ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 6° 29' 41.1256"
6.4947571
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 32' 41.8196"
101.5449499
เลขที่ : 47675
ผ้าคลุมผมสตรีมุสลิม ปักเลื่อม
เสนอโดย admin group วันที่ 18 มีนาคม 2554
อนุมัติโดย ยะลา วันที่ 30 มิถุนายน 2554
จังหวัด : ยะลา
0 956
รายละเอียด

ผ้าคลุมผม คือส่วนประกอบหนึ่งของการแต่งกายของหญิงมุสลิมที่เรียกว่า "ฮิญาบ" ซึงถือว่าเป็นชุดที่จะทำให้พ้นจากสายตาอันลวนลามและเทะโลม และที่สำคัญช่วยป้องกันไฟนรก อันจะลามเลียส่วนของร่างกายที่ถูกเปิดเผยนอกจากที่บริเวณใบหน้าและฝ่ามือ ผู้หญิงที่สวมใส่ฮฺญาบกว่าจะทำได้ต้องต่อสู้(ญิหาด) กับอารมณ์ของตนเองอย่างยิ่ง เพราะความรักสวยรักงาม สายตาของผู้คนโฉบเฉี่ยวมายังตัวเธอนั้นคือ อารมณ์ปรารถนาที่อัลเลาะห์ไม่ส่งเสริม ทุกวันนี้ การแต่งกายของหญิงมุสลิมที่เรียกว่า ฮิญาบ กำลังเป็นรูปแบบที่แผ่ขยายวงกว้างมากขึ้นทุกขณะ จากความเป็นฮัจญะห์เท่านั้นต้องคลุมผม หรือการคลุมผมเป็นชุดของชาวมุสลิมภาคใต้ใกล้ ๆ มาเลเซียหรือเป็นชุดเฉพาะของคนอาหรับนี้มีมานานหลายศตวรรษ บัดนี้หญิงมุสลิมส่วนใหญ่ รู้แล้วว่าการแต่งกายที่มิดชิดและสำรวมพยายามไม่ให้เผยส่วนสัดดังคำสอนจากฮัลลอฮ ดังโองการที่ว่า “และจงกล่าวแก่หญิงศรัทธาทั้งหลายให้พวกนางลดสายตาลงต่ำ และปกป้องอวัยวะเพศของพวกนางและจงอย่าให้ใครเห็นอวัยวะของพวกนาง เว้นแต่ปรากฏที่อยู่ภายนอก และให้นางกระชับผ้าคลุมผมของพวกนางมาปิดหน้าอกของพวกนาง” จากข้อเขียนข้างต้น สะท้อนให้เห็นความสำคัญของผ้าคลุมผมที่มิใช่เป็นเพียงเครื่องอาภรณ์นั้น แต่เป็นสิ่งที่ผู้หญิงมุสลิม จังหวัดนราธฺวาส ซึ่งได้มีโอกาสไปทำงานหาบแร่ที่ประเทศมาเลเซีย แล้วไปพบคนปักผ้าคลุมผม จึงได้ศึกษาวิธีการ แล้วเริ่มอาชีพปักผ้าคลุมผมอย่างจริงจัง ซึ่งในช่วงแรกซื้อผ้ามาตัดแล้วปักเองซึ่งในการทำอาชีพนี้ปิดเป็นความลับ ไม่เปิดเผยให้เพื่อนบ้านรู้ เมื่อทำไประยะหนึ่งก็ร่ำรวยในเวลาอันรวดเร็วเพื่อนบ้านคิดว่าน่าจะทำการค้าที่ผิดกฏหมาย จึงมีความจำเป็นต้องเปิดเผยที่มาของร่ำรวย เมื่อข่าวออกไปว่าทำอาชีพผ้าคลุมผมทำให้ร่ำรวยส่งผลให้อาชีพนี้เป็นที่แพร่หลายอย่างรวดเร็ว ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดยะลา แต่งกายตามความนิยมของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น จิตติมา ระเด่นอาหมัด เขียนบทความเรื่อง การแต่งกายของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (จิตติมา ระเด่นอาหมัด ๒๕๔๐) ดังนี้ ชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีประเพณีการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล และมีลักษณะแตกต่างจากการแต่งกายของชาวไทยโดยทั่วไป บ้างว่าคล้ายกับการแต่งกายของชาวมาเลเซีย และบ้างก็ว่าคล้ายกับชาวอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามการแต่งกายของชาวไทยมุสลิมก็ไม่เหมือนสองชาติดังกล่าวเสียทีเดียว แต่อาจจะได้รับอิทธิพลบ้าง โดยสืบเนื่องมาจากทำเลที่ตั้ง ซึ่งมีการติดต่อไปมาค้าขายมาตั้งแต่อดีต การแต่งกายของหญิงไทยมุสลิมตามประเพณีดั้งเดิมที่ยังคงความนิยมในปัจจุบันสำหรับทุกวัยคือ ชุดกุรง ลักษณะเป็นเสื้อคอกลมติดคอ ผ่าหน้า พอสวมศีรษะได้ ติดกระดุมคอ ๑ เม็ด หรือเข็มกลัด ๑ ตัว แขนกระบอกยาวเกือบจรดข้อมือ หรือต่ำกว่าข้อศอก ใต้รักแร้ ระหว่างตัวเสื้อและแขนต่อด้วยผ้าสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ตัวเสื้อหลวมยาวคลุมสะโพก เสื้อกุรงมักสวมเป็นชุดกับผ้าปาเต๊ะหรือจะใช้ผ้าชนิดเดียวกันกับเสื้อ ทำเป็นถุงธรรมดาหรือนุ่งจีบรวมไว้ข้างเดียวที่สะเอวข้างใดข้างหนึ่ง ตามแบบการนุ่งผ้าของชาวรัฐยะโฮ มาเลเซีย และหากไปงานหรูหราก็อาจนุ่งผ้ายกเงินทองที่เรียกว่า ผ้าซอแก๊ะ การแต่งกายแบบนี้มีผ้าคลุมศีรษะหรือคลุมไหล่ดังกล่าวข้างต้น หรือใช้ผ้าโปร่งที่ปักเลื่อมงดงามและมีขนาดเล็กกว่าผ้าป่านคลุมศีรษะโดยทั่วไป สมัยก่อนหญิงที่แต่งกายแบบนี้มักจะเกล้าผมมวยหรือถักเปีย การแต่งกายของหญิงในท้องถิ่นนี้อีกแบบหนึ่งคือ เสื้อบายอ ลักษณะเป็นเสื้อคอวีผ่าหน้าตลอด กลัดด้วยเข็มกลัด ซึ่งส่วนใหญ่นิยมกลัด ๓ ตัว แต่ละตัวมีสายโซ่ต่อกัน แขนเสื้อยาวปลายกว้างเล็กน้อย ตัวเสื้อค่อนข้างหลวมยาวคลุมสะโพก ชายเสื้อตรงหรืออาจแหลมเล็กน้อย เสื้อบายอนี้ใช้กับผ้าถุงธรรมดา ปัจจุบันเสื้อบายอเป็นที่นิยมเฉพาะหญิงมุสลิมสูงวัยเท่านั้น และมักคลุมศีรษะเช่นเดียวกับการแต่งกายชุดกุรง สำหรับหญิงที่เป็นหะยี หรือฮัจยะห์ นิยมคลุมศีรษะ ๒ ผืน ๆ หนึ่งเป็นผ้าสีขาวบาง ๆ มีลวดลายเล็ก ๆ หรือไม่มี เรียกว่า มือดูวาเราะห์ เป็นผ้าที่ซื้อมาจากซาอุดิอาระเบีย ใช้สำหรับปิดผมให้มิดชิด และอีกผืนหนึ่งเป็นผ้าป่านสำหรับคลุมตามประเพณีท้องถิ่น ในปัจจุบันมีโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามหรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า โรงเรียนปอเนาะ เกิดขึ้นทั่วไปในท้องถิ่นนี้ ทางโรงเรียนได้กำหนดชุดนักเรียนขึ้น นักเรียนหญิงจะแต่งตัวชุดดะวะห์ ประกอบด้วยเสื้อกุรงสีขาว ผ้าถุงสีพื้นจะเป็นสีใดก็ได้ แล้วแต่ระเบียบของโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นผ้าถุงสำเร็จหรือกระโปรงปลายบานยาวกรอมเท้า จุดเด่นของชุดดะวะห์ คือ ผ้าคลุมศีรษะอันประกอบด้วยผ้าสีดำสำหรับปิดผม แล้วคลุมทับด้วยผ้าขาวหรือดำยาวคลุมไหล่อีกชั้นหนึ่ง การแต่งกายของชาวไทยมุสลิมโดยทั่ว ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ได้ประยุกต์การแต่งกายแบบพื้นเมืองและแบบสากลเข้าด้วยกัน หญิงชาวบ้านยังนุ่งผ้าปาเต๊ะ สวมเสื้อบานงหรือบายอหรือกุรง หรือเสื้อประเภทท่อนที่ตัดเย็บแบบสากลหรือเสื้อยืด ถ้าอยู่กับบ้านจะไม่ใช้ผ้าคลุมศีรษะ แต่เมื่อออกจากบ้านบางครั้งจึงจะคลุมศีรษะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฐานะ วัย และการศึกษา ประเพณีการแต่งกายของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามหลักการแต่งกาย นอกจากจะปกปิดร่างกายให้มิดชิดเรียบร้อย ไม่เป็นที่ยั่วยุอารมณ์แล้วยังเป็นการรักษาเอกลักษณ์ที่แตกต่างไปจากศาสนิกชนอื่น ๆ ตั้งอยู่บนฐานของความไม่ฟุ่มเฟือย โดยเฉพาะผู้หญิง คนใดบรรลุนิติภาวะแล้วไม่สมควรที่จะเผยส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้ผู้อื่นเห็น นอกจากส่วนที่ใบหน้าและฝ่ามือทั้งสอง จะเห็นได้ว่าประเพณีการแต่งกายของมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่บนฐานของความสะอาด ความประหยัด ความไม่ฟุ่มเฟือย อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งไม่มีในภูมิภาคอื่นของประเทศไทย นอกจากนี้จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นที่ยอมรับของสังคมอันทรงไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีมาแต่โบราณ อันควรที่จะอนุรักษ์ไว้

คำสำคัญ
ผ้าคลุมผม
สถานที่ตั้ง
เลขที่ 1/16
ตำบล จะกว๊ะ อำเภอ รามัน จังหวัด ยะลา
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา
เลขที่ 37 ถนน สุขยางค์
ตำบล สะเตง อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา รหัสไปรษณีย์ 95000
โทรศัพท์ 073203511,073213916 โทรสาร 073203511
เว็บไซต์ ้http://province.m-culture.go.th/yala
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่