ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 47' 43.1614"
13.7953226
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 8' 14.9914"
102.1374976
เลขที่ : 198459
ที่มาของการทอดกฐิน
เสนอโดย สระแก้ว วันที่ 30 ตุลาคม 2567
อนุมัติโดย สระแก้ว วันที่ 30 ตุลาคม 2567
จังหวัด : สระแก้ว
0 338
รายละเอียด

การทอดกฐิน คือการนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างน้อย ๕ รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์เป็นผู้รับกฐิน วัดหนึ่งจะรับกฐินได้เพียงปีละ ๑ ครั้งเท่านั้นและรับได้เฉพาะในช่วงกฐินกาลตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒

ที่มาของการทอดกฐินมีปรากฏอยู่ในพุทธประวัติว่าครั้งหนึ่งมีภิกษุชาวปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป ได้เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหลังออกพรรษาด้วยความยากลำบาก เพราะฝนยังตกชุกอยู่ ทำให้จีวรเปื้อนโคลนและเปียกชุ่ม พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบาก จึงทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ผู้จำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้วสามารถกราน (รับผ้า) กฐินได้ เพื่อจะได้มีจีวรเปลี่ยนใหม่

ความจริงคำว่า “กฐิน” ไม่ได้หมายถึงผ้า แต่เป็นชื่อเรียกกรอบไม้แม่แบบสำหรับทำไตรจีวร ในสมัยโบราณ การเย็บจีวรเป็นเรื่องใหญ่ พระสงฆ์จะต้องช่วยกันเย็บ แม้แต่พระพุทธเจ้ายังต้องทรงช่วยด้วย ในสมัยนั้น การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดทำได้ยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้เป็นแม่แบบสำหรับทาบผ้าลงไปขึงให้ตึง (ทำนองเดียวกับสะดึง) แล้วค่อยตัดเย็บ

สถานที่ตั้ง
ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
บุคคลอ้างอิง นายอติวิชญ์ ชูภักดี อีเมล์ sakaeo.culture70@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระแก้ว
ถนน สุวรรณศร
ตำบล ท่าเกษม อำเภอ เมืองสระแก้ว จังหวัด สระแก้ว รหัสไปรษณีย์ 27000
โทรศัพท์ 037425029 โทรสาร 037425030
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่