ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 44' 54.2245"
13.7483957
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 18' 27.7034"
102.3076954
เลขที่ : 198018
ข้าวหลามบ้านพร้าว วัฒนานคร “๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น”
เสนอโดย สระแก้ว วันที่ 3 สิงหาคม 2566
อนุมัติโดย สระแก้ว วันที่ 3 สิงหาคม 2566
จังหวัด : สระแก้ว
0 546
รายละเอียด

ข้าวหลามบ้านพร้าว วัฒนานคร “๑ จังหวัด ๑ เมนู เชิดชูอาหารถิ่น”

ประวัติความเป็นมา :คนในชุมชนบ้านพร้าว หมู่ที่ ๑ ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว แต่เดิมนั้นประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ต่อมาในปัจจุบันได้มีการเผาข้าวหลามขายเป็นอาชีพเสริม แต่บางครัวเรือนยึดอาชีพการทำข้าวหลามขายเป็นหลัก ซึ่งจากการสอบถามนางสาวนิภิสรา งาเครือ หรือเจ้แมว เล่าว่า ชุมชนบ้านพร้าวน่าจะเผาข้าวหลามขายมาไม่น้อยกว่า ๗๐ ปี เพราะเจ้แมวเห็นแม่ทำข้าวหลามขายมาตั้งแต่เด็ก และแม่เจ้แมวเคยเล่าว่าข้าวหลามที่ขายนั้นทำมาตั้งแต่รุ่นยาย ซึ่งหากนับอายุสืบทอดกันมาจึงน่าจะมากกว่า ๗๐ ปีแน่นอน โดยจุดเริ่มต้นของข้าวหลามบ้านพร้าวนั้น เกิดจากเมื่อสมัยที่ประเทศกัมพูชา มีความไม่สงบเกิดขึ้นในประเทศ เป็นผลทำให้ประเทศไทยต้องส่งทหารมาคุ้มกันชายแดน ซึ่งจังหวัดสระแก้ว เป็นจังหวัดติดชายแดนกัมพูชา ทำให้มีทหารจำนวนมากผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้ามาประจำการ และอาหารการกินของทหารก็ลำบาก คนในชุมชนบ้านพร้าวซึ่งเดิมจะเผาข้าวหลามในยามว่างจากหน้าทำหน้า จึงหันมาทำข้าวหลามขายให้กับทหารที่มาอยู่ประจำการอย่างจริงจัง จนทำให้เกิดเป็นอาชีพหลักของชุมชนบ้านพร้าวจนถึงปัจจุบัน

ข้าวหลามบ้านพร้าวเป็นอาหารที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในจังหวัดสระแก้ว และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านตั้งแต่สมัยโบราณที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่ในปัจจุบันชุมชนบ้านพร้าว อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว เหลือครัวเรือนที่ยังเผาข้าวหลามเพียง ๔ ครัวเรือน โดยมี ๓ ครัวเรือน ที่ยังเผาข้าวหลามด้วยถ่าย และ ๑ ครัวเรือนเผาข้าวหลามด้วยแก๊ส และคาดว่าจะไม่มีผู้สืบทอดต่อจากนี้แล้ว เนื่องจากรุ่นลูกรุ่นหลานส่วนใหญ่ไปทำงานอยู่ต่างถิ่น

วิธีการและขั้นตอนการปรุง
๑) นำไม้ไผ่สีสุกมาตัดเป็นกระบอกข้าวหลาม และทำความสะอาด
๒) นำใบตองมาห่อกาบมะพร้าว เพื่อทำเป็นจุกกระบอกข้าวหลาม
๓) นำกะทิ น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ และเกลือผสมกัน คนให้เข้ากัน จากนั้นนำไปตั้งไฟประมาณ ๓๐ นาที เคี่ยวจนได้ที่พักไว้ให้เย็น
๔) นำข้าวเหนียวดำและข้าวเหนียวขาวไปล้างให้สะอาดจากนั้นแช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ ประมาณ ๖ ชั่วโมง เมื่อครบกำหนดเวลาซาวน้ำให้สะอาดอีกครั้ง และนำพักทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ
๕) นำถั่วดำไปต้ม ๔๐ นาที พักทิ้งไว้
๖) จากนั้นนำข้าวเหนียวและถั่วดำมาคลุกเคล้ากัน
๗) กรอกข้าวเหนียวที่ผสมกับถั่วดำลงในกระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมเอาไว้ ประมาณ ๓ ใน ๔ ส่วนของกระบอก
๘) ใส่น้ำกะทิที่ปรุงแล้วลงในกระบอก ประมาณเศษ ๑ ส่วน ๒ ของส่วนที่เหลือ ปิดฝาแล้วนำไปเผาในเตาที่เตรียมไว้ ส่วนกระบอกที่จะทำหน้าสังขยาให้ลดปริมาณลงมาอีกหน่อย
๙) นำกระบอกข้าวหลามไปเรียงบนเตาเป็นแถว ๓ แถว และวางถ่านในร่องระหว่างข้าวหลามจำนวน 2 ร่อง จากนั้นจุดไฟถ่าน
๑๐) เผาไฟข้าวหลาม ประมาณ ๓ ชั่วโมง โดยขณะเผาให้ใช้สังกะสีปิดล้อมกระบอกข้ามหลามเมื่อข้าวหลามสุกแล้ว นำมาปอกเปลือกออกพร้อมที่จะบริโภค และจำหน่ายต่อไป

ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมตลอดจนระบบนิเวศ :มีการปลูกทดแทนต้นไผ่สีสุกที่ถูกตัดมาทำข้าวหลาม และใช้วัตถุดิบจากธรรมที่สามารถย่อยสลายได้ ไม่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ :นางสาวนิภิสรา งาเครือ ๐๘๑-๑๒๓-๒๕๐๔

สถานที่ตั้ง
บ้านพร้าว
เลขที่ 112 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 ถนน วัฒนา - คลองหาด
ตำบล วัฒนานคร อำเภอ วัฒนานคร จังหวัด สระแก้ว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สภาวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
บุคคลอ้างอิง กษิดิส อุดมสุวรรณ์ อีเมล์ sakaeo.culture70@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว
โทรศัพท์ 037425029 โทรสาร 037425030
เว็บไซต์ https://sakaeo.m-culture.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่