ประวัติความเป็นมาของตำบลผาเสวย
จากการบันทึกและคำบอกเล่าของคนเก่าแก่ของตำบลผาเสวย พอสังเขปได้ดังนี้
ได้ มีการอพยพราษฎรมาจากน้ำย้อยอ้อยหนู แขวงสรวัน เมืองวัน เมืองทอง (มาก่อนศึกห้อ) พร้อมกับพระแก้วมรกต มาครั้งแรกมาอยู่เมืองกุสุมาล จังหวัดสกลนคร ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งมาจากเมืองเวียงจันทร์ มาสมทบกันกับกลุ่มที่มาอยู่ก่อน กลุ่มนี้เป็นเจ้าเมืองเหมือนกันกับกลุ่มที่มาอยู่ก่อน กลุ่มนี้สำเนียงภาษาไทย้อ มาเวียงจันทร์ ส่วนกลุ่มไทโซ่มาจากน้ำย้อยอ้อยหนู อยู่กันมาก็เลยชักชวนตระเวนหาที่ทำกินใหม่ เพราะว่าที่ดินเดิมอยู่ต่อไปคงคับแคบ จึงตัดสินใจตระเวนหาที่ทำกิน หัวหน้าเผ่าขี่ช้างมาด้วยใช้เวลาหลายวัน จึงได้มาเห็นที่ดินแถวลำห้วยสังเคียบ มีน้ำไหลผ่านตลอดทั้งปี พอจะใช้ในด้านการเกษตรได้ และมีป่าแข้งหนาทึบ แต่ดินแถวนั้นเป็นดินดาน จึงได้ตัดสินใจตั้งบ้านเรือนเป็นที่อยู่อาศัย ประมาณปี 2445 ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเรียกนามบ้านแซงกะดาน ต่อมาจึงเป็นเปลี่ยนนามบ้านใหม่ ชื่อเมืองแซงบาดาล เพราะว่าเจ้าเมืองเป็นคนมาตั้ง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง คือ กลุ่มเจ้าเมืองบ้านกอก ได้ตระเวรหาที่ทำบ้านใหม่ เพราะว่าที่ดินแถวนั้นไม่ชอบใจ จึงได้ขี่ช้างตระเวรมาไปตามลำห้วยสังเคียบบึงบ๊อดแป๊ด สหัสขันธ์มีแต่ป่าแซงหนาทึบไม่สามารถจับบุกร้างถางได้ จึงได้ขี่ช้างกลับขึ้นมาตามลำห้วยมะพริก จนกระทั่งถึงบริเวณที่ดินแถวนาม มกเม็ดแยกไปบ้านมหาไชยซึ่งทางการญี่ปุ่นได้ทิ้งไว้จนดินถม และมีคนขุดพบจึงเรียกนามว่า นามหมกเหล็กมาถึงทุกวันนี้ แต่มาพอเห็นที่ดินแถวนี้เห็นว่ามีลำห้วยไหลผ่านมีน้ำขังตลอดทั้งปีพอจะใช้ใน ด้านการเกษตรได้จึงได้ตัดสินใจตั้งบ้านเรือนขึ้นมาชื่อว่าบ้านกอก อยู่มาไม่นานช้างเจ้าเมืองเลยตาม จำเป็นก็เลยทิ้งแยงช้างไว้ จึงเรียกนามว่านาแยงช้างมาถึงทุกวันนี้ จากนั้นมีป่าดงหนาทึบมีทั้งเสือและช้างสัตว์ทุกชนิดหมูป่า ทำพงเป็นจุดๆเป็นมุ้ง จึงเรียกนามว่ามุ้งหมู แต่อยู่ได้ไม่นานจึงพากันย้ายบ้านอีกเป็นครั้งที่ 2 ตอนนั้นย้ายขึ้นมาอยู่นาตีนบ้าน สมัยนั้นมีเสบียงกับเสมียนแพง เป็นคนดูแลทุกสุขของพี่น้องประชาชนผลัดเปลี่ยนกันกับไปอบรมชาวบ้านในข้อ ราชการต่อต่างๆ แต่ประมาณการไม่ได้ 200 กว่าปีมาแล้ว อยู่ต่อมาได้เกิดไข้โรคระบาดขึ้นมาโดย โรคนั้นเขาเรียกว่าโรคฝีดาษ ถ้าหากติดคนใดเข้าไม่มีทางรักษาตายอย่างเดียวเพราะไม่มียารักษา บ้านเมืองเดือดร้อนอีกหนึ่งครั้ง จึงได้พากันย้ายบ้านเรือนอีก ในช่วงนั้นต่างคนต่างเอาตัวเองรอดหนี้ไป โดยแยกออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 แยกไปบ้านคำหม่วย กลุ่มที่ 2 แยกไปบ้านหนองบัว กลุ่มที่ 3 แยกไปบ้านกอก มาจึงถึงทุกวันนี้ ต่อมาบ้านเมืองก็ขยายออกไปเรื่อย ๆ จึงสมควร จะตั้งผู้ใหญ่บ้านขึ้นมาปกครองจึงขอเสนอเรื่องไปทางอำเภอ เรื่องไปถึงอำเภอครั้งแรกทางการก็ไม่อนุมัติ ต่อมาอีกก็ขอไปอีกทางการจึงได้อนุมัติแต่งตั้ง ให้พ่อใหญ่สง ซานาตา เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกบ้านกอก หมู่ที่ 6 ตำบลแซงบาดาล แต่จำยศไม่ได้ อยู่ต่อมาท่านก็มาเสียชีวิตลงเพราะอายุท่านแก่มาก ทางการจึงได้แต่งตั้งพ่อใหญ่นวล สาระหงษ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านแทนในช่วงพ่อใหญ่สงเป็นผู้ใหญ่บ้าน ท่านได้พาชาวบ้านกอกไปแห่เอาเจ้าปู่มาจากบ้านบอน แต่ก่อนเราต้องขึ้นอยู่กับทางบ้านบอน ก่อนจะเลี้ยงเจ้าแต่ละครั้งต้องจัดหาอาหารไปเลี้ยงร่วมกัน เห็นว่ามันเป็นการลำบากจึงได้ชักชวนชาวบ้านไปขอแยกออกจากบ้านบอนมาอยู่ที่ บ้านกอกที่ดอนเจ้าปู่ ถึงทุกวันนี้ กาฬจ่ำคนแรกคือพ่อใหญ่ขี ชานาตา ถ้าจะเลี้ยงเจ้าปู่ครั้งใดก็ประกาศให้ชาวบ้านได้ทราบอยู่ต่อมาพ่อใหญ่สาก็ เลยเสียชีวิตลงเลยแต่งตั้งพ่อใหญ่สิงห์สาเป็นต่อ จนอายุท่านแก่มาก จำเป็นเลยประกาศเอาคนที่จะมาเป็นกาฬจ่ำได้พ่อใหญ่หน่าย ชานาตา จนมาถึงพ่อใหญ่มี โคงัน ถึงทุกวันนี้ ส่วนพ่อใหญ่นวล สาระหงษ์เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่นั้นท่านก็ได้ปกครองลูกบ้านดีมาตลอด จนในที่สุดท่านก็ได้ลาออกจากผู้ใหญ่บ้านและท่านก็ได้ย้ายออกไปอยู่ที่บ้าน หนองแสงน้อย ในช่วงนั้นยังไม่มีเงินเดือนจากนั้นทางการจึงได้ออกมาแต่งตั้งเอาพ่อใหญ่เต่ กาวี เป็นผู้ใหญ่บ้านในช่วงนั้นการศึกษาก็ยังไม่มี จำเป็นจึงแต่งตั้งทางการจึงได้แต่งตั้งนายลี ไตรพิษมาเป็นครูสอนครั้งแรก เขาเรียกว่าโรงเรียนผู้เฒ่า สถานที่เรียนศาลากลางบ้าน นายเต่เป็นผู้ใหญ่บ้านจึงได้ชักชวนชาวบ้านปลูกสร้างศาลาหรือกุฏิขึ้นมา จึงได้เป็นสถานที่เรียนหนังสือ ต่อจากนั้นนายลี ไตรพิษลาออกทางการจึงได้แต่งตั้งนายหวล โพธิสุวรรณ มาเป็นครูสอนอีก ทางการจัดให้เป็นหมู่บ้านกันดาลแต่ก่อนมีไข้ป่าชุกชุม นักเรียนเจ็บป่วยไข้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากยังไม่มีหมอรักษา และชาวบ้านอดอยากมากในสมัยนั้นบ้านเมืองยังไม่เจริญ ชาวบ้านชอบอยู่ตัวใครตัวมัน ไม่ทะเยอทะยาน หากินไปวัน ๆ ก็พอ(สำเนียงภาษาโทโซ่นับถือศาสนาพุทธ)ต่อมาพ่อใหญ่เต่ กาวี ก็มาเสียชีวิตลงเพราะว่าอายุท่านแก่มาก หลังจากนั้นทางอำเภอจึงออกมาแต่งตั้งปรากฏว่าชาวบ้านได้เลือกเอาพ่อใหญ่ชาลี สาระออน เป็นผู้ใหญ่บ้าน ท่านปกครองลูกบ้านมานานพอสมควรท่านก็ลาออกเพราะว่าอายุแก่มาก จากนั้นทางการจึงได้ออกมาเลือกตั้งชาวบ้านเลือกเอาพ่อใหญ่บุญ อรรคบุตร เป็นผู้ใหญ่บ้าน ท่านผู้นี้ปกครองลูกบ้านมาดีโดยตลอด ชาวบ้านได้พัฒนาดี แต่ท่านได้มาถูกร้องเรียนไม่พอใจจากนั้นทางอำเภอจึงได้ออกมาเลือกตั้งปรากฏ ว่าชาวบ้านเลือกเอาพ่อใหญ่ใจ กาวี เป็นผู้ใหญ่บ้าน ท่านผู้นี้เป็นผู้ใหญ่ถึง 15 ปี ก็ลาออกถูกชาวบ้านร้องเรียนอีก จากนั้นทางอำเภอจึงได้ออกมาเลือกตั้งอีกชาวบ้านได้เลือกเอานายถาวร เพิ่มศรี ปกครองลูกบ้านมาก็เป็นเวลา 7-8 ปี ประเพณีการนับถือของชาวบ้าน เขาจะนับถือเจ้าปู่เป็นพิเศษไม่ว่าจะทำอะไรเราจะต้องบอกกล่าวเล่าแจ้งให้ ท่านทราบเสียก่อน ไม่ว่าจะจัดงานบ้านงานเรือน และอีกประเพณีที่เขาถือกันมาจนถึงทุกวันนี้ คือคนแก่ ถึงยามเดือน 3 เดือน 4 ออกไถนา พวกผู้หญิงคนแก่เขาจะมีการเลี้ยงโฮง จะมีหัวหน้านัดลูกน้องให้มารวมกันทำประลำสำหรับเลี้ยงโฮง(เลี้ยงผี)หลังจาก นั้นครูมาเขาเรียกลูกน้องให้เข้ามาดูทาง เพื่อจะเรียกครูบาอาจารย์เชิญลงมาร่วมงาน การตกแต่งเวทีเขาจะร้อยพวงมาลัยฆ้องคอทุกคนจากหัวหน้าก็ลำเรียงจะมีการฟ้อน รำรอบบริเวณมาลำ ลูกน้องก็ลำตอบหัวหน้า เขาจะมีหมอแคนอย่างน้อย 2 คน หมอกอง 1 คน เขาจะผลัดเปลี่ยนเป็นตลอดทั้งคืนจนสว่าง จากนั้นหัวหน้าก็เชิญลูกน้องเขาดูหอเพื่อล่ำลง แล้วก็เลือกจากกันเขาจะทำกันมาทุก ๆ ปี ไม่ได้ขาด
เริ่มแรกในปี 2497 ระหว่างนั้น ถนนหนทางเป็นหลุมเป็นบ่อ ถนนลูกรัง การคมนาคมไปมาไม่สะดวก ระหว่างสายกาฬสินธุ์ไปสกลนคร แต่รถยนต์สามารถวิ่งไปมาได้ ในระหว่างนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ราชินีนาถ ได้เสด็จมาจากจังหวัดสกลนครได้มาแวะเสวยพระกระยาหาร และที่นั้นได้มีเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานพร้อมราษฎรมาคอยต้อนรับระหว่างบ้าน แก้งกะอามเขตกาฬสินธุ์ มีเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานพร้อมราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ไปทำความสะอาดที่ ผาเสวย จนเป็นที่สวยงามเป็นที่ประทับใจผู้มาต้อนรับ เวลา 12.00 น.ทั้งสองพระองค์ท่านได้เสด็จมายังที่ประทับ จากนั้นก็ได้เสวยอาหาร อยู่ที่นั่น ประมาณ 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นก็ได้เสด็จทักทายราษฎรผู้ที่มาต้องรับพอสมควร จากนั้นก็เสด็จขึ้นรถไปบ้านสี่แยกสมเด็จ (อำเภอสมเด็จปัจจุบัน) เพราะว่าที่นั่นมีเจ้าหน้าที่ต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ ประชาชนมาคอยต้อนรับจำนวนมาก หลังจากนั้นก็ได้เสด็จต่อไปยังจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดมหาสารคาม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 ทางกรมการปกครอง ได้ประกาศ การเลือกตั้งกำนันขึ้น จึงเลือกเอาตำบลผาเสวย ในนามที่พระองค์ท่านได้เสด็จมาพักเสวย ในช่วงนั้น
เทือกเขาภูพานม่านฟ้า “ผาเสวย”พ่อหลวงโดยบรรทับกับ “แม่ขวัญ” ทรงชื่นชม พนมไพรไอหมอกควัน เกินเราคาดอัศจรรย์
“ผาเสวย” เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของชาวอำเภอสมเด็จและชาวจังหวัดกาฬสินธุ์
ซึ่ง อยู่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติเทือกเขาภูพาน เหตุที่ได้ชื่อว่าผาเสวยนั้นสืบ เนื่องจาก เมื่อ พ.ศ. 2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้ประทับเสวยพระกระยาหารกลางวันที่บริเวณ นี้ ในวโรกาสที่ทั้งสองพระองค์เสด็จเยี่ยมราษฎรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาน ที่ แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ผาเสวย” มาตังแต่บัดนั้น
ดอกไม้งามยามยลบนผาเสวย หอมระรวยดุจผกาผาสวรรค์
ขึ้นรายรอบขอบสิขราพนาวัน เติมสีสันป่าผุดผาดพิลาสเอย
ข้อมูลจาก :http://www.pasawoei.go.th/index.php?op=staticcontent&id=10423
ภาพจากเพจเฟซบุ๊ก :ไทภู กาฬสินธุ์