ในอดีตชาวอำเภอบ้านตาก เมื่อหมดจากฤดูการทำไร่ทำนาแล้ว หนุ่มสาวก็จะนัดหมายกันจัดให้มีรำวงพื้นบ้าน เพื่อพบปะพูดคุยสร้างความสนุกสนานกัน โดยใช้บริเวณลานบ้านกว้าง ๆ ทำกิจกรรม ผู้คนที่ทราบว่าจะมีรำวงพื้นบ้านต่างก็พากันจูงลูกจูงหลานไปดู คืนไหนเดือนหงายจะใช้แสงจันทร์ส่องสว่าง ถ้าคืนไหนเดือนมืดก็จะก่อไฟไว้กลางลาน ผู้ชมจะนั่ง ยืน กันตามถนัดเป็นวงกว้าง หนุ่มสาวจะรำไปโดยรอบกองไฟ การแต่งกาย หนุ่มจะใส่เสื้อเข้าในกางเกง ข้อมือผูกผ้า สาว ๆ จะนุ่งซิ้นและเสื้อสีสันสดใส เครื่องดนตรีในสมัยนั้นจะใช้กลองสองหน้ากับลูกซัด ต่อมามีการเพิ่มเติมเครื่องดนตรีตามแต่จะหาได้ เนื้อเพลงที่ใช้กันจะมีเนื้อหาในการชมธรรมชาติ การเปรียบเทียบ การหยอกเย้า เกรี้ยวพาราสี การบอกความในใจได้อย่างมีความหมาย ซึ่งท่วงทำนองก็มีความไพเราะไปตามสมัย นิยมร้องรำตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น ลอยกระทง ปีใหม่ งานบวช เป็นต้น รายชื่อศิลปินรำวงพื้นบ้าน อำเภอบ้านตาก คณะศรีท่านา-วารีทิพย์นักดนตรี ๑. นายประนอม จันทร์อ้น (ระนาด)๒. นายมงคล ปัญญาไว (ตะโพน)๓. นายสอน ปานแดง (ซึง)๔. นายวิวาห์ วิยะขัน (ฉิ่ง)๕. นางน้อย จันทร์อ้น (กรับ)นางรำ ๑. นางชิ้น คำมี๒. นางหนู วงษ์ปัน๓. นางตุ๊ เงินดี๔. นางเชิญ พรมมาแบน๕. คุณรัตน์ หงส์หนึ่ง๖. นางประจวบ หงส์หนึ่งผู้ขับร้อง นางบังอร อินจันทร์