ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 8' 8.2097"
18.1356138
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 7' 44.6581"
100.1290717
เลขที่ : 51932
ทอผ้าตีนจก
เสนอโดย นางสาววิภากรณ์ ราชฟู วันที่ 12 เมษายน 2554
อนุมัติโดย แพร่ วันที่ 23 ธันวาคม 2554
จังหวัด : แพร่
1 643
รายละเอียด
การดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่ต้องสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาใช้ร่วมกันนั้น จำเป็นต้องมีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มและที่อยู่อาศัยที่มีบางสิ่งบางอย่างสามารถใช้เป็นเครื่องแสดงสถานภาพทางสังคมของผู้คนได้เช่นเดียวกับเรื่องอาหารการกิน ในกรณีเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีทั้งผ้าไหมและผ้าฝ้าย ในอดีตมีการทอผ้าฝ้ายเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิด จนตาย ทุกเพศทุกวัย ทุกฐานะชนชั้นในสังคม และมีการถ่ายทอดสั่งสมวิธีการทอผ้าให้กับสมาชิกโดยเฉพาะผู้หญิง แม่หรือยายจะเป็นผู้รับหน้าที่ถ่ายทอดประสบการณ์การทอผ้าให้แก่บุตรสาวหรือหลานสาว จนสั่งสมเป็นภูมิปัญญาเปรียบเสมือนมรดกทางวัฒนธรรม ตีนจกเป็นผ้าทอมือของชาวบ้านในอดีต ทอขึ้นเพื่อนำไปต่อเป็นเชิงผ้าถุง ทำให้ผ้าถุงที่ชาวเหนือเรียกว่า ผ้าซิ่น มีความสวยงามยิ่งขึ้น ผ้าซิ่นที่ต่อเชิงด้วยผ้าทอตีนจกมีชื่อเรียกว่า ซิ่นตีนจก การทอผ้าตีนจกในจังหวัดแพร่ มีเพียงแห่งเดียวคือที่อำเภอลองหรือเมืองลอง ในอดีตผ้าทอตีนจกเมืองลองเป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงฐานะ ทางเศรษฐกิจและสังคมของผู้สวมใส่ เนื่องจากผ้าทอตีนจกเป็นผ้าที่ต้องใช้มือในการจัดทำและใช้เวลานาน จึงทำให้มีราคาสูงเมื่อเทียบกับผ้าซิ่นชนิดอื่น กลุ่มชนที่อาศัยในเมืองลองคือชาวไทยยวนหรือชาวไทยโยนกซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ของภาคเหนือได้สร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง รวมทั้งด้านการแต่งกาย ซึ่งชาวไทยยวนมีเทคนิคและศิลปะการทอผ้าในรูปแบบของตนเอง ศิลปะการทอผ้าตีนจกเป็นสิ่งที่ช่างทอผ้าชาวเมืองลองได้รับสืบทอดต่อกันมาจากการศึกษาจากผ้าทอโบราณ ภาพเจ้านายฝ่ายหญิงในอดีตของเมืองแพร่ และจากจิตรกรรมฝาผนังที่วัดเวียงต้า อำเภอลอง แสดงให้เห็นว่า ผ้าตีนจกเมืองลองมีประวัติมายาวนานมากว่า ๑๕๐ ปี เอกลักษณ์ของผ้าตีนจกเมืองลอง แหล่งทอผ้าตีนจกในประเทศไทยมีอยู่หลายแห่งซึ่งแต่ละที่ต่างมีลักษณะเฉพาะของตนเอง สำหรับแหล่งผลิตที่เมืองลอง หรืออำเภอลอง จังหวัดแพร่ เป็นแหล่งทอผ้าตีนจกที่สำคัญของภาคเหนือซึ่งมีเอกลักษณ์ของตีนจกที่สำคัญ คือ ความหลากหลายของสีพื้นที่แต่งลวดลาย ลวดลายที่ใช้ในการ ทอผ้ามีหลากหลายสวยงาม มีประโยชน์การใช้สอยสูง มีหลายขนาดให้เลือกใช้ และปัจจุบันมีราคาย่อมเยา ในอดีตช่างทอผ้าชาวเมืองลองส่วนใหญ่ทอผ้าจกในรูปผ้าตีนจกหรือตีนซิ่นเชิงผ้าถุงเป็นซิ่นจกที่นิยมใช้สวมใส่ในโอกาสสำคัญ เช่น งานเทศกาล งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน และการไปทำบุญที่วัด เป็นต้น ในปัจจุบันผ้าทอตีนจกเมืองลองได้พัฒนารูปแบบของผ้าให้หลากหลายขึ้นตามความจำเป็นและความต้องการใช้สอยที่สำคัญ เช่น ตีนจก ผ้าสไบหรือผ้าสะหว้านบ่า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าเทป ได้มีการประยุกต์ดัดแปลงลายโบราณให้เป็นลายใหม่ ตลอดจนมีการนำลายเก่ามาผสมกันใหม่หลายลาย แล้วให้สีสันที่หลากหลาย สวยงามกลมกลืน ทำให้ผ้าทอตีนจกของเมืองลอง ในปัจจุบันมีความสวยงามแปลกตา ผ้าทอที่ใช้ลวดลายประยุกต์นี้กำลังเป็นที่นิยมในหมู่ผู้ใช้ผ้าไทย โดยนำไปตกแต่งตัดเย็บกับผ้าสมัยใหม่ได้อย่างกลมกลืน
คำสำคัญ
ตีนจก ทอผ้า
สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่
เลขที่ 108 หมู่ที่/หมู่บ้าน 13 ถนน แพร่-ลอง
ตำบล ป่าแมต อำเภอ เมืองแพร่ จังหวัด แพร่ รหัสไปรษณีย์ 54000
โทรศัพท์ 054625496
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่