ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 19' 51.4816"
14.3309671
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 39' 11.6075"
99.6532243
เลขที่ : 198155
จุลกฐิน ถิ่นเมืองกาญจน์ ณ วัดแก่งหลวง
เสนอโดย กาญจนบุรี วันที่ 14 ธันวาคม 2566
อนุมัติโดย กาญจนบุรี วันที่ 14 ธันวาคม 2566
จังหวัด : กาญจนบุรี
0 297
รายละเอียด

จุลกฐินคือ กฐินที่จัดทำผ้าไตรจีวรเพื่อเป็นผ้ากฐิน โดยเริ่มตั้งแต่การนำฝ้ายมาปั่น กรอ เป็นเส้นด้ายแล้วทอเป็นผืนผ้า ตัดเย็บและย้อมสี และจัดเตรียมนำไปถวายในวันนั้น โดยใช้เวลาตั้งแต่ตะวันขึ้นจนถึงตะวันตกดิน ดังนั้นโบราณจึงถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมากจากหลักฐานพบว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยาดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า ๒๖๘ ว่า"ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันในพื้นที่ชุมชนทางภาคเหนือและอีสาน โดยภาคอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า “กฐินแล่น”อานิสงส์จุลกฐิน การถวายผ้าจุลกฐินแด่พระสงฆ์ เป็นการถวายสังฆทานทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งนับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ อีกทั้งเป็นการสะสมเสบียงเดินทางอันกันดารในวัฏจักรสงสารไว้สำหรับตนเองและผู้ที่ตนเคารพรักและนับถือ นอกจากนี้ยังเป็นเกราะ เป็นที่พึ่งอาศัยอันเกษม ในภายภาคหน้าจะได้เป็นผู้มั่งคั่งสมบูรณ์ เพิ่มพูนทรัพย์ จะส่งผลต่อบุตรธิดาภรรยาบ่าวไพร่ ให้เป็นคนว่านอนสอนง่าย ไม่มีโรคภัยไม่มีอันตรายแก่โภคทรัพย์ ทุกคนจะได้รับบุญบารมีมีข้าทาสบริวาร มีเคหสถาน มีเสื้อผ้าอาภรณ์และมีทรัพย์สมบัติไม่ขัดสนในที่สุด

สำหรับในจังหวัดกาญจนบุรีแต่เดิมไม่มีการปฏิบัติ ดังนั้น พระอธิการบุญช่วย เจ้าอาวาสวัดแก่งหลวงจึงได้นำประเพณีจุลกฐินมาปฏิบัติเพื่อการอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมและเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาโดยจุลกฐินวัดแก่งหลวง ตำบลเกาะสำโรง อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการเชิญชวนให้พุทธศาสนิกชนได้ร่วมกันสืบสานประเพณีดังกล่าวไว้ให้คงอยู่คู่ชุมชน ซึ่งหาชมได้ยากในจังหวัดกาญจนบุรีโดยเชิญชวพุทธศาสนิกชนในพื้นที่และผู้ที่สนใจร่วมงานบุญประเพณี นับเป็นกุศโลบายในการสร้างความสามัคคี
และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งจุลกฐินนี้มักทำกันเมื่อจวนจะหมดเขตกฐินกาลแล้วหรือสิ้นสุดช่วงการทอดกฐิน ก่อนพิธีจุลกฐินจะมีการปลูกต้นฝ้าย ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ ๓ - ๔ เดือนเพื่อให้ฝ้ายเติบโตและมีผลผลิตนำมาใช้ในพิธีได้ทัน เมื่อถึงวันพิธีจุลกฐินจะเริ่มเก็บฝ้าย อิ้วฝ้าย เพื่อเอาเมล็ดออกจากนั้นนำไปตีให้ฟู และปั่นเป็นเส้นด้ายหรือเรียกว่าการเข็นฝ้าย โดยนำเส้นด้ายมาเปียให้เป็นไจ หรือเรียกว่าเปียฝ้าย แล้วจึงปั่นใส่หลอดกระสวย นำไปทอเป็นผืนผ้าตามขนาดที่ต้องการ นำไปย้อมสี และตัดเย็บเป็นผ้าไตรจีวร เพื่อนำไปถวายแด่พระสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น

โดยจุลกฐินของวัดแก่งหลวงนั้น ประกอบด้วย พิธีอัญเชิญพระอุปคุฑ พิธีบวชชีพราหมณ์และสมาทานสัจจะในพระอุโบสถ พิธีเก็บดอกฝ้าย ขบวนแห่กลองยาว พิธีสามีจิกรรมและร่วมกันฉีกดอกฝ้ายพิธีทอผ้ากฐิน พิธีประกวดเทพีดอกฝ้าย พิธีแห่ผ้าจุลกฐินและห่มผ้าพระประธานในพระอุโบสถ เป็นอันเสร็จพิธี

คำสำคัญ
จุลกฐิน
สถานที่ตั้ง
วัดแก่งหลวง
ตำบล เกาะสำโรง อำเภอ เมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
วัดแก่งหลวง
บุคคลอ้างอิง นางอัจฉรียา โรจนวรฤทธิ์ อีเมล์ ashleya.cake@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี
ตำบล ปากแพรก อำเภอ เมืองกาญจนบุรี จังหวัด กาญจนบุรี รหัสไปรษณีย์ 71000
โทรศัพท์ 0818744683
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่