ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 16° 25' 57"
16.4325000
ลองจิจูด (แวง) : E 103° 30' 22"
103.5061111
เลขที่ : 198151
ประเพณีการลอยกระทงของคนแต่ละภาค
เสนอโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
อนุมัติโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566
จังหวัด : กาฬสินธุ์
0 972
รายละเอียด

วันนี้ตรงกับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เป็นวันลอยกระทง ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาแต่โบราณของไทย แต่รู้ไหมทั้ง4ภาคของประเทศไทยนั้น แต่ละภาคมีประเพณีการลอยกระทงที่แตกต่างกัน และต่างก็มีความสวยงามในแบบฉบับของตัวเอง เผื่อใครมีโอกาสได้ไปลอยกระทงต่างถิ่นก็จะได้ประสบการณ์ที่ดีไปอีกแบบ แต่ถ้าใครไม่ได้ไปไหน ลอยกระทงออนไลน์ก็ได้นะ

ภาคเหนือ

ประเพณี “ยี่เป็ง” เป็นประเพณีลอยกระทงตามประเพณีล้านนา ที่จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 2 ของชาวล้านนา ยี่เป็งเป็นภาษาคำเมืองในภาคเหนือ คำว่า"ยี่"แปลว่า สอง และคำว่า"เป็ง"ตรงกับคำว่า "เพ็ญ" หรือพระจันทร์ โดยจะมีการทำบุญกันในวันเพ็ญเดือนสอง และในช่วงเย็นจะเป็นการลอยโคมขึ้นสู่ท้องฟ้า เชื่อกันว่า การปล่อยโคมลอยขึ้นท้องฟ้าคือการปล่อยทุกข์ปล่อยโศก

ประเพณี “ล่องสะเปาจาวละกอน” คำว่า “สะเปา”หมายถึงกระทง เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง การนำเรือสำเภาลอยไปตามน้ำ ส่วน “จาวละกอน” หมายถึง ชาวลำปาง เป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติมานาน โดยชาวบ้านจะนำเรือสำเภาน้อย ๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้น ใส่สิ่งของลงไปและนำไปลอยน้ำ เพื่อเป็นการทำทานให้แก่ผู้ล่วงลับ หรือให้ทานกับผู้อื่นที่อยู่ปลายน้ำ

ประเพณี “ลอยกระทงสาย” จัดขึ้นทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวจังหวัดตากที่สืบทอดกันมาช้านาน เพื่อแสดงความกตัญญูต่อสายน้ำ จะแตกต่างจากการลอยกระทงทั่วๆ ไป คือตัวกระทงทำด้วยกะลามะพร้าว

ประเพณี “เผาเทียนเล่นไฟ” ประเพณีเผาเทียนเล่นไฟ ของชาวสุโขทัย เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานซึ่งมีหลักฐานจารึกไว้ใน ศิลาจารึกหลักที่ 1 ของ พ่อขุนรามคำแหง เกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงของชาวสุโขทัยในสมัยก่อน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ประเพณี “สิบสองเพ็งไทสกล” สิบสองเพ็งคือคำพูดในภาษาญ้อของชาวสกลนคร มีความหมายว่า วันเพ็ญเดือนสิบสอง ในอดีตจะมีการลอยกระทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการขอพระราชทานพระประทีป จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ซึ่งเสด็จมาแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร ในขณะนั้น ตั้งแต่นั้นมาจึงมีพิธี"ลอยพระประทีปพระราชทานสิบสองเพ็งไทสกล"

ประเพณี “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป”ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคาในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองเป็นประเพณีท้องถิ่นของเมืองร้อยเอ็ด

ภาคกลาง

ประเพณี “ลอยกระทงกรุงเก่า”เป็นประเพณีการลอยกระทงที่พระนครศรีอยุธยา โดยผู้คนจะสวมใส่ชุดไทย มีเบื้องหลังเป็นวัดเก่าแก่ของอยุธยา เพื่อลอยกระทงกัน

ภาคใต้

แต่เดิมชาวใต้จะไม่มีประเพณีลอยกระทงในเดือน 12 เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ทำนาเพราะมีฤดูฝนที่ช้ากว่าภาคอื่นแต่จะมีประเพณีที่จัดขึ้นเพื่อลอยแพสะเดาะเคราะห์ เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บมากล้ำกราย โดยกระทงของชาวปักษ์ใต้มักนำเอาหยวกกล้วยหรือกาบมะพร้าวมาแกะสลักเป็นลวดลายสวยงาม ให้มีรูปร่างลักษณะเป็นแพ เพื่อบรรจุอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียนลงไปในเรือเพื่อลอยสิ่งชั่วร้ายไปตามน้ำ แต่ปัจจุบันก็มีจังหวัดในภาคใต้ที่จัดให้มีประเพณีการลอยกระทงกัน เช่น

ประเพณีลอยกระทง “สีสันแห่งสายน้ำเมืองคนดี”เป็นประเพณีการลอยกระทงที่ สุราษฎร์ธานี เมืองแห่งคนดี

ประเพณีลอยกระทง “สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง”เป็นประเพณีการลอยกระทงที่ สงขลา

ไม่ว่าประเพณีลอยกระทง จะมีชื่อเรียกหรือวิธีการที่แตกต่างกันในแต่ละภาคตามความเชื่อและวิถีชีวิตพื้นบ้าน แต่ก็ล้วนเป็นการแสดงออกถึงความขอบคุณที่มีต่อสิ่งต่างๆในชีวิต

โพสท์โดย: good4289

อ้างอิงจาก: https://www.finearts.go.th/literatureandhistory

https://th.wikipedia.org

อ่านต่อได้ที่ https://board.postjung.com/1517602

สถานที่ตั้ง
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ชัยยันต์ ชลัมพุช อีเมล์ m.culture.ks@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ ศาลากลางจังหวัดกาฬสินธุ์
ตำบล กาฬสินธุ์ อำเภอ เมืองกาฬสินธุ์ จังหวัด กาฬสินธุ์
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่