ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 41' 29.6938"
17.6915816
ลองจิจูด (แวง) : E 98° 59' 3.4454"
98.9842904
เลขที่ : 197977
ตักบาตรผักชุมชนกะเหรี่ยงห้วยต้ม (ชุมชนคุณธรรมวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม)
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 4 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 4 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : ลำพูน
0 214
รายละเอียด

เมื่อประมาณปี พ.ศ.2506 ชุมชนพระบาทห้วยต้ม มีลักษณะเป็นอาศรมตั้งอยู่กลางป่า โดยมี ครูบาชัยยะวงศาพัฒนาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ครูบาวงศ์” จำพรรษาอยู่ที่แห่งนี้ ท่านได้เคยเดินทางจาริกธุดงค์ไปตามหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ แถวจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ทำให้เป็นที่รู้จักและได้รับความเคารพนับถือเลื่อมใสศรัทธาจากชาวเขาเป็นอย่างมาก ต่อมา พ.ศ.2513 ชาวกะเหรี่ยงได้โยกย้ายกันมาเนื่องจากการไปมาติดต่อลำบากจะทำบุญกับครูบาวงศ์ต่อครั้งก็สิ้นเปลืองเงินทองและเสียเวลามาก ชาวกะเหรี่ยงจากตำบลแม่ตื่น อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตากจึงได้พากันอพยพเข้ามาอยู่อาศัยใกล้อารามพระบาทห้วยต้ม จำนวน 13ครอบครัว 65คน โดยตั้งใจว่าจะมาอยู่ใกล้ครูบาวงศ์ เพื่อจะได้มาทำบุญและถือศีลปฏิบัติธรรม หลังจากนั้นเป็นต้นมาก็ได้มีชาวกะเหรี่ยงอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนใหญ่มาจากจังหวัดตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน จนชุมชนพระบาทห้วยต้มกลายเป็นหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงที่เคร่งครัดในการถือศีล ปฏิบัติมังสวิรัติ และเคารพบูชาครูบาวงศ์เป็นอย่างมาก จนเปรียบเหมือนศูนย์รวมจิตใจของชาวกะเหรี่ยง บ้านพระบาทห้วยต้ม ครูบาวงศ์ได้สอนให้ชาวบ้านในชุมชนกะเหรี่ยงไม่ฉันอาหารจำพวกเนื้อสัตว์สอนให้พระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านเห็นว่า การฉันหรือกินเนื้อสัตว์ ถือเป็นการเบียดเบียนชีวิตและสร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น อาหารประเภทอื่นมีมากมายที่ทำให้คนเราสามารถเจริญเติบโตได้ โดยกิจกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติของคนในชุมชนพระบาทห้วยต้มตามคำสอนของครูบาวงศ์เกี่ยวกับการรับประทานอาหารมังสวิรัติที่ชัดเจนและปฏิบัติอย่างสืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน

การตักบาตรผักจะเกิดขึ้นหลังจากทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าเรียบร้อยแล้ว ตอนสายชาวบ้านจะเริ่มนำ ผัก ผลไม้สด มาถวายที่วัด เริ่มจากการใส่ขันดอกไม้ธูปเทียนก่อน แล้วจึงตามด้วยผัก ผลไม้ ทั้งนี้สามารถนำน้ำ และขนมมาถวายได้ มีการใส่ขันเงิน คือ การนำเหรียญบาท
ห้าบาท สิบบาทหรือธนบัตร ใส่ในบาตรหรือขันพาน และเมื่อได้เวลาอันสมควรชาวบ้านนำโดยผู้ชายจะนำผัก ผลไม้ที่ชาวบ้านใส่ไว้ในภาชนะนำมาวางเรียงไว้หน้าพระสงฆ์ การตักบาตรผักแต่ละครั้งต้องมีการขอขมา หรือเรียกว่าสูมาครัวทาน เพื่อทำวัตถุทานให้มี ความบริสุทธิ์ เมื่อถวายแล้วจะทำให้ได้บุญมาก มีความเชื่อว่าถ้าไม่ขอขมาวัตถุทานอาจไม่บริสุทธิ์เนื่องจากการกระทำ การพูด และความคิดไม่ดีในขณะประกอบพิธีซึ่งอาจส่งผลต่อผลของทานได้ทำให้ได้รับอานิสงส์น้อย จากนั้นพระสงฆ์จะสวดมนต์และเทศนาธรรม ส่วนในช่วงเย็นจะมีการเวียนเทียนกันที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และพุทธสถานเจดีย์ศรีเวียงชัย โดยชาวบ้านชุมชนพระบาทห้วยต้มจะถอดรองเท้าไว้หน้าวัดทุกครั้งที่ไปทำบุญ เพราะเชื่อว่าวัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จะไม่เหยียบย้ำเงาพระธาตุเจดีย์และเงาของพระสงฆ์ อันเป็นการแสดงความไม่เคารพเชื่อว่าเป็นการลบหลู่ ทำให้เป็นบาปกรรม ชาวบ้านกะเหรี่ยงจะทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน โดยในวันพระชาวบ้านส่วนใหญ่จะหยุดทำงานและพากันมาทำบุญที่วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม และพุทธสถานเจดีย์ศรีเวียงชัยมากกว่าปกติเพื่อร่วมกันตักบาตรผัก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นไม่เหมือนที่อื่น

สถานที่ตั้ง
ตำบล นาทราย อำเภอ ลี้ จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 0 5351 0243 โทรสาร 0 5351 0244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่