ขนมบัวลอย เป็นขนมไทยโบราณที่อยู่คู่กับคนไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา แม้ไม่มีประวัติความเป็นมาที่แน่ชัดว่าเริ่มต้นจากที่ไหนและใครเป็นผู้คิดค้น แต่ทุกภาคของประเทศไทยก็มีเมนูขนมหวานถ้วยนี้เป็นขนมคู่สำรับมาช้านาน เพราะไม่เพียงแต่ความหอมหวานของน้ำกะทิและแป้งนุ่มๆ ที่ใครได้ทานก็อร่อยติดใจเท่านั้น แต่ด้วยความหมายที่เป็นมงคลของขนมบัวลอย ที่สื่อความหมายดีๆ ให้คนในครอบครัวกลมเกลียวเหนียวแน่น ยังส่งผลให้ขนมบัวลอยได้รับความนิยมนำมาทำรับประทานในงานบุญและงานมงคลต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่รับประทานรักใคร่กลมเกลียวกัน เหมือนความหมายดีๆ ของขนมหวานถ้วยนี้อีกด้วย
การทำขนมบัวลอยให้หอมหวานกะทิ เนื้อแป้งเหนียวนุ่มหนึบหนับนุ่มลิ้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะในปัจจุบันวิธีทำขนมบัวลอยมีตัวช่วยดีๆ มากมาย ทั้งส่วนผสมและขั้นตอนการทำ ช่วยให้การทำขนมหวาน งานมงคลถ้วยนี้เป็นเรื่องง่ายและสนุก เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับเป็นกิจกรรมที่ทุกคนในครอบครัวจะได้ลงมือช่วยกันทำ
ส่วนผสม
ลำไยคว้านเอาเม็ดออก
ส่วนผสม บัวลอยฟักทอง
แป้งข้าวเหนียว 50 กรัมฟังทองนึ่งสุก บดละเอียด 30 กรัมน้ำ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ปรับได้แล้วแต่ความชื้นของสิ่งที่นึ่งมา)
ส่วนผสม บัวลอยมันม่วง
แป้งข้าวเหนียว 50 กรัมเผือกนึ่งสุก บดละเอียด 30 กรัมน้ำ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ปรับได้แล้วแต่ความชื้นของสิ่งที่นึ่งมา)
ส่วนผสม บัวลอยมันเทศ
แป้งข้าวเหนียว 50 กรัมมันเทศนึ่งสุก บดละเอียด 30 กรัมน้ำ 2-3 ช้อนโต๊ะ (ปรับได้แล้วแต่ความชื้นของสิ่งที่นึ่งมา)
น้ำกะทิ
กะทิ 500 กรัมน้ำตาลมะพร้าว 20 กรัมน้ำตาลทราย 30 กรัมเกลือป่น 1 ช้อนชาใบเตย
ขั้นตอนการทำ
ตัวบัวลอย
1. นำฟักทอง มันม่วง เผือก และมันเทศ มานึ่งให้สุก จากนั้นนำมาบดให้ละเอียด
2. ผสมฟักทองบดกับแป้งข้าวเหนียว และน้ำเปล่า จากนั้นนวดให้แป้งผสมเข้ากันจนเนียนดี ทำแบบเดียวกันกับมันม่วง เผือก และมันเทศ
3. นำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลม ขนาดตามต้องการ ยัดใส่ข้างในลูกลำไย แล้วพักไว้ (อย่าลืมหาผ้ามาคลุมแป้งด้วย)
น้ำกะทิ
1. นำน้ำกะทิเทใส่หม้อตั้งไฟ
2. ใส่น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว เกลือ และใบเตย ลงในหม้อ จากนั้นคนเป็นระยะเพื่อป้องกันการแตกมัน รอจนกะทิเดือดยกลงจากเตาได้เลย
ต้มบัวลอย
1. ตั้งน้ำในหม้อต้มให้เดือด ใส่บัวลอยที่ปั้นไว้ลงไปต้ม
2. สังเกตว่าเมื่อบัวลอยสุก เม็ดบัวลอยจะลอยขึ้นมา ให้ช้อนบัวลอยขึ้นมาใส่ในน้ำกะทิที่ทำไว้
3. ตักเสิร์ฟใส่ชามพร้อมรับทาน