ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 9' 20.0002"
15.1555556
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 27' 11.9999"
98.4533333
เลขที่ : 197968
ประเพณีฟาดข้าวบ้านเวียคะดี้
เสนอโดย กาญจนบุรี วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย กาญจนบุรี วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : กาญจนบุรี
0 609
รายละเอียด

ช่วงเดือนพฤศจิกายน เป็นช่วงฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยวของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงบ้านเวียคะดี้
ในตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่มีวิถีชีวิตผูกพันกับการทำนาทำไร่มานานนับร้อยปี โดยอาศัยน้ำจากน้ำฝนในช่วงฤดูฝนเป็นหลัก
พอหมดฝนก็เตรียมเก็บเกี่ยวผลผลิตจากท้องไร่ท้องนา พอเกี่ยวข้าวเสร็จจะมีการจับข้าวที่เกี่ยวมัดกับตอกเป็นกำ ๆ แล้ววางตากไว้ในนาข้าวที่เกี่ยวข้าวไปแล้ว และค่อยรวบรวมเก็บมากองเป็นจุดเดียวกัน
ปล่อยตากแดด 1 - 2วัน แล้วค่อยทำการฟาดข้าวในช่วงเวลากลางคืนเพื่อจะได้ไม่ร้อนชาวกะเหรี่ยงจะทำแคร่
ยกพื้นขึ้นมาด้วยไม้ไผ่เพื่อง่ายต่อการยืนฟาดข้าวได้
โดยจะรองพื้นด้วยผ้าหรือมุ้งไนล่อนสีฟ้าเพื่อเก็บเม็ดข้าวเปลือก
ที่ถูกฟาดบนแคร่ แล้วจะทำการเก็บเศษฟางที่มาจากการฟาดในแต่ละครั้ง เมื่อฟาดข้าวจนหมดแล้ว จึงเก็บข้าวใส่ถุงปุ๋ยกลับไปเก็บในยุ้งฉางที่บ้าน เมื่อต้องการกินก็นำไปตากแดดก่อนแล้วนำไปตำหรือไปสีส่วนหนึ่งจะนำไปทำบุญ
ข้าวใหม่ให้กับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน รวมทั้งการหุงข้าวใหม่เพื่อใส่บาตรพระสงฆ์

โดยการจัดประเพณีฟาดข้าวจะเริ่มงานในเวลาตอนเย็น จะมีการยกเสาไม้ไผ่ที่ห้อยพันธุ์เมล็ดข้าวที่ไว้สำหรับเป็นพันธุ์ที่จะทำการเพาะปลูกในปีถัดไปห้อยลงตรงกับแคร่ในลานฟาดข้าว จากนั้นจะมีพิธีสงฆ์
มีการอาราธนาศีล อาราธนาธรรม และการเจริญพระพุทธมนต์เย็นจากคณะสงฆ์ หลังจากนั้น เจ้าของไร่จุดเทียน
ไหว้พระแม่โพสพที่ต้นเสาไม้ไผ่ที่ห้อยเมล็ดพันธุ์ข้าวและจุดเทียน 3 เล่มบนแคร่ ก่อนจะทำการฟาดข้าวลงไป
พร้อมทั้งกล่าวคำอธิษฐาน จนครบ 3 รอบ จากนั้นก็เริ่มมีการเชิญชวนให้ผู้มาร่วมงานได้มาฟาดข้าวโดยจะมีการแบ่งเป็น2 ฝ่าย ตัวแทนฝ่ายชายและตัวแทนฝ่ายหญิง โดยมีครูเพลงทั้ง 2 ฝ่าย เป็นต้นเสียงให้กับผู้มาร่วมฟาดข้าว
ในลานฟาดข้าว โดยจะเริ่มที่ฝ่ายหญิงก่อนเป็นฝั่งเปิดงานการฟาดข้าว
เมื่อต้นเสียงเพลงมา คนที่ร้องตามก็จะถือรวงข้าวกันคนละมัด2 มัด เดินร้องเพลงตามต้นเสียงครูเพลง แล้วเข้าไปล้อมที่แคร่ฟาดข้าว ร้องเพลงด้วย ฟาดข้าวด้วย และหมุนวนไปจนรอบแคร่จากนั้นครูเพลงฝ่ายชายก็จะขึ้นเพลงแก้ให้ลูกทีม ร้องเป็นต้นเสียงพร้อมกับถือรวงข้าวมาที่แคร่พร้อมฟาดข้าวลงไป และหมุนตามแคร่ จนเม็ดข้าวร่วงหมด สลับเวียนกันไปเรื่อยๆ ระหว่างฝั่งชายกับหญิง
จนหมด ก็ถือว่าเสร็จพิธีเก็บกวาดเศษฟางให้สะอาดขึ้น แล้วหาผ้าใบมาปิดไว้ ก่อนที่เปิดลานการละเล่นสำหรับทำกิจกรรม

ประเพณีฟาดข้าว เป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณของชาวกะเหรี่ยง ในอำเภอสังขละบุรีปัจจุบันวิถีชีวิตคนในชุมชนได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมและยุคสมัย แต่คนในชุมชนบ้านเวียคะดี้ยังคงอนุรักษ์
สืบสานประเพณีฟาดข้าวให้คงอยู่คู่กับชุมชนและสืบทอดต่อคนรุ่นหลัง มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัย
ชาวกะเหรี่ยงบ้านเวียคะดี้ จะมีการจัดงานประเพณีฟาดข้าวในหมู่บ้าน โดยคณะกรรมการหมู่บ้านจะคัดเลือกไร่นา
ที่เหมาะสมจัดกิจกรรมหมุนเวียนกันไปในหมู่บ้าน มีการจัด
โรงทานเป็นอาหารพื้นถิ่นของชาวกะเหรี่ยงไว้ให้กับ
ผู้มาร่วมงานได้รับประทาน สำหรับการจัดงานประเพณีฟาดข้าวทุก ๆ ปี เป็นการสืบสานประเพณีการใช้ชีวิตที่
อิงอาศัยกับป่า สำนึกในคุณของธรรมชาติ สำนึกในพระคุณของแม่โพสพที่ช่วยดูแลต้นข้าวให้ชาวกะเหรี่ยง และถือเป็นการเอาแรงช่วยกันอีกทั้งมีการละเล่นที่เพิ่มเติมเข้ามาสร้างสีสันให้งานอีกด้วย เช่นการปีนเสาน้ำมัน มวยปล้ำบันไดลิง

งานประเพณีฟาดข้าวบ้านเวียคะดี้จะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ในแต่ละปีจะจัดสลับสับเปลี่ยนสถานที่จัดงานหมุนเวียนไปในที่ไร่นาของชาวบ้านในหมู่บ้านเวียคะดี้แต่ยังคงอนุรักษ์การทำพิธีกรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้

สถานที่ตั้ง
บ้านเวียคะดี้
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล หนองลู อำเภอ สังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านเวียคะดี้
บุคคลอ้างอิง นายพุทธชาย หลวงวิเศษ
หมู่ที่/หมู่บ้าน 5
ตำบล หนองลู อำเภอ สังขละบุรี จังหวัด กาญจนบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่