ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 12° 30' 55.9865"
12.5155518
ลองจิจูด (แวง) : E 102° 22' 15.4283"
102.3709523
เลขที่ : 51554
โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ
เสนอโดย admin group วันที่ 11 เมษายน 2554
อนุมัติโดย ตราด วันที่ 15 มิถุนายน 2565
จังหวัด : ตราด
0 370
รายละเอียด

โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ คำว่า โต๊ะโมะ เป็นภาษาชอง แปลว่า ฉางที่เก็บของ ภาษาเขมรต่ำ แปลว่า ภูเขาหรือเนินสูง กรมศิลปากร สันนิษฐานว่า โบราณสถานเขาโต๊ะโมะ เป็นซากโบราณสถานที่เก่าแก่และใหญ่โต ระบุไม่ได้ว่าเป็นสมัยใด ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สันนิษฐานว่าแท่งหินเหล่านี้เกิดจากการแทรกดันตัวของหินอัคนี เรียกว่า หินบะซอลท์ จากคำบอกเล่าเชื่อว่าคงมีการนำแท่งหินจากบ่อขุมทรัพย์ซึ่งอยู่บริเวณใกล้ เคียงกับโบราณสถาน มาเรียงกันเพื่อทำเทวสถานไว้เป็นเครื่องสักการะบูชา สังเกตได้จากการปลูกต้นโศกไว้รอบ ๆ เทวสถาน โดยมีลักษณะพื้นที่เป็นเนินดินแบบฝาชี มีแท่งหินเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นรูปสี่เหลี่ยมบ้าง แปดเหลี่ยมบ้าง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-20 เซนติเมตร ผิวนอกเป็นสีน้ำตาลอ่อน ภายในเป็นสีน้ำตาลแก่เกือบดำ บางแท่งเคาะแล้วมีเสียงดังกังวานเหมือนระฆัง ซึ่งน่าจะเกิดจากการกระทำของมนุษย์มากกว่าเกิดตามธรรมชาติ บริเวณพื้นที่รอบ ๆ โบราณสถานประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านพบวัตถุโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ประเภทหินขัด เครื่องปั้นดินเผา เครื่องบดยาหิน พระพุทธรูปเก่าแก่ จากหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นว่าบริเวณนี้อาจเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ หรืออาจเป็นการอพยพเร่ร่อนของชนเผ่าดั้งเดิมที่อพยพเคลื่อนย้ายมาอยู่ในแถบนี้

หมวดหมู่
โบราณสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดเมืองเก่าแสนตุ่ม
หมู่ที่/หมู่บ้าน 7
ตำบล ประณีต อำเภอ เขาสมิง จังหวัด ตราด
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตราด
ถนน ราษฎร์นิยม
ตำบล บางพระ อำเภอ เมืองตราด จังหวัด ตราด รหัสไปรษณีย์ 23000
โทรศัพท์ 039523948 โทรสาร 039523970
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่