ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 33' 56.2842"
13.5656345
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 18' 45.3701"
100.3126028
เลขที่ : 198243
กระตั้วแทงเสือ
เสนอโดย สมุทรสาคร วันที่ 23 เมษายน 2567
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 23 เมษายน 2567
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 58
รายละเอียด

"กระตั้วแทงเสือ" เป็นการละเล่นที่ได้รับอิทธิพลมาจาก "กระอั้วแทงควาย" ซึ่งเป็นการละเล่นหลวง ต่อมาชาวบ้านนำรูปแบบมาดัดแปลงให้มีลักษณะที่ใกล้เคียงกันทั้งตัวละคร เนื้อเรื่อง และรูปแบบวิธีการเล่น แล้วเรียกว่า"กระตั้วแทงเสือ" เล่นกันแพร่หลายทั่วไป

"กระตั้วแทงเสือ" เป็นการแสดงการละเล่นในเทศกาลต่าง ๆ เช่น กฐิน ผ้าป่า งานบวช ทั้งในเมืองหลวง และต่างจังหวัด เนื้อเรื่องในการแสดงคือ กาลครั้งหนึ่งในเมืองกำลังมีเหตุร้าย บ้องตันรู้ข่าวว่าเจ้าเมืองประกาศหาผู้ที่มีความสามารถไปปราบเสือสมิงที่ออกอาละวาดทำร้ายชาวบ้านจนบาดเจ็บล้มตาย โดยถ้าปราบสำเร็จจะมีการตกรางวัลให้อย่างมหาศาล บ้องตันจึงได้อาสาเข้าป่าไปพร้อมกับลูกเมียเพื่อปราบเสือแล้วสามารถฆ่าเสือได้สำเร็จ จึงนำหัวเสือไปถวายเจ้าเมือง

ตัวละครในเรืองประกอบด้วย

๑. "บ้องตัน" เป็นนายพราน มีหอกเป็นอาวุธ

๒. "นางเมีย" เป็นภรรยานายพราน ถือตะกร้าผลไม้

๓. "เจ้าจุก" ลูกของบ้องตัน มือถือขวาน

๔. "เจ้าแกละ" ลูกของบ้องตันอีกคน ถือมีดอีโต้

๕. เสือ จะเป็นเสือโคร่ง เนื่องจากตามเนื้อเรื่องคือเสือสมิง ซึ่งหมายถึงผีหรือปีศาจที่มีรูปร่างเป็นเสือโคร่งขนาดใหญ่

การแต่งกาย

"บ้องตัน" สวมเสื้อแขนยาว นุ่งสนับเพลา มีผ้าคาดเอวและผ้าโพกศีรษะ

"เจ้าจุก - เจ้าแกละ" สวมเสื้อแขนยาวนุ่งโจงกระเบน

"นางเมีย" สวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าถุงยาวกรอมเท้า ห่มสไบ สวมเครื่องประดับ

"เสือ" ใส่ชุดลายเสือและใส่หัวเสือลักษณะหัวโขน

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงมีกลองตุ๊ก กลองโทน ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง การแสดงใช้จังหวะตะลุงและร้องเพลงบ้องตันเข้ากรุง ในหนึ่งคณะใช้เครื่องดนตรีหลายชิ้น อาจมีนักดนตรี ๑๐ - ๒๐ คน เพื่อทำให้บรรยากาศตื่นเต้นขณะเสือกระโดดไปมาระหว่างการต่อสู้ของเสือกับนายพราน มีการร้องเพลงสำเนียงใต้คล้ายการร้องโนราห์ประกอบการรำ

"กระตั้วแทงเสือลูกบ้านขอม" ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ตั้งอยู่บริเวณข้างวัดบ้านขอม ก่อตั้งโดยนายมนตรี นาคอ่อน (ช่างเก้า) และเพื่อน ๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันในการอนุรักษ์และสืบสานกระตั้วแทงเสือ ช่วงแรกต้องอาศัยอุปกรณ์ที่หยิบยืมมาจากวัดราชคฤห์ (วัดมอญ ตลาดพลู) มาใช้ในการแสดง ได้ระยะหนึ่งช่างเก้าได้ประชุมปรึกษากับทีมงานว่าจะสร้างอุปกรณ์การแสดงการเล่นกระตั้งขึ้นใหม่ โดยตกลงกันว่าจะไม่มีการจ่ายค่าตัวให้กับผู้แสดงยกเว้นเด็ก ๆ จะให้เป็นค่าขนมและกำลังใจให้เด็ก เงินส่วนที่เหลือจะเก็บเข้ากองกลางเพื่อจะนำไปซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดง ซึ่งได้เริ่มออกแสดงอย่างเต็มรูปแบบ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ ต่อมาเมื่อมีงานแสดงเข้ามามากขึ้น อุปกรณ์ที่เคยยืมมาจากวัดราชคฤห์ (วัดมอญ ตลาดพลู) ก็ไม่ต้องยืม สามารถออกงานด้วยอุปกรณ์ที่เก็บเล็กผสมน้อยด้วยน้ำพักน้ำแรงของพวกนักแสดงได้

การฝึกซ้อม

ช่วงเวลาในการฝึกซ้อมจะมีเด็ก ๆ ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระตั้ว อยากจะมาลองและสัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่สำหนับพวกเขา จึงได้มีการฝึกสอนให้กับเด็ก ๆ ในชุมชน หลังจากนั้นสมาชิกของกระตั้วเริ่มมีมากขึ้น เด็กในชุมนชนหลาย ๆ คนมีความสามารถอย่างมาก ผู้ชมต่างทึ่งในความสามารถของเด็ก ๆ จึงทำให้ผลงานของคณะทีมงานช่างเก้าเป็นที่รู้จักและมีความโดดเด่นในการแสดง จึงได้มีการก่อตั้งคณะที่มีชื่อว่า "กระตั้วลูกบ้านขอม"

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านขอม
ตำบล โคกขาม อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายมนตรี นาคอ่อน อีเมล์ culture.skn@gmail.com
หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านขอม
ตำบล โคกขาม อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร รหัสไปรษณีย์ 74000
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่