ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 15° 51' 15.4001"
15.854277818763013
ลองจิจูด (แวง) : E 104° 13' 22.5299"
104.22292497629739
เลขที่ : 198408
ภูมิปัญญาการจักสาน สู่งานหัตถศิลป์สร้างมูลค่า “กระติบข้าวแม่คำภา” ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย
เสนอโดย ยโสธร วันที่ 17 กันยายน 2567
อนุมัติโดย ยโสธร วันที่ 19 กันยายน 2567
จังหวัด : ยโสธร
0 233
รายละเอียด

สาระสำคัญโดยสังเขป:

ชุมชนคุณธรรมฯ วัดดอนกลอง ตำบลหนองเรือ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร เป็นชุมชนวิถีพุทธ คนในชุมชนมีชาติพันธุ์ไทอีสาน ส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวิถีชีวิตเรียบง่าย คนในชุมชนปฏิบัติตนและยึดมั่นในคำสอนทางพระพุทธศาสนา มีการสืบสานวิถีวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงาม น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต มีผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทยของชุมชน ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน อาทิ จักสานไม้ไผ่ รวมทั้ง ชุมชนยังมีศูนย์การเรียนรู้และจุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของชาวบ้าน

ประวัติความเป็นมา:

ข้อมูลทั่วไป

กลุ่มกระติบข้าวแม่คำภา จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 สมาชิกก่อตั้ง 29 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 35 คน เงินทุนทุนกลุ่ม 50,000 บาท รายได้ของกลุ่มเฉลี่ย ต่อเดือน 38,000 บาท ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม มีจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. กระติบข้าว

2. กระจาดไม้ไผ่

3. หวดนึ่งข้าว

4. หวดซิ่ง (สำหรับนิ่งข้าว อุ่นอาหาร ในหม้อหุงข้าว)

ผลิตภัณฑ์ที่ทำรายได้ให้กลุ่มสูงสุด จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กระติบข้าว และหวดซิ่ง

ความเป็นมาของภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านดอนกลอง เป็นหมู่บ้านที่มีภูมิปัญญาด้านการจักสานกระติบข้าว มวยนึ่งข้าว จากไม้ไผ่ และได้ถ่ายทอดภูมิปัญญารุ่นสู่รุ่น คนในหมู่บ้านสามารถจักสานกระติบข้าวได้ทุกวัย เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก วัยรุ่น จนถึงวัยชรา ทำให้เกิดรายได้ในครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง เป็นหมู่บ้านที่มีเศรษฐกิจดี ผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้านจากภูมิปัญญาเดิมเป็นกระติบข้าวรูปทรงกลม เมื่อกลุ่มได้รับความรู้ จึงเกิดการพัฒนาให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของตลาด ด้วยเอกลักษณ์ที่มีเส้นตอกขนาดเล็ก งานจักสานออกมาดูละเอียดสวยงาม มีคุณค่าความเป็นนวัตกรรม เมื่อกลุ่มได้รับการพัฒนาจากผลิตภัณฑ์เดิม คือ มวยซิ่ง ได้นำนวัตกรรมมาพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ "ถาดพาข้าว" หรือเป็นถาดรูปทรงกลมปรับรูปทรงผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับวิถีชีวิตในชุมชน คือ การทำสำรับใส่อาหารคาวหวาน (พาแลง) หรือผู้บรีโภคสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ เพิ่มวัสดุหนังเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น ซึ่งได้ปรับลวดลายให้เข้ากับอัตลักษณ์ของโครงการ KBO และชุมชน โดยจักสานเพิ่มตัวหนังสือ KBO YASOTHON โดยใช้ลายพระราชทาน "ลายดอกรักราชกัญญา" เข้ามามีส่วนร่วม ย้อมสีเพื่อให้งานดูมีมิติ ไม้ไผ่ใช้เทคนิคการรมควัน ทำให้มีความทันสมัย มีคุณค่าและสวยงามยิ่งขึ้น

ลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงอัตลักษณ์/เอกลักษณ์/ความโดดเด่น:

เป็นเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ ที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน มีอัตลักษณ์เป็นของชุมชน เช่น กระติบรูปช้าง กระติบลายผักแว่น และเครื่องจักสานตัวหนังสือ ตามความต้องการของลูกค้า มีสีธรรมชาติ และสีที่มีความปลอดภัย ระบบเกษตรอินทรีย์ เป็นการนำเอาสรรพคุณของสมุนไพรไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย ลดการใช้สารเคมี การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นพาแลงใส่อาหาร คาวหวาน หรือใช้ประโยชน์ได้ตามความต้องการ เช่น ประดับตกแต่งสถานที่ในงานต่าง ๆ ใช้เป็นของฝากของที่ระลึก

ความสำคัญ/ประโยชน์ต่อวัฒนธรรม :

1. ประธานกลุ่มฯ และสมาชิกกลุ่ม ทักษะด้านการออกแบบ การผลิต สามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เครือข่ายทางวัฒนธรรมอื่นได้

2. สามารถกระตุ้นให้ชุมชนเกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ หวงแหนในมรดกมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น ร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมของชาติในคงอยู่สืบต่อไป

3. ชุมชนและผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย สามารถสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ

4. สามารถพัฒนาทักษะด้านการออกแบบ การผลิต เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย มีคุณภาพและมาตรฐานที่สามารถแข่งขันได้ในเชิงพาณิชย์ในระดับสากล

อื่นๆ :องค์กรหน่วยงานร่วมสนับสนุนร่วมบูรณาการในการพัฒนาต่อยอด

- กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร

- กระทรวงอุตสาหกรรม : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 4,5,6 และ 7 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดยโสธร

- กระทรวงมหาดไทย : กรมการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยโสธร, องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร

- กระทรวงพาณิชย์ : สำนักงานพาณิชย์จังหวัดยโสธร

สถานที่ตั้ง
เลขที่ 21 หมู่ที่/หมู่บ้าน หมู่ที่ 8/บ้านดอนกลอง
ตำบล หนองเรือ อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
นางคำภา ชาติชาย
บุคคลอ้างอิง เสาวภาคย์ กมลภากรณ์ อีเมล์ saowapak.kamolpakorn@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
ถนน แจ้งสนิท
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองยโสธร จังหวัด ยโสธร รหัสไปรษณีย์ 35000
โทรศัพท์ 045715137
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่