใผ่เพื่อให้นักท่องเที่ยวนำชะลอมไปต้มไข่ ทดแทนการใช้ถุงพลาสติก ใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน๔.๒ มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวผ่านช่องทางต่างๆ เช่น สื่อออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ป้ายประชาสัมพันธ์ จุดเช็คอิน และจุดถ่ายภาพ ฯลฯ
ช่องทางประชาสัมพันธ์ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน ติดตามได้ทางเพจเฟสบุ๊ค และยูทูป ดังนี้
- บ่อน้ำร้อนรีสอร์ท แอนด์ สปา อ.เบตง จ.ยะลา
- Flowers Garden สวนดอกไม้เมืองหนาวเบตง
- https://www.youtube.com/watch?v=yG_S761kokQ&t=14s
- https://www.youtube.com/watch?v=s0y2RDOGMZ4&t=32s
- https://www.youtube.com/watch?v=hnQOWVkfg-I

๔.๓ มีการจัดโปรแกรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน หรือการเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยวของชุมชนกับแหล่งท่องเที่ยว ที่โดดเด่นของจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียง
แวะชิมเฉาก๊วย กม.4 เดินทางเข้าอุโมงค์ปิยะมิตร ชมอุโมงค์และพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ ของคอมมิวนิสต์มาลายา ไหว้พระขอพรหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่ ณ วัดบ่อน้ำร้อน รับประทานอาหารที่ร้านปลานิลสายน้ำไหล (โกหงิ่ว) ชมการเลี้ยงปลานิลในสายน้ำไหล ปิดท้ายที่บ่อน้ำร้อนเบตง ต้มไข่ออนเซน เวลา 7 นาที แช่เท้าผ่อนคลายช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี
จากชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนประมาณ ๒๐ กิโลเมตร ถึงชุมชนบ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง เป็นหมู่บ้านที่พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา ได้ยุติการต่อสู้ด้วยอาวุธและสลายกองกำลังมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย
จากชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนประมาณ ๓๘ กิโลเมตร ถึงชุมชนบ้าน กม.๓๒ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง หนึ่งในชุมชนท่องเที่ยว บวร On Tour มีจุดชมวิวทะเลหมอกอัยเยอร์เวง มีทะเลหมอกให้ชมตลอดทั้งปี บนเขาไมโครเวฟมีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๒,๐๓๘ เมตร เป็นทะเลหมอกที่ใหญ่และสวยงาม๔.๔ มีที่พักในรูปแบบโฮมสเตย์ โรงแรม หรือรีสอร์ทในพื้นที่ชุมชนหรือพื้นที่ใกล้เคียงกับชุมชน รวมทั้งมีร้านอาหารท้องถิ่น และการบริการอื่นๆ
- บ่อน้ำร้อนรีสอร์ท & สปา มีห้องพักจำนวนห้อง 35 ห้อง บังกะโลคืนละ ๑,๐๐๐ บาท ห้องธรรมดาคืนละ ๖๕๐ บาท รองรับนักท่องเที่ยวได้ ๗๐ คน ติดต่อสอบถาม ๐๘๙- ๖๕๕๕๐๑๖
- สวนไม้ดอกเมืองหนาว มีห้องพักจำนวนห้องพัก ๗๒ ห้อง บังกะโลคืนละ ๗๕๐ บาท ห้องตึกคืนละ ๙๕๐ บาท รองรับนักท่องเที่ยวได้ ๒๐๐ คน ติดต่อสอบถาม ๐๘๗ - ๘๙๙๑๑๕๓๔.๕ มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นในการนาชมแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และมีกิจกรรมการพัฒนาศักยภาพ ของมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อย่างต่อเนื่อง
นายศรัลย์วิชญ์ นวลเจริญ โทรศัพท์ ๐๖๕-๖๘๒๔๘๗๙
นายสิวพงษ์ พิทักษ์ทักษิณ โทรศัพท์ ๐๘๙-๒๙๗๘๒๓๑๔.๖ มีการจัดทำสิ่งอานวยความสะดวก การดูแลความปลอดภัยสาหรับนักท่องเที่ยวและการบริการอื่นๆ เช่น ป้ายบอกทาง แผนที่ท่องเที่ยว ห้องน้า ที่จอดรถ และทางลาดสาหรับผู้พิการและผู้สูงอายุ
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะอำนวยความสะดวกให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่มีความสะอาด ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย



๕. ด้านผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน

๕.๑ มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชน
- ชะลอมไม้ไผ่
- สมุนไพรเห็ดหลินจือ
- เฉาก๊วยโบราณ
- เสื้อมัดย่อม
- เสื้อสกรีน OK เบตง

๕.๑ มีผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) ที่มีการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี นวัตกรรมเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ มีความร่วมสมัย และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน ไม่มี ผลิตภัณฑ์ CPOT๕.๒ ชุมชนมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
ศูนย์จำหน่ายสินค้า OTOP ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา หน้าบ่อน้ำพุร้อนเบตง จำหน่ายสินค้าของที่ระลึก ภูมิปัญญาจากพื้นที่อำเภอเบตง และสินค้า OTOP
ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์สวนดอกไม้เบตงจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร๕.๓ ชุมชนมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การสาธิต / Workshop ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เพื่อดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยว๕.๔ ชุมชนมีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมผ่านสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งรูปแบบ Online และ Onsite
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อนมีการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ และช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม และกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนเป็นของตนเอง
สถานที่ตั้ง
ชุมชนบ้านบ่อน้ำร้อน
ตำบล ตาเนาะแมเราะ อำเภอ เบตง จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ยะลา อีเมล์ k-yala@hotmail.com
อีเมล์ kanokwanp2515@gmail.com
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 0818984384 โทรสาร 073203511
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่