ละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ
มีประวัติการก่อตั้งมาจากนายเพชร ศรีเพชร ชาวบางปลาที่ได้จัดตั้งคณะดนตรีไทย และสำนักดนตรีปี่พาทย์ในตำบลบางปลา และรับบรรเลงดนตรีไทยในงาน พิธีกรรมและมหรสพต่างๆ ขณะเดียวกันก็ ได้รับลูกศิษย์ดนตรีไทยกินนอนประจำคณะ ต่อมานายเพชร ศรีเพชรได้ถึงแก่กรรม คณะดนตรีจึงได้ตกเป็นของ บุตรสาว
คือ นางพุด และนายชิด ศรีอ่อน บุตรเขย ซึ่งมีการขยายกิจการของคณะโดย เพิ่มคณะละครชาตรี และปี่พาทย์มอญเข้าไปและดำเนินการเป็นคณะดนตรีไทยและละครชาตรีเอกชนอย่างเต็มตัว พอมาถึงยุคนายบุญเชิด
ศรีอ่อน เป็นยุคที่ยังคงรักษาสภาพเดิมไว้ คือ เป็นคณะดนตรี ไทยเอกชน และเป็นสำนักดนตรีปี่พาทย์ แต่เกิดปัญหา จึงได้เปลี่ยน ชื่อคณะใหม่ ชื่อว่า“คณะสุดประเสริฐ” และ ใช้ชื่อนี้ตลอดมาจนกระทั่งนายบุญเชิด ถึงแก่กรรมและปัจจุบัน กิจการอยู่นาง เพลินใจ แก้วสมนึก จึงได้ดูแลกิจการละคร ชาตรี คณะสุดประเสริฐ
�ได้เกิดเหตุการณ์และปัญหาบาง ประการในคณะ สมาชิกส่วนหนึ่งจึงแยกตัว ไปจัดตั้งคณะใหม่ จำนวนสมาชิกในคณะบุญ เชิดร่วมศิริ จึงลดลง ทำให้เกิดผลกระทบใน การรับงานของคณะ โต้โผได้แก้ไขปัญหาด้วย การนำนักแสดงและนักดนตรีจากที่อื่นมา ร่วมกับคณะของตน ซึ่งทำให้สามารถผ่านพ้น อุปสรรคไปได้ดี ภายหลังจากการแยกตัวของ สมาชิกแล้ว คณะบุญเชิดร่วมศิริ ได้เปลี่ยน ชื่อคณะใหม่ ชื่อว่า“คณะสุดประเสริฐ” และ ใช้ชื่อนี้ตลอดมาจนกระทั่งนายบุญเชิด ศรีอ่อนถึงแก่กรรม
ปัจจุบันนี้ ละครคณะสุดประเสริฐ อยู่ในความดูแลของนาง เพลินใจ แก้วสมนึก ซึ่งเป็นลูกสาวพร้อมกับพี่ชาย
ชุดการแสดง
ผู้ชาย นุ่งสนับเพลาเชิงกรอมถึงข้อเท้า นุ่งผ้าโจงกระเบนทับคาดเจียระบาด มีห้อยหน้า
ห้อยข้าง สวมสังวาลย์ ทับทรวง และกรองศอทับบนตัวเปล่า ศีรษะสวมเทริด
ผู้หญิง นุ่งผ้านุ่นาง ห่มสไบ กรอมคอ ทับทรวง กำไลสวม ทองกร ตะโพน เข็มขัดรัดสะเอว
ศีรษะปัจจุัับันสวมชฎา
ดนตรีประกอบการแสดง
เดิม ใช้วงปี่พาทย์ชาตรี มีเพียง โทนหรือทับ ๑ คู่ กลองตุ๊ก ๑ คู่ ฆ้อง ๑ คู่ เรียกว่าฆ้องคู่หรือฆ้องราง ปี่นอก กรับ และ ฉิ่ง วงปี่พาทย์ชาตรี มีเครื่องมือดำเนิน ทำนอง อย่างเดียวคือ“ปี่” ทำหน้าที่ เป่า คลอ กับการร้องเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ เปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบละครนอกก็จะมีการเพิ่มระนาดเข้ามา บางทีก็ใช้เครื่องคู่ เครื่องใหญ่ แล้วแต่ฐานะ และทุนทรัพย์ของเจ้าภาพ
เรื่องที่จัดแสดง ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง เกี่ยวกับจักรๆ วงศ์ๆ ในวรรณคดีไทย เช่นสังข์ทอง แก้วหน้าม้า
นางสิบสอง พระรถเมรี พระสุธนมโนราห์ ไกรทอง
เพลงที่ ใช้บรรเลงประกอบส่วนมากจะใช้เพลง เหมือนๆ กัน ซ้ำกัน และผู้แสดงก็ร้องได้อยู่ แล้ว
สำหรับเพลงประจำที่คณะสุดประเสริฐ ใช้ในการบรรเลงรำถวายมือ และการแสดง ละครชาตรี มี ดังนี้
เพลงโหมโรงเช้า เพลงที่ ใช้ประกอบการรำแก้สินบน ประกอบด้วย เพลงจระเข้หางยาว เพลงเต่ากินผักบุ้ง เพลง สร้อยสนตัด และเพลงตะวาน
สถานที่และงานแสดงละครชาตรีของ คณะสุดประเสริฐส่วนใหญ่
ปัจจุบันทางคณะจะรับ งานแสดงตามที่มีผู้ว่าจ้างจ้างเท่านั้น
THAILAND PERFORMING ARTS ภูมิปัญญาด้านศิลปะการแสดงของประเทศไทย THAILAND PERFORMING ARTS ๒๐๖
ที่มา:http://www.culture.go.th/knowledge/homethai/TPA/1043.pdf
ภาพประกอบโดย ละครชาตรีคณะสุดประเสริฐ