เสื่อหนามเตย ในชุมชนบ้านกูแบอีแก หมู่ที่ ๔ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ได้ริเริ่มมาจาก ต้นหนามเป็นพืชประจำถิ่นที่จำนวนมาก ทำให้คนสมัยก่อนคิดค้นนำใบเตยมาสานเป็นเสื่อ สำหรับปูนอนในบ้าน บางครั้งถึงกับใช้เสื่อที่สานกันนี้ เป็นสินสอดอีกด้วย การสานเสื่อใบเตย เป็นอาชีพที่นิยมกันมากในหมู่สตรีทางภาคใต้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถทำได้แทบทุกครัวเรือน แต่เดิมมักสานเสื่อสำหรับรองนั่งหรือปูนอน ชาวบ้านเรียกว่าสาดอ่อนหรือสาดปาหนัน เสื่อปาหนันในอดีตที่มีความประณีต งดงามมาก คือ "ยอดสาด" ซึ่งเป็นเสื่อผืนสุดท้าย หรือผืนบนสุดที่สานพิเศษสำหรับใช้ในพิธีแต่งงาน โดยคู่บ่าวสาวจะต้องช่วยกันสานเสื่อไว้ ใช้ปูนอนอย่างน้อย ๑๒ ผืน จำนวนของเสื่อขึ้นอยู่กับฐานะของคู่บ่าวสาว เมื่อสานเสื่อเสร็จแล้วจะนำมาวางซ้อนกันแทนที่นอนเสื่อผืนบนสุดหรือ "สาดยอด" นั้นจะสานให้ประณีตสวยงานเป็นพิเศษและประดับกระจกปักด้วยตามุมเสื่อ จึงทำให้ยอดสาดยอดเป็นเสื่อที่สวยงามเป็นขึ้นเศษ การสานเสื่อปาหนันนั้นแต่เดิมจะสานด้วยตอกใบปาหนันย้อมสี ต่อมาจึงมีคนนิยมทำกันมาก จักสานเป็นรูปแบบต่างๆหลากหลายชนิด เช่น หมวก เสื่อ ปลอกหมอน เป็นต้น
ส่วนประกอบ/วัสดุอุปกรณ์การจักสาน
๑.ในหนามเตย
๒.มีด
๓.ถังใส่น้ำขนาดใหญ่
๔.หม้อ
๕. สี ตามหลากสีสัน
กระบวนในการผลิต
๑. การตัด/เก็บต้นเตยหนาม ต้นเตยที่จะนำมานั้น ต้องเป็นเตยนา ซึ่งสามารถพบได้ตามท้องนาริมบึงน้ำ ควรเลือกตัดเฉพาะกอที่มีใบยาวประมาณ ๑ - ๑.๕ เมตรคัดเลือกเฉพาะใบยอดที่อยู่ส่วนกลางด้านใน ซึ่งแต่ละใบจะสามารถแยกย่อยได้อีกประมาณ ๕ - ๖ ใบ
๒. การเอาหนามออก ใช้เส้นเอ็นพันระหว่างนิ้วชี้ (หรือนิ้วกลางตามถนัด) กับนิ้วโป้ง ผูกเงื่อน แบบสามารถรูดเลื่อนเข้าออกได้ รูดเตยหนามจากหัวไปท้ายออก ใช้เส้นเอ็นเอาหนามที่ขอบและ ด้านหลังใบออก โดยริดจากโคนไปหาปลายใบตามยาว จะสะดวกรวดเร็วกว่าการใช้มีด
๓. การรีดเส้น ควรใช้เครื่องรีดเส้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์การรีดใบเตยหนามที่ทำจากแผ่นไม้ประกบ กัน โดยมีแผ่นเหล็กด้านในเพื่อใช้รีดใบเตยหนาม จะช่วยให้ได้ใบเตยหนามที่มีขนาดความยาวและเรียบ เท่าๆ กันอย่างสม่ำเสมอ
๔. การต้มและการทำสี ควรใช้น้ำที่ใสสะอาด โดยการนำน้ำมาใส่ภาชนะและพักไว้ปล่อยให้สิ่ง สกปรกตกตะกอน ใช้แต่น้ำที่ใสสะอาดข้างบนในการต้มเส้นเตยหนาม ใช้สีย้อมกกแทนสีธรรมชาติ และ ใส่ส้มแขกคณะต้มทำสี จะช่วยให้ได้เส้นเตยหนามที่สีสวยแวววาว
๕. การตากหรือทำให้แห้ง การตากเส้นเตยหนามที่ต้มหรือย้อมสีควรตากแดดอ่อนๆ หรือ ตากแดดในที่ร่มเพื่อไม่ให้เส้นกรอบ และตากให้แห้งสนิท
๖. การทำให้เส้นนิ่ม นำเส้นเตยหนามที่ต้มหรือย้อมสีแล้ว นำมารีดทีละเส้นโดยใช้กรรไกร จะช่วยให้เส้นนิ่ม น่าสัมผัส
๗. การเก็บรักษา โดยมัดเส้นเตยหนามให้มีขนาดและความยาวเท่าๆ กัน เก็บใส่ถุง เก็บไว้ใน ที่ร่ม อากาศถ่ายเทได้สะดวก จะทำให้เส้นเตยหนามไม่อับชื้นและไม่ขึ้นรา สามารถเก็บวัตถุดิบเตยหนาม ได้นานเป็นปี