ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 35' 16.9652"
12.5880459
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 4' 44.8572"
102.0791270
เลขที่ : 197991
หมึกฮิบ
เสนอโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
อนุมัติโดย จันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2566
จังหวัด : จันทบุรี
0 468
รายละเอียด

หมึกฮิบ(ฮิบ/หีบ หมายถึง การทำให้หวาน โดยการเคี่ยวน้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อยจนแห้ง) เป็นอาหารพื้นบ้านของจังหวัดจันทบุรี พบมากในอำเภอแหลมสิงห์และอำเภอขลุง เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ติดทะเลชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง ครั้นเวลาได้หมึกมาเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงต้องคิดหาวิธีการเก็บรักษาหมึก เพราะเมื่อนำหมึกขึ้นมาจากทะเลแล้วจะสามารถเก็บรักษาได้ยาก และเมื่อหมึกโดนน้ำจืดจะทำให้หมึกนั้นเปลี่ยนสีจากสีขาวใสเป็นสีแดงและหนังของหมึกจะลอก ลักษณะนี้แสดงให้เห็นว่าหมึกนั้นเริ่มจะเน่าชาวบ้านจึงนำมาถนอมอาหารด้วยวิธีการฮิบ เพื่อให้เก็บรักษาไว้ได้นาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านในจังหวัดจันทบุรี หมึกฮิบจะมีรสชาติหวานตัดกับรสชาติเค็มเล็กน้อย และเมื่อนำหมึกฮิบมาอุ่นมากเท่าไรก็จะยิ่งทำให้น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อยซึมเข้าตัวหมึกมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้หมึกฮิบมีรสชาติที่อร่อยมากยิ่งขึ้น

เครื่องปรุง/ส่วนผสม สำหรับทำหมึกฮิบ

๑. หมึกหลอด/หมึกกล้วย ขนาด ๕-๖ นิ้ว ๕๐๐ กรัม

๒. น้ำตาลทรายแดง/น้ำอ้อย ๒๐๐ กรัม

๓. เกลือ ๑ ช้อนชา

๔. น้ำเปล่า ๑ ถ้วยตวง

ขั้นตอนการทำ

๑. นำหมึกสดมาล้างทำความสะอาด โดยการผ่าหน้าอกของหมึก และนำขี้ของหมึกออก (อย่าให้ขี้หมึกแตก)

๒. นำหมึกสด น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำอ้อย เกลือ และน้ำเปล่า ใส่ลงในหม้อต้มด้วยไฟกลาง

๓. เมื่อเริ่มเดือดให้ใช้วิธีการยกหม้อวนไปมา เพื่อไม่ให้น้ำตาลไหม้ และป้องกันไม่ให้หนังหมึกถลก

๔. เคี่ยวจนน้ำตาลเริ่มงวด และเหนียว ปิดไฟ ตักใส่จาน

สถานที่ตั้ง
สภาวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรี
ตำบล วัดใหม่ อำเภอ เมืองจันทบุรี จังหวัด จันทบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายจีรประทีป ทองเปรม อีเมล์ watanatam.chan@gmail.com
ตำบล ปากน้ำแหลมสิงห์ อำเภอ แหลมสิงห์ จังหวัด จันทบุรี
โทรศัพท์ ๐๙-๙๙๖๑-๙๐๙๒
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่