ข้าวแคบ(ข้าวเกรียบ) และข้าวพัน เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวบ้านในเขตอำเภอเมืองตากและอำเภอใกล้เคียง ข้าวแคบ ทำมาจากแป้งข้าวจ้าวที่หมักไว้ประมาณ 2 คืน พอให้มีรสเปรี้ยว เติมเกลือ เพื่อรสเค็ม และ งาดำ เพื่อให้มีความมัน และหอม จากนั้น เมื่อปรุงรศแล้ว ก็จะนำแป้งมาละเลงบนเตา ที่ใช้ผ้าขาวบางกรุอยู่บนปากหม้อที่ตั้งอยู่บนหม้อน้ำที่เดือดได้ที่ เมื่อละเลงแป้งเป็นแผ่นแล้ว ก็ปิดฝาไว้ ประมาณ 30 วินาที ก็จะใช้ไม้ไผ่ แซะแผ่นแป้งออกจากผ้าขาวปาง โดยม้วนแผ่นแป้งให้กลม แล้วนำไปตากให้เป็นแผ่นบนไพคา ข้าวแคบหรือข้าวเกรียบของอำเภอเมืองตาก มี ๒ ชนิดคือ ชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเจ้า จะเป็นแผ่นบางๆ รสจืด มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว อีกชนิดหนึ่งทำจากแป้งข้าวเหนียวเป็นแผ่นหนากว่า แป้งข้าวเจ้าแต่รสเค็มและมีขนาดเล็กกว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓ นิ้ว ปัจจุบันผู้ทำข้าวแคบบางคนอาจปรุงรส เผ็ด เค็ม เปรี้ยว หรือ หวานเล็กน้อย ลงไปก่อนที่จะทำให้สุกเป็นแผ่น ข้าวเกรียบ เป็นของกินทําด้วยแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียว เป็นแผ่นตากให้แห้ง แล้วปิ้งหรือทอด มีหลายชนิดซึ่งแล้วแต่ผสมเข้าไป เช่น ข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา ข้าวเกรียบกุ้ง เป็นต้น ข้าวแคบ คือข้าวเกรียบพื้นเมืองชนิดหนึ่งซึ่งชาวล้านนา คงรู้จักกันดี แต่ที่ลับแลนั้น ข้าวเเคบถือว่าป็นอาหารยอดนิยม และ ทำรายได้ให้กับผู้ผลิต ได้อย่างดี และยังมีวิธีบริโถคข้าวแคบนี้ อีกมากมาย เมื่อออกมาจากเตาใหม่ๆนั้น จะเรียกว่า " ข้าวพัน " และสามารถบริโภคได้ทันที โดยจิ้มกับน้ำจิ้มที่ปรุงรสไว้) ตากไว้ประมาณ ครึ่งวันก็จะได้แผ่นข้าวแคบที่พร้อมบริโภคได้ อดีตชาวเมืองตากนิยมใช้ข้าวแคบพันข้าวเหนียว ในตอนเช้า เมื่อนึ่งข้าวเสร็จใหม่ๆ เมื่อโดนความร้อน ข้าวแคบก็จะอ่อนตัว นำมาพันข้าวเหนียว ก็อร่อยแล้ว ถือว่าเป็นอาหารจานด่วนได้เลย