แซนโฎนตา คำว่า “แซน” คือ การเซ่นไหว้ “โฎนตา” คือ ปู่ย่าตายาย ดังนั้น ประเพณีนี้จึงหมายถึง การเซ่นไหว้ปู่ย่าตายายหรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นวันสารทเดือน ๑๐ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งเรียกว่า “เบญตูจ” ไปจนถึงวันแรม 14 - 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี เรียกว่า “เบ็จธม” แรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นยามที่ยมบาลปล่อยให้เปรตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานยังเมืองมนุษย์ และลูกหลานก็จะทำบุญเลี้ยงต้อนรับไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำ เป็นวันที่เปรตชนต้องกลับยมโลก โดยจะมีขั้นตอนตามพิธีกรรมตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร
- “เบญตูจ” ลูกหลานจะเตรียมนำเครื่องเซ่นไหว้ ไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ (วันแรม 1 ค่ำเดือน 10)
- เบ็ญธม ก่อนถึงอย่างน้อย 3 วัน ลูกหลานที่อยู่ต่างถิ่น จะต้องเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อนำสิ่งของมามอบให้แก่พ่อแม่หรือผู้อาวุโสที่เป็นต้นตระกูลหรือผู้นับถือได้เตรียมจัดหาสิ่งของมาจัดทำการเซ่นไหว้ ได้แก่ อาหารคาวหวาน เช่น จัดทำข้าวต้มมัดจัดทำบายเบ็ญเครื่องเซ่นไหว้ สำรับกับข้าว 1 สำรับ เป็นต้ม 1 ตัว ไก่ต้ม 1 ตัว หรือมีอาจมีหัวหมู และขนมต่างๆ ได้แก่ ข้าวต้มที่ห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ข้าวต้มหมู ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขนมนางเล็ด ขนมไข่หงส์ เป็นต้น