ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 35' 16.9652"
12.5880459
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 4' 44.8572"
102.0791270
เลขที่ : 197985
ขนมติดคอ
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : จันทบุรี
0 437
รายละเอียด

ขนมติดคอเป็นขนมโบราณที่มีชื่อแปลก เล่ากันว่าชาวหนองบัวนิยมทำขนมติดคอไว้ให้ลูกหลานได้รับประทานก่อนที่ผู้ใหญ่จะออกไปทำสวน ทำนา โดยใช้วัตถุดิบง่ายๆ ไม่กี่อย่าง และเพิ่มรสชาติด้วยวัตถุดิบที่มีในพื้นที่นั่นคือน้ำตาลอ้อยหนองบัว ลักษณะของขนมติดคอนั้นมีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ขนาดพอดีคำ มีความเหนียวนุ่ม เมื่อทำเสร็จจะนำไปใส่ไว้ในกระถางดินเคลือบ (มีลักษณะคล้ายโอ่ง) เมื่อรับประทานจะรู้สึกฝืดคอ จึงบอกกล่าวลูกหลานว่า “กินดี ๆ นะ ระวังติดคอ” หลังจากนั้นเมื่อเด็ก ๆ อยากรับประทานขนมชนิดนี้ก็จะเรียกว่า “ขนมติดคอ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ส่วนผสมของขนมติดคอ

๑. แป้งข้าวเหนียวดำ ๑/๒ กิโลกรัม

๒. น้ำตาลอ้อยหนองบัว ๑/๒ ถ้วย

๓. ถั่วลิสงบุบ ๑/๒ ถ้วย

๔. น้ำสะอาด

ขั้นตอนและวิธีการทำ

๑. นำแป้งข้าวเหนียวดำผสมกับน้ำสะอาด นวดให้แป้งเป็นเนื้อเดียวกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนได้

๒. ปั้นแป้งเป็นก้อนกลม ขนาดเท่าลูกแก้ว แล้วกดให้แบน ความหนาประมาณ ๑/๒ เซนติเมตร

๓. นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟ จนน้ำเดือด

๔. ใส่แป้งที่ปั้นไว้แล้วจนแป้งสุก (แป้งจะลอยขึ้นมาเอง) เมื่อแป้งลอยขึ้นมาให้สังเกตว่าแป้งพองตัวจึงตักขึ้นมาพักไว้ให้ขนมเย็น

๕. ร่อนน้ำตาลอ้อยเลือกเฉพาะส่วนที่ละเอียด และนำไปผสมกับถั่วลิสงบุบ

๖. เมื่อรับประทานให้โรยด้วยน้ำตาลอ้อยและถั่วลิสงบุบ

สถานที่ตั้ง
สภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง คุณยายมะลิ เคลือบแก้ว อีเมล์ watanatam.chan@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
เลขที่ 42 หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล หนองบัว อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่