ทุเรียนปราจีนบุรีได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ซึ่งมีมากถึง 7 สายพันธุ์ แบ่งเป็นทุเรียนพันธุ์การค้าคือ ก้านยาว หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมือง ประกอบด้วย พันธุ์กบชายน้ำ ชมพูศรี และกำปั่น ปัจจุบันแหล่งปลูกทุเรียนของปราจีนกระจายอยู่ในพื้นที่หลายอำเภอ ที่มีสภาพดินเหมาะสำหรับเพาะปลูกทุเรียน เพราะสภาพดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน
สวนทุเรียนส่วนใหญ่ผ่านการรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย (แปลง GAP) จากกรมวิชาการเกษตร เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวชาวสวนจะตัดตามความสุกแก่ในแต่ละมีด ทำให้ได้ทุเรียนคุณภาพดี เนื้อทุเรียนมีสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม หนามถี่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นสำคัญของทุเรียนปราจีนบุรีที่โดนใจเหล่าผู้บริโภค
“ทุเรียนพันธุ์กบชายน้ำเมืองปราจีนบุรี” เป็นทุเรียนที่เกิดจากการกลายพันธุ์จากทุเรียนโบราณของจ.นนทบุรี นำมาปลูกในสวนจิตร์นิยม ลักษณะของทุเรียนพันธุ์นี้ผลกลม ไม่บิดเบี้ยว ที่ก้นมีรอยยุบ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เนื้อละเอียดไร้ใย เมื่อสุกแล้วสามารถเก็บไว้ได้หลายวัน โดยไม่เละเสีย กลิ่นหอมไม่ฉุน ทำให้ทุเรียนกบชายน้ำเมืองปราจีนบุรี เป็นสุดยอดทุเรียนที่ไม่ว่าใครที่ได้ลิ้มลองเป็นอันวางไม่ลง
ทุเรียน GI สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) คือทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยงระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ หมายถึง ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา
ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งอาจหมายถึง คุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้น ๆ
โดยในประเทศไทยมี “ทุเรียน” ที่ได้ขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อยู่ด้วยกันทั้งหมด 7 แห่ง คือ ทุเรียนนนท์ ทุเรียนป่าละอู ทุเรียนปราจีน ทุเรียนหลงลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียนหลินลับแลอุตรดิตถ์ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และทุเรียนสาลิกาพังงา
ทุเรียนปราจีนนับได้ว่าเป็นทุเรียนคุณภาพ มีชื่อเสียง การันตีคุณภาพด้วยมาตรฐาน Good Agricultural Practices (GAP) และ Geographical Indication (GI) ในชื่อ “ทุเรียนปราจีน” มีลักษณะเด่น คือ เปลือกผลบาง สีน้ำตาล หนามถี่ เนื้อสีเหลือง ละเอียด แห้ง รสชาติหวานมัน ผสมผสานกับภูมิปัญญาที่มีมาช้านานของเกษตรกรชาวสวนจังหวัดปราจีนบุรี จึงเป็นเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัวของทุเรียนปราจีน โดยการดูแลสวนของเกษตรกร มีความประณีตในทุกขั้นตอนการผลิต การจดบันทึกนับอายุผลหลังดอกทุเรียนบาน เพื่อกำหนดอายุการเก็บเกี่ยวร่วมกับการเคาะและตัดทีละผล เน้นที่คุณภาพเป็นสำคัญ ปัจจุบัน ทุเรียนปราจีนมีพื้นที่เพาะปลูก จำนวน 3,203 ไร่ เนื้อที่ให้ผลผลิต จำนวน 2,226 ไร่ ผลผลิตรวม จำนวน 1,609 ตัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 723 กิโลกรัม มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนทุเรียน (GI) จำนวน 125 ราย มูลค่าการจำหน่ายราคาเฉลี่ย 120-400 บาท/กิโลกรัม (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์) ประมาณการมูลค่า 50 ล้านบาท/ปี
‘ทุเรียน’ ขึ้นชื่อว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ไทย (King of Fruit) และเป็นผลไม้เศรษฐกิจหลักที่ยังเติบโตได้มากขึ้นจากการบุกตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีน ที่ตอนนี้ยังมี Demand ในการนำเข้าทุเรียนจากไทยสูงอยู่ทุกปี จนกลายเป็นตลาดนำเข้าทุเรียนจากประเทศไทยที่ใหญ่ที่สุด อ้างอิงได้จากในปี 2563 เกษตรกรสามารถรายได้เข้าไทยกว่า 6.9 หมื่นล้านบาทจากการส่งออกทุเรียน และดูจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกปี
แน่นอนว่า เมื่อเทรนด์การส่งออกยังดีแบบนี้ หลายคนคงอยากจะหันมาศึกษาวิธีการปลูกและดูแลทุเรียนกันมากขึ้น แต่การดูแลทุเรียนปลูกใหม่ไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถ้าหากอยากทำให้ได้ผลผลิตดีมีมาตรฐานก็ต้องศึกษาและเริ่มต้นดูแลกันตั้งแต่การเลือกพื้นที่การปลูก การดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังเก็บเกี่ยว เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ
รวม 4 ขั้นตอนการดูแลทุเรียนปลูกใหม่ยังไงให้รอด
มีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนไม่น้อยที่ต้นตายลงก่อนได้เก็บเกี่ยวผลผลิต โดยเฉพาะในช่วง 1-3 ปีแรกที่ต้องลงทุนซื้อกล้าพันธุ์มาปลูกกันหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งสาเหตุที่ต้นทุเรียนปลูกใหม่ตายเกิดจากความไม่เข้าใจในธรรมชาติของทุเรียน การดูแลทุเรียนอย่างผิดธรรมชาติอาจทำให้ทุเรียนอ่อนแอเมื่อเกิดปัญหา
แต่สำหรับใครที่อยากเริ่มทำสวนทุเรียน อยากจะเริ่มต้นศึกษาว่า จะปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตตามมาตรฐาน และรอดพ้นจนถึงขั้นเก็บเกี่ยวได้ วันนี้ลองมาดูกันว่า 4 ขั้นตอนการดูแลทุเรียนที่ช่วยเพิ่มโอกาสทำให้ต้นยิ่งเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรงจะมีอะไรบ้างที่เกษตรกรมือใหม่ควรรู้ ตามไปดูพร้อมๆ กันเลย
1. วิธีเตรียมกิ่งพันธุ์ทุเรียน
ในขั้นแรกจะเป็นการเริ่มต้นเตรียมกิ่งพันธุ์ทุเรียนที่แข็งแรงพอจะนำมาปลูกใหม่ โดยควรที่จะเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีอายุ 12-14 เดือน ความสูงจากก้นถุง 70-150 เซนติเมตร และไม่ควรเป็นกิ่งที่แก่จนเกินไปเพราะจะทำให้รากขด รากไม่เดิน และมีการเจริญเติบโตที่ช้าจนถึงขั้นตายได้
2. เรียนรู้วิธีการปลูกเบื้องต้น
ปกติแล้วการปลูกทุเรียนใหม่จะแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ การปลูกแบบขุดหลุมซึ่งเหมาะกับพื้นที่แล้ง และปลูกแบบยกโคนเหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุกมีน้ำขัง ให้เลือกลักษณะการปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่ หลังจากนั้นให้ปลูกต้นทุเรียนให้อยู่ในระยะที่เหมาะสม นั่นคือ 8×8 เมตร โดย 1 ไร่จะสามารถปลูกต้นทุเรียนใหม่ได้ 20 ต้น โดยขุดหลุมกว้าง 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร เตรียมไว้รอสำหรับลงต้นกล้า
ส่วนวิธีการปลูกก็ต้องเริ่มจากการกรีดก้นถุงชำออก แล้ววางถุงชำลงไปในหลุมที่เตรียมไว้ หลังจากนั้นให้กรีดด้านข้างถุงชำแล้วค่อยๆ ดึงถุงชำออกอย่างระมัดระวังอย่าให้ดินรอบๆ แตก และเสริมความแข็งแรงด้วยชีวภัณฑ์ที่ช่วยในการแผ่เส้นใยของราก ช่วยดูดธาตุอาหารเข้าสู่รากพืชได้ง่าย ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี แล้วให้กลบด้วยดิน โดยกะปริมาณของดินให้ต่ำกว่ารอยเสียบยอดหรือรอยทาบที่มีอยู่ รดน้ำตามปกติ
3. วิธีดูแลทุเรียนปลูกใหม่ให้เติบโตดี
หลังจากที่ปลูกทุเรียนแล้ว เรื่องที่เกษตรกรต้องดูแลทุเรียนใหม่หลักๆ จะมีทั้งหมด 4 เรื่องด้วยกัน คือ • การรดน้ำ
ในช่วง 1-2สัปดาห์แรกควรให้น้ำต้นทุเรียนอย่างสม่ำเสมอ โดยควรจะรดน้ำประมาณ 2-3ครั้ง/สัปดาห์ หรือเปิดสปริงเกอร์ให้ครั้งละ 30นาที และไม่ควรรดน้ำทุกวันเพราะอาจเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรครากเน่าได้ ส่วนการรดน้ำในช่วงฤดูกาลต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน
โดยในช่วงที่ฝนชุกแนะนำให้จัดทำร่องระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำขังจนรากเน่า และหลังจากฝนหยุดตกไม่เกิน 1เดือน ควรจะตัดหญ้าคลุมโคนต้นเอาไว้ หรืออาจจะใช้ฟางข้าวคลุมแทนเพื่อรักษาความชื้นรอบต้น รอรับอากาศที่ทั้งแห้งและร้อนในฤดูต่อๆ ไป สำหรับในหน้าแล้งที่ต้นทุเรียนใหม่มักจะทนอากาศร้อนไม่ไหว แนะนำให้หาวัสดุคลุมดินเพื่อควบคุมความชื้นและอาจปรับเปลี่ยนการให้น้ำเป็นวันเว้นวัน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดภาวะขาดน้ำหรือเกิดดินแห้งมากเกินไป และทำให้ต้นทุเรียนตายได้
•การบังร่ม
ปกติแล้วทุเรียนเป็นพืชที่ไม่ชอบพื้นที่โล่งแจ้ง ดังนั้นจึงควรทำสแลนเพื่อกันแดด หรือปลูกร่มไม้ที่ช่วยทั้งบังแดดและให้ความชื้นแก่ต้นทุเรียนอย่างกล้วยหอม หรือกล้วยไข่ เพราะเป็นพืชที่ปลูกง่าย โตเร็ว ให้ร่มเงาเร็วที่สุดและเป็นพืชชั่วคราวที่สามารถโค่นล้มเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกได้ตลอดเวลา
หรือสำหรับใครที่มีสวนแบบยกร่อง ต้องการต้นไม้ที่ปลูกได้แบบถาวร แนะนำให้เลือกปลูกเป็นต้นทองหลางสลับระหว่างต้นทุเรียน เพราะต้นทองหลางจะช่วยให้ความชื้นในอากาศมากขึ้น ทำให้ทุเรียนไม่ชะงักการเจริญเติบโต รวมถึงนำใบที่ร่วงมาถมโคนทุเรียนเป็นอินทรียวัตถุต่อไปได้อีกด้วย
•การใส่ปุ๋ย
ในช่วงปีแรก ให้แบ่งใส่ปุ๋ย 4ครั้ง (เดือนเว้นเดือน) หลังจากนั้นทุกๆ 3-6เดือน ให้ใส่ปุ๋ยคอก โดยนำมาโรยไว้รอบๆ โคนต้น ส่วนปุ๋ยเคมีอาจใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ แต่หากใส่ ไม่จำเป็นต้องใส่มาก และต้องใส่ให้ห่างจากโคนต้นอย่าใส่แบบกองเป็นจุดเด็ดขาด รวมถึงใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภัณฑ์ที่ช่วยในการบำรุงดิน ที่ช่วยส่งเสริมระบบราก ช่วยเสริมความแข็งแรงให้พืช และให้เพิ่มอาหารรองและธาตุอาหารเสริมได้
นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความต้องการธาตุอาหารของทุเรียนในแต่ระยะให้ดีด้วย เช่น ในระยะการเจริญทางกิ่งใบทุเรียนต้องการไนโตรเจนมาก ส่วนในช่วงก่อนออกดอกเป็นช่วงที่ต้องทำให้ทุเรียนหยุดการเจริญเติบโตทางกิ่งใบเพื่อเตรียมออกดอก ดังนั้นปุ๋ยที่จะใช้จึงต้องมีไนโตรเจนลดลง และเพิ่มปุ๋ยฟอสเฟตและโปแตสเซียมสูงให้มากขึ้น เป็นต้น
•การกำจัดโรคและศัตรูพืช
เรื่องโรคและศัตรูพืชถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ต้นทุเรียนใหม่ตายมากที่สุด เพราะทุเรียนเล็กอ่อนไหวต่อปัจจัยสิ่งแวดล้อมมาก ดังนั้น จึงควรหาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันโรคและแมลงได้ดี แต่ไม่ควรใช้สารเคมีในการกำจัด เพราะจะทำให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมถึงพืชและแมลงมีประโยชน์ชนิดอื่นตายลงได้
โดยแนะนำให้ใช้เป็นชีวภัณฑ์ ที่ช่วยป้องกันกำจัดเชื้อรา ป้องกันและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้แบบปลอดภัย ไร้สารเคมีแบบ 100%
4. รู้และเข้าใจวิธีการเก็บเกี่ยว
หลังจากปลูกมาได้จนถึงระยะเก็บเกี่ยวแล้ว ให้ทำการตัดเหนือปลิงของก้านผลทุเรียนด้วยที่มีดคมและสะอาด หลังจากนั้นใช้เชือกโรย หรือใช้กระสอบป่านรับผลจากด้านบน โดยอย่าให้ผลตกกระทบพื้น และห้ามวางผลทุเรียนบนพื้นดินในสวนโดยตรง เพื่อป้องกันเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผลเน่าติดไปกับผลทุเรียนได้
5. วิธีดูแลทุเรียนหลังเก็บเกี่ยวให้ได้คุณภาพ
หลังจากเก็บเกี่ยวแล้วให้รีบตัดแต่งกิ่งที่มีปัญหา เช่น กิ่งแห้ง กิ่งเป็นโรค กิ่งแขนง ด้านในทรงพุ่มออกโดยเร็ว หลังจากนั้นให้ทารอยแผลที่ตัดด้วยสารป้องกันและกำจัดเชื้อรา หรือปูนแดงกินกับหมาก ส่วนดินก็ให้กำจัดวัชพืชทำความสะอาดท้องร่อง สาดเลน เพื่อเป็นปุ๋ยทางธรรมชาติให้แก่ทุเรียนต่อไป
ประวัติความเป็นมา
ทุเรียน เป็นไม้ผลที่มีแหล่งดั้งเดิมในคาบสมุทรมลายู ก่อนจะกระจายพันธุ์ไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยคาดว่า ได้รับสายพันธุ์ทุเรียนมาจากประเทศมาเลเซีย โดยเริ่มปลูกครั้งแรกในพื้นที่ภาคใต้ก่อน จากนั้นจึงค่อยนำมาปลูกในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จังหวัดนนทบุรี นครนายก ปราจีนบุรี ก่อนจะขยายไปทั่วประเทศในเวลาต่อมา
ในอดีตไทยปลูกทุเรียนพื้นบ้านหลายร้อยสายพันธุ์ โดยนำมาปลูกเชิงการค้า ประมาณ 60-80 พันธุ์ เท่านั้น ในปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านซึ่งเป็นสายพันธุ์โบราณเหล่านั้นปลูกน้อยลง และหายาก บางสายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรเปลี่ยนมาปลูกพันธุ์เชิงการค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง รองลงมาคือ ทุเรียนพันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุม และพันธุ์อื่น ๆ
ทุเรียนสายพันธุ์โบราณโดดเด่นเรื่องความทนทานโรค-แมลง และการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อม เพราะถูกทดสอบและคัดเลือกพันธุ์มาจากเกษตรกรเจ้าของสวนทุเรียนในอดีต ช่วงที่นักวิชาการไปเก็บรวบรวมพันธุ์ทุเรียนโบราณจากแหล่งผลิตที่มีอายุการปลูก 40-50 ปี ขณะที่บางสวนมีทุเรียนต้นพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก 100-200 ปี
ปราจีนบุรี ดินแดนเมืองเก่าที่มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เป็นชุมชนที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14 ประกอบด้วยอาคารศิลาแลงล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว เรียกว่า อโรคยาศาลา ทั้งยังพบรอยพระพุทธบาทคู่และสระมรกตเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในสมัยทวารวดี ซึ่งน้ำในสระมรกตเป็นน้ำบริสุทธิ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกส่งไปทั่วแผ่นดินเมืองปราจีนบุรี ด้วยสายน้ำใต้ดินที่เรียกว่า “สายน้ำอโรคยา” ทำให้เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำลำธารที่บริสุทธิ์ ผนวกกับปราจีนบุรีได้รับอิทธิพลความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า “ดงพญาเย็น” ดินแดนมรดกโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ด้วยอิทธิพลของน้ำบริสุทธิ์ และเนื้อดินเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินตะกอนลำน้ำปะปนด้วยดินลูกรังเก่า รวมทั้งชั้นหินศิลาแลงและดินภูเขาไฟที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน ทำให้บริเวณนี้เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่หลายคนบอกว่า “ทุเรียนของที่นี่รสชาติดี”
ปัจจุบันแหล่งปลูกทุเรียนปราจีนบุรีกระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอนาดี ที่มีสภาพดินเหมาะสมสำหรับเพาะปลูกทุเรียน สภาพดินชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์เหมาะสมพอดีกัน
อัตลักษณ์ของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม
ปราจีนบุรี ดินแดนเมืองเก่าที่มีเรื่องเล่าขานสืบต่อกันมาว่า เป็นชุมชนที่มีอารยธรรมเจริญรุ่งเรืองในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14 ประกอบด้วยอาคารศิลาแลงล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว เรียกว่า อโรคยาศาลา ทั้งยังพบรอยพระพุทธบาทคู่และสระมรกตเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในสมัยทวารวดี ซึ่งน้ำในสระมรกตเป็นน้ำบริสุทธิ์อันศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกส่งไปทั่วแผ่นดินเมืองปราจีนบุรี ด้วยสายน้ำใต้ดินที่เรียกว่า “สายน้ำอโรคยา” ทำให้เป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำลำธารที่บริสุทธิ์ ผนวกกับปราจีนบุรีได้รับอิทธิพลความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่า “ดงพญาเย็น” ดินแดนมรดกโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ด้วยอิทธิพลของน้ำบริสุทธิ์และเนื้อดินเกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินตะกอนลำน้ำปะปนด้วยดินลูกรังเก่า รวมทั้งชั้นหินศิลาแลงและดินภูเขาไฟที่น้ำทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน ทำให้บริเวณนี้เหมาะแก่การเพาะปลูก และเป็นอีกหนึ่งแหล่งที่หลายคนบอกว่า “ทุเรียนของที่นี่รสชาติดี”ช่วงปลายเดือนเมษายนเกือบทุกสวนในจังหวัดปราจีนบุรี ก็จะมีทุเรียนที่ชาวสวนได้เฝ้าดูแล ฝ่า ร้อน แล้ง พายุ ลม ฝน มาให้ท่านได้ลองลิ้มชิมรสชาติกันเพียงปีละครั้งแม้จะเข้าสู่หน้าร้อน ที่เต็มความร้อนและแสงแดดอันแสนเจิดจ้าของประเทศไทย แต่ฤดูร้อน ก็ยังนำมาซึ่งความอร่อยของ “สารพันผลไม้เมืองร้อน” ที่หลายคนเฝ้ารอ และสุดยอดแห่งผลไม้ไทย ราชาแห่งผลไม้ ก็ต้องเป็น “ทุเรียน” ที่มีอยู่มากในภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นจันทบุรี ระยอง ตราด ปราจีนบุรี ที่นับเป็นน้องน้อยของภูมิภาค เมื่อเทียบจำนวนปริมาณของผลผลิตและพื้นที่ปลูก แถมส่วนใหญ่ยังเป็นแบบชาวสวนรายย่อย กับพื้นที่ไม่กี่ไร่ ที่ชาวสวนประคบประหงมดูแลกันเอง แต่รสชาติเด่นไม่แพ้ใคร
จังหวัดปราจีนบุรีมีผลผลิตที่เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ได้แก่ ทุเรียนปราจีน ซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้น
ชื่อและโดดเด่นของจังหวัดปราจีนบุรี มี 7สายพันธุ์ คือ พันธุ์การค้า ได้แก่ ก้านยาว หมอนทอง ชะนี กระดุมทองและพันธุ์พื้นเมือง ได้แก่ กบชายน้ำ ชมพูศรี และกำปั่น เขตการเพาะปลูกอยู่ใน 5อำเภอ ได้แก่ 1) เมืองปราจีนบุรี 2) กบินทร์บุรี 3) ประจันตคาม 4) ศรีมหาโพธิ 5) นาดี โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศรับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เมื่อวันที่ 27ธันวาคม 2559
ทุเรียนปราจีน จ.ปราจีนบุรี เป็นการนำทุเรียนพันธุ์ก้านยาว พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี พันธุ์กระดุมทอง และพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ (กบชายน้ำ ชมพูศรี กำปั่น) มาปลูกในพื้นที่อำเภอเมืองปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ์ และอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี จึงได้ทุเรียนที่มีเนื้อสีเหลือง แห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน เปลือกผลบาง ผิวเปลือกสีน้ าตาลถึงน้ าตาลเข้ม หนามถี่ สภาพดินเหมาะแก่การเพาะปลูก เพราะชั้นบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินชั้นล่างเป็นหินผุและศิลาแลง ทำให้การระบายน้ำสะดวก น้ำไม่ขังในเนื้อดิน การกระจายตัวของธาตุอาหารทั่วถึง ลักษณะภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ เหมาะสมพอดีกัน