ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 31' 57.5969"
13.5326658
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 22' 50.2748"
100.3806319
เลขที่ : 198452
โบราณสถานทุ่งเศรษฐี
เสนอโดย สมุทรสาคร วันที่ 18 ตุลาคม 2567
อนุมัติโดย สมุทรสาคร วันที่ 18 ตุลาคม 2567
จังหวัด : สมุทรสาคร
0 42
รายละเอียด

ทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้ง : ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

พิกัดภูมิศาสตร์ : รุ้ง ๑๓ องศา ๓๐ ลิปดา ๕๒ ฟิลิปดา เหนือ แวง ๑๐๐ องศา ๒๓ ลิปดา ๑๓ ฟิลิปดา ตะวันออก

พิกัดกริด ๔๙ PPQ ๕๐๐๙๔๔ (แผนที่ทหารลำดับชุด L๗๐๑๘ ระวาง ๕๐๓๖ IIพิมพ์ครั้งที่ ๑-RTSD มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐)

พิกัด UTM Zone ๔๗ P, E ๖๕๐,๐๙๙ , N ,๔๙๔,๔๕๑

เส้นทางเข้าสู่แหล่ง : จากจังหวัดสมุทรสาครใช้เส้นทางสายมหาชัย-โคกขามระยะทางประมาณ ๖ กิโลเมตร แหล่งโบราณคดีทุ่งเศรษฐีจะตั้งอยู่ทางด้านขวามือ บริเวณริมลำคลองสหกรณ์

ลักษณะภูมิประเทศ : บริเวณที่ตั้งแหล่งโบราณคดีเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ทางด้านเหนือติดกับคลองสหกรณ์

ประวัติ : แหล่งโบราณคดีทุ่งเศรษฐีเดิมมีสภาพเป็นเนินดินกว้างประมาณ ๑๐ ไร่ ชาวบ้านเรียกกันว่า "ทุ่งเศรษฐี" ต่อมาเมือประมาณ ๒๐ ปีที่ผ่านมา ได้มีการขุดปรับพื้นที่เพื่อทำนากุ้งจึงได้พบเสาไม้ขนาดใหญ่ และเศษภาชนะดินเผาจำนวนมาก ในปัจจุบันยังคงพบหลักฐานโบราณวัตถุจากการทำนากุ้งอยู่เสมอ แหล่งโบราณคดีแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากคลองโคกขาม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร

หลักฐานทางค้านโบราณคดี : โบราณวัตถุส่วนใหญ่พบจากการทำนากุ้งซึ่งชาวบ้านได้เก็บรักษามีดังต่อไปนี้

• ขวดหรือแจกันหู เคลือบสีน้ำตาลลักษณะเป็นขวดหรือแจกันทรงสูง เนื้อแกร่งเคลือบสีน้ำตาลแกมเหลือง วิธีการเคลือบจะเคลือบในส่วนบนทั้งหมด และเลยส่วนกึ่งกลางลำตัวมาเล็กน้อย ส่วนล่างไม่เคลือบเนื้อสีขาวนวล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๘ เซนติเมตร สูง ๑๓.๒ เชนติเมตร ปากตรงคอแคบสั้น ส่วนตัวยาวฐานมีเชิงเตี้ย หูปั้นแปะอยู่ระหว่างส่วนไหล่และปาก ผลิตจากเตาเมืองศรีสันชนาลัย อายุราวต้นถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑

• กุณฑีดินเผาเนื้อค่อนข้างหยาบ สีขาวนวล ลักษณะกลมแป้น ส่วนคอคอดชำรุด พวยเป็นกระเปาะคล้ายเต้านม ไม่มีหูจับ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๙.๕ เซนติเมตร

• ขวดหรือแจกันดินเผาเนื้อดินค่อนข้างหยาบ สีน้ำตาลดำ ลักษณะทรงกลม คอแคบสูง ขอบปากผาย กันกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๐.๕ เซนติเมตร

• กระปุกดินเผาขนาดเล็กเนื้อดินค่อนข้างแกร่ง สีขาวนวล และแบบเคลือบสีน้ำตาลเป็นลายจุดและลายแถบรอบลำตัว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓..๘-๔.๘ เซนติเมตร สูง ๓-๓.๕ เซนติเมตร

• หม้อทะนนเนื้อดินค่อนข้างหยาบ สีน้ำตาลแดง ลักษณะทรงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๙ เซนติเมตร ปากบานออก มีการตกแต่งผิวด้วยลายกดประทับและลายเชือกทาบ จากแหล่งเตาภาคกลางอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๓

• ไหดินเผาเนื้อดินแกร่งสีขาวนวล ลักษณะทรงกลมแป้น ปากตรง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๑ เซนติเมตร

• เตาเชิงกรานดินเผาลักษณะเป็นเตาเชิงกรานขนาดเล็ก สภาพชำรุด ตัวเตาทรงกลมด้านหนึ่งผายออกมีปุ่มกลมสำหรับรองรับภาชนะ

• ฝาตลับดินเผาขนาดเล็กเนื้อดินแกร่ง สีขาวนวล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓.๓ เซนติเมตร ลักษณะเป็นฝาตลับทรงมังคุด มีลวดลายใบไม้ด้านบน และลายคล้ายกลีบบัวด้านข้างเป็นร่องลึก ผลิตจากเตาเมืองศรีสัชนาลัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ การกำหนดอายุสมัย : สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒)

การประกาศขึ้นทะเบียน : ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียน

ประเภทของโบราณสถาน : แหล่งชุมชนที่อยู่อาศัยสมัยโบราณ

หมวดหมู่
แหล่งโบราณคดี
สถานที่ตั้ง
ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง
ตำบล พันท้ายนรสิงห์ อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสาคร อีเมล์ culture.skn@gmail.com
ตำบล มหาชัย อำเภอ เมืองสมุทรสาคร จังหวัด สมุทรสาคร
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่