ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 10° 13' 38.2058"
10.2272793926461
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 5' 41.3997"
99.0948332585406
เลขที่ : 4541
วัดสวี (พระธาตุสวี หรือพระบรมธาตุสวี)
เสนอโดย - วันที่ 1 มกราคม 2553
อนุมัติโดย ชุมพร วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565
จังหวัด : ชุมพร
0 428
รายละเอียด

วัดสวี (พระธาตุสวี หรือพระบรมธาตุสวี)

ที่ตั้งหมู่ที่ 1 บ้านวัดสวี ตำบลสวี อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ประวัติพระธาตุสวี หรือพระบรมธาตุสวี มีตำนานเล่าว่าครั้งหนึ่งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชเสด็จยกทัพมาถึงเขตอำเภอสวี ได้พบเหตุการณ์ประหลาด มีกาฝูงหนึ่งบินมาจับอยู่บนกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์พากันส่งเสียงร้องและกระพือปีกอื้ออึง เมื่อรื้อกองอิฐออกก็พบฐานเจดีย์และพระบรมสาริกธาตุ จึงทรงปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ขึ้นและสมโภช 7 วัน 7 คืนแล้วขนานนามพระเจดีย์องค์นี้ว่าพระธาตุกาวีปีก(วีปีก เป็นภาษาปักษ์ใต้ หมายถึง กระพือปีก) ต่อมาจึงเรียกเพี้ยนสั้นลงว่าพระธาตุสวี

ตำนานยังเล่าว่า ก่อนที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราช จะเสด็จยกทัพกลับทรงเรียกหานายทหารที่สมัครใจจะอยู่ดูแลรักษาองค์พระธาตุ เผอิญมีทหารนายหนึ่งชื่อเมืองรับอาสาพระองค์ จึงรับสั่งให้ตัดศรีษะนายเมืองเพื่อเซ่นบวงสรวงดวงวิญญาณรักษาพระธาตุสืบไป โดยตั้งศาลไว้เรียกว่าศาลพระเสื้อเมือง

สำหรับวัดสวีมีประวัติว่าตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2325 ต่อมาในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 ยอดพระธาตุได้หักพังลงมา จึงมีการบูรณะครั้งใหญ่และมีการทำนุบำรุงรักษาสืบมา

สิ่งสำคัญ :

  1. พระธาตุสวีเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลรูปแบบจากพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จึงสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา คงได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้างด้านละ 8.50 เมตร มีซุ้มช้างและยักษ์ยืน มีบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออก ชั้นบนทำเป็นซุ้มพระล้อมรอบ ต่อด้วยเจดีย์ทรงระฆังประดับโมเสกสีทอง และมีเจดีย์จำลองประจำมุมทั้งสี่
  2. ระเบียงคตสร้างล้อมพระธาตุ มีทางเข้าทั้งสี่ด้าน โดยทางเข้าหลักอยู่ทางทิศตะวันออกทำเป็นซุ้มจัตุรมุขประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันประดับปูปั้นลายเทพนม
  3. ศาลพระเสื้อเมืองตั้งอยู่ทางด้านหน้าหน้าหรือทางทิศตะวันออกของพระธาตุสวี ซึ่งถัดก็จะเป็นแม่น้ำสวี เดิมเป็นอาคารไม้ก่อเป็นโรงเรียนปิดทึบ ต่อมาได้บูรณะใหม่เป็นอาคารทรงไทยหลังคา จั่วแบบตรีมุขมุงกระเบื้องดินเผาเคลือบ ภายในมีรูปปั้นของนายเมืองผุ้ดูแลพระธาตุ
  4. หอระฆังตั้งอยู่นอกระเบียงคตทางทิศตะวันออกฉียงใต้ เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น จารึกว่า“กตป.โญ พ.ศ.2497”

อายุสมัย: อยุธยา, รัตนโกสินทร์

ประวัติดำเนินการ:

พ.ศ.2459หลวงพ่อทอง พระครูดำ บูรณะพระธาตุสวี
พ.ศ.2524สร้างกำแพงล้อมรอบองค์พระธาตุสวี
พ.ศ.2538บูรณะระเบียงคต
พ.ศ.2539บูรณะศาลพระเสื้อเมือง
พ.ศ.2540บูรณะหอระฆังและปรับภูมิทัศน์
พ.ศ.2544ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจกานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127ง หน้า 10
วันที่ 21 ธันวาคม 2544 พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา
พ.ศ.2555ปรับปรุงพื้นที่ลานบริเวณองค์พระธาตุสวี
พ.ศ.2538บูรณะศาลพระเสื้อเมือง
พ.ศ.2540บูรณะหอระฆังและปรับภูมิทัศน์
พ.ศ.2544ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 10
วันที่ 21 ธันวาคม 2544 พื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 1 งาน 30 ตารางวา
พ.ศ.2555ปรับปรุงพื้นลานบริเวณองค์พระธาตุสวี
พ.ศ.2559บูรณะพระธาตุสวี
หนังสืออ้างอิง:
สุนันท์ บุษปภาชน์ และคีรี วิชิตกุล. ประวัติย่อพระบรมธาตุสวีและตำนานเมืองสวี. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จิราการพิมพ์, 2535

ที่มา : เนื้อหา / รูปภาพ

ภาณุวัฒน์ เอื้อสามาลย์.

โบราณสถานในจังหวัดชุมพร. –นครศรีธรรมราช : สำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, 2563. 200 หน้า

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดสวี (พระธาตุสวี)
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 บ้านสวี ซอย - ถนน -
ตำบล สวี อำเภอ สวี จังหวัด ชุมพร
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นางสาววารี ยอดครุฑ อีเมล์ waree2550@hotmail.com
ซอย - ถนน -
อำเภอ เมืองชุมพร จังหวัด ชุมพร รหัสไปรษณีย์ 86000
โทรศัพท์ 0813706688 โทรสาร -
เว็บไซต์ -
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่