แกงผักหวานป่า
แกงผักหวาน มี ๒ ตำรับ คือ แกงผักหวานป่า และแกงผักหวานบ้าน นิยมแกงใส่ไข่มดแดง ซึ่งเป็นฤดูที่ผักหวานป่าผลิยอดในช่วง มีนาคม – มิถุนายน และเป็นช่วงเดียวกับมดแดงออกใข่ การแกงผักหวาน จะใส่ได้ทั้งปลาย่างสด และปลาแห้งก็ได้ สูตรนี้ใช้ผักขี้หูด ถั่วแปบ แทนผักหวานได้ แต่ไม่ใส่วุ้นเส้น ถ้าชอบมะเขือเทศก็ใส่ลงไปได้
วิธีทำ
๑) โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
๒) ต้มน้ำ พอเดือด ละลายเครื่องแกงในน้ำเดือด
๓) ใส่ปลาแห้ง ต้มจนปลานุ่ม
๔) ใส่ผักหวานป่า ต้มผักจนสุก
๕) ใส่วุ้นเส้น คนให้เข้ากัน ปิดไฟ
เคล็ดลับในการปรุง
ผักหวานป่าจะสุกช้ากว่าผักหวานบ้าน ควรต้มผักหวานให้นานกว่าจนผักนิ่ม แต่ไม่เหลือง
เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
ขนุนต้องใช้ขนุนอ่อนที่เม็ดยังไม่แก่ จึงจะทำให้ขนุนเปื่อยง่าย ควรเลือกขนุนอ่อนพันธุ์ทวายทั้งปี หรือพันธ์อื่นๆ ที่มีเนื้อแน่น รสชาติของน้ำแกงจะกลมกล่อมยิ่งขึ้น
อ้างถึงใน : รัตนา พรหมพิชัย. (๒๕๔๒). แกงผักหวานป่า.
ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ (เล่ม ๑, หน้า ๔๘๖).
กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.
เสาวภา ศักยพันธ์ และยุพยง วิจิตรศิลป์. (๒๕๓๘).
อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ. เชียงใหม่: ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม
สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.
มานพ ชื่นภักดิ์
นักวิชาการวัฒนธรรมชำนาญการ
อ้างอิง : แกงผักหวานป่า., (ระบบออนไลน์)
http://library.cmu.ac.th., ๒๕๕๔.