ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 56' 23.892"
16.9399700
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 14' 39.7421"
103.2443728
เลขที่ : 198110
วนอุทยานภูพระ
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 19 กันยายน 2566
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 19 กันยายน 2566
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 832
รายละเอียด
ความเป็นมาของวนอุทยานภูพระ

วนอุทยานภูพระ ตั้งอยู่ท้องที่บ้านหนองแซง ตำบลนาตาล อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดงมูล สภาพพื้นที่เป็นภูเขาเทือกเดียวขนาดเล็ก บนหลังเขาเป็นที่ราบลานกว้าง ชุมชนในพื้นที่เรียกเขาเทือกนี้ว่า “พระ” สืบเนื่องจากมีพระพุทธรูปโบราณทำด้วยหิน ไม้ ประดิษฐ์ฐานอยู่ในถ้ำเป็นจำนวนมาก ประชาชนในท้องถิ่นเคารพนับถือ และช่วงเดือนพฤษภาคมทุกปี ประชาชนในพื้นที่จะมาทำบุญสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี และบนหลังเขายังเป็นจุดชมทิวทัศน์หลายแห่ง เหมาะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ต่อมาประชาชนในท้องถิ่นให้ความสนใจ จึงได้ร่วมกับนายอนอง เหล่านุกูล สมาชิกสภาจังหวัดกาฬสินธุ์ ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 29 กันยายน 2523 แจ้งถึงรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ทราบว่าบริเวณภูพระ ท้องที่ตำบลท่าคันโท (เดิม) อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ มีสภาพป่าหนาแน่น สัตว์ป่าชุกชุม และมีทิวทัศน์สวยงาม เส้นทางคมนาคมสะดวกถนนตัดผ่านถึงสามด้าน มีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งพื้นที่ภูพระ ให้เป็นวนอุทยาน เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และให้เป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของชุมชน ประกอบกับประชาชนในท้องถิ่นให้ความร่วมมือสนับสนุนเป็นอย่างดี ต่อมากรมป่าไม้ให้เจ้าหน้าที่ออกมาทำการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการจัดตั้งวนอุทยาน ปรากฏว่าสภาพผืนป่าอุดมสมบูรณ์ มีพันธุ์ไม้เด่นๆ ได้แก่ เต็ง รัง มะค่าแต้ กระบก ประดู่ แดง มะค่าโมง ตะแบก สะพัง ตะเคียนหิน ไผ่ เล็ก สาบเสือ เป็นต้น ลักษณะปาส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรัง ร้อยละ 50 ป่าเบญจพรรณ ร้อยละ 25 และป่าดิบแล้ง ร้อยละ 25 สำหรับสัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เก้ง หมาใน เต่า กระรอก กระแต กระต่าย เต่า กิ้งก่า งู ผึ้งหลวง นกชนิดต่างๆ และเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2526 กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานภูพระ ซึ่งอยู่ในท้องที่ตำบลท่าคันโท ตำบลยางอุ้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธ์ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าคันโทประมาณ 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 6,200 ไร่ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัย การศึกษาธรรมชาติ และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ตลอดจนอำนวยประโยชน์ประชาชนสืบไป

ต่อมาในวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2563 ได้มีประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าดงมูล ในท้องที่ตำบลนาตาล และตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นวนอุทยาน เนื้อที่ 4,024 ไร่ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 3 ง หน้า 19 วันที่ 5 มกราคม 2564

การเดินทางรถยนต์
วนอุทยานอยู่ห่างจากอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ 9 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายอำเภอท่าคันโท- อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมีทางแยกที่หลักกิโลเมตรที่ 16 ระยะทางประมาณ 500 เมตร การเดินทางไปวนอุทยานภูพระนี้สะดวกมาก มีถนนตัดผ่าน 3 สาย คือ
1. ทางหลวงจากอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ไปอำเภอท่าคันโทถึงวนอุทยานภูพระระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร
2. ทางหลวงจากอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธ์ ผ่านอำเภอห้วยมวกเหล็กและอำเภอกรุงศรีผ่านหมู่บ้านหนองแซง อำเภอท่าคันโทถึงวนอุทยานภูพระระยะทางประมาณ 65 กิโลเมตร
3. ทางหลวงสายอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นผ่านอำเภอท่าคันโทถึงวนอุทยานภูพระระยะทางประมาณ 75 กิโลเมตรข้อมูลจากเว็บไซต์:วนอุทยานภูพระ

https://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=11115

ภาพจาก https://roijang.com/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C/

สถานที่ตั้ง
ตำบล นาตาล อำเภอ ท่าคันโท จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชัยยันต์ ชลัมพุช อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่