เครื่องปั้นดินเผาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างแนบแน่นมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งเพราะเครื่องปั้นดินเผาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นบนเงื่อนไขความต้องการของสังคมที่เป็นเจ้าของเป็นผลงานจากมันสมองและฝีมือที่แสดงของผู้สร้าง ซึ่งมิได้มีความหมายแต่เพียงคุณค่าทางสุนทรียะเท่านั้น หากแต่ยังเป็นงานช่างฝีมือที่แสดงถึงภูมิปัญญาและพัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีของชุมชนที่สั่งสมและสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน
เครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะชุดแรก ๆ ของมนุษย์เป็นการนำดินมาขึ้นรูปเป็นภาชนะต่าง ๆ แล้วนำไปตากแห้ง เครื่องปั้นดินเผาเป็นงานหัตถกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์มาโดยตลอดทุกยุคทุกสมัย มนุษย์นำเครื่องปั้นดินเผามาใช้ในด้านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน การก่อสร้างตลอดจนการใช้ประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆและมีความผูกพันกับบ้านน้ำคำน้อยอย่างยิ่งซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตจากบรรพบุรุษตั้งแต่ตั้งถิ่นฐานของหมู่บ้าน แหล่งดินบ้านน้ำคำน้อย ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร แหล่งดินเหนียวที่ใช้ในการทำเครื่องปั้นดินเผาเดิมเป็นที่สาธารณะในลำห้วยทวนต่อมามีการทำฝายกั้นน้ำที่ลำห้วยทำให้น้ำท่วมขัง ปัจจุบันแหล่งดินได้จากหลุมดินลำห้วยบ้านน้ำคำน้อยบริเวณบึงหรือกุดเซียม จากการสอบถามพบว่า การทำเครื่องปั้นดินเผาในหมู่ที่ 2และหมู่ที่ 15 มีแห่งละประมาณ 30 ครัวเรือน แต่ผู้ผลิตรายใหญ่ที่ประกอบอาชีพนี้เป็นอาชีพหลักโดยมีการผลิตตลอดปีส่วนใหญ่อยู่ในหมู่ที่ 2 ผู้ผลิต มีอายุตั้งแต่ 30-60 ปี เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายเองเป็นส่วนใหญ่ บางรายเป็นผู้รับจ้างปั้น ช่วงเวลาที่ทำงานเครื่องปั้นดินเผามี 2 ช่วง คือ เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคมและเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเมษายน ซึ่งหากไม่มีฝนก็จะสามารถทำได้ตลอดปี แต่ส่วนใหญ่ซื้อดินวัตถุดิบมาจากอำเภอพนมไพรจังหวัดร้อยเอ็ด และสินค้ายอดนิยม ได้แก่ เตาอั้งโล่ไว้สำหรับ ปิ้งย่างกลุ่มชาวบ้านน้ำคำน้อย ตำบลน้ำคำใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ที่ยึดอาชีพทำเตาอั้งโล่ เป็นอาชีพเสริมควบคู่ไปกับการทำนา และรับจ้างในตัวเมืองยโสธร ต้องจัดหาดินเหนียวมาเพิ่ม ก่อนนำมานวดขึ้นรูปเป็นเตาอั้งโล่ และเตาหุงต้มหลายขนาดขายส่งให้คนที่จะมารับซื้อ โดยเตาอั้งโล่ของชาวบ้านที่นี่ค่อนข้างได้รับความนิยมเนื่องจากผลิตเป็นงานฝีมือตามแบบวิถีโบราณ มีความคงทน และให้ความร้อนได้ดีช่วยประหยัดถ่าน รูปทรงสวยงามประณีตตามแบบวิถีโบราณ มีความคงทน และให้ความร้อนได้ดีช่วยประหยัดถ่าน รูปทรงสวยงามประณีต “ว่ากันว่า ชาวบ้าน น้ำคำน้อยกว่า 100 ครอบครัว ที่ส่วนใหญ่ยึดอาชีพปั้นเตาอั้งโล่ ฝีมือปณีต คนรุ่นปู่รุ่นย่า ได้อพยพมาจากด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา มาตั้งรกรากที่ อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี สมัยนั้น
ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์/เอกลักษณ์/ความโดดเด่น:ไม่ได้ใช้เครื่องมือหมุนในการขึ้นรูปทรง ใช้ทักษะมือในการปั้นจึงทำให้เกิดความทนทานและสีที่เขียนจะเป็นสีแดงหรือสีขาว มีลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายรูปสัตว์ลายเส้นเรขาคณิต ลายขดก้นหอยลายเส้นโค้งซึ่งอาจเป็นคติความเชื่ออย่างหนึ่งของคนในสมัยนั้นที่เกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ของอาหาร ได้แก่ พวกสัตว์และธัญพืชต่าง ๆ
ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของชุมชน หมู่บ้านน้ำคำน้อย
1.ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ เตาฟืน เตาถ่าน หม้อดิน หม้อและเตาขนาดเล็ก (ชุดแจ่วฮ้อน) แอ่งน้ำ
2.ผลิตภัณฑ์ตกแต่งสวนและอาคาร ได้แก่ กระถาง แจกัน โคมไฟ
3.เตาอั้งโล่ไว้สำหรับปิ้งย่างในการจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นการขายปลีก โดยวางขายหน้าบ้านหรือไปเร่ขายในท้องถิ่น รวมทั้งขายส่งให้แก่พ่อค้าคนกลาง