การทำ พานบายศรี สู่ขวัญ ที่บ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑-๒ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ความเชื่อในเรื่องเกี่ยวกับคนและสิ่งมีชีวิตของผู้คนภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่างเชื่อกันว่า สิ่งมีชีวิตแม้จะมีร่างกายเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญที่ประกอบมากับร่างกายคือ“ขวัญ ” เป็นจริงที่มีประจำร่างกายของทุกคนมีหน้าที่พิทักษ์รักษาดูแลและให้เจ้าของร่างกายให้อยู่ดีปกติสุข ยามใดที่ขวัญไม่อยู่กับร่างกาย ก็อาจจะทำให้ประสบเคราะห์กรรมได้รับอันตรายอาจถึงชีวิติ หรือการดำเนินชีวิตไม่เป็นปกติสุขนั้นเอง “ ขวัญ” จึงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะมนุษย์ “ ขวัญ” เป็นสิ่งพิทักษ์รักษาให้ร่างกายดำรงอยู่ได้ คนในท้องถิ่นแถบลุ่มน้ำโขงแทบทุกกลุ่มชน จึงมีพิธีกรรมเป็นการบำรุงขวัญสร้างกำลังใจให้เกิดแก่ขวัญ เพื่อให้คนและสรรพสิ่งต่าง ๆ ให้สามารถดำรงอยู่ซึ่งมีพิธีกรรมดังกล่าวเรียกกันว่า “ สู่ขวัญ.. สูตรขวัญ “ หรือปัจจุบันมักเรียกกันติดปากว่า “ บายศรีสู่ขวัญ ” บทความเกี่ยวกับการทำ “ บายศรีสู่ขวัญ ” ของพื้นบ้านอีสานได้รับความอนุเคราะห์ข้อมูล และรูปภาพ พระอาจารย์ชาลีปคุโณ วัดเฉลิมชัยบ้านผึ่งแดด คุณแม่วาสนา สุพร ปราชญ์ชาวบ้าน ผึ่งแดด ช่างทำพานบายศรี และจากหลายๆฝ่าย ในการทำบายศรีสู่ขวัญของชาวตำบลผึ่งแดดนั้น ข้าพเจ้าได้อาศรัยความเข้าใจน้อยนิด และความรักในประเพณีวัฒนธรรมของคนอีสาน เพื่อรวบรวมข้อมูลเรียบเรียงขึ้นมาเขียนเป็นตัวหนังสือ อาจจะขาดไปบ้างบางส่วน และบางขั้นตอน ทั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ที่จะรวบรวมผลงานของ “ช่างทำบายศรี ” และศิลปวัฒนธรรม – ประเพณีของชาวตำบลผึ่งแดด ในเชิงข้อมูลเพื่อจูงใจให้ได้ศึกษา ค้นคว้า นำไปอ้างอิง เผยแพร่ ได้อย่างถูกต้อง เป็นการอนุรักษ์สืบทอดงาน “ช่างทำบายศรี” ที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภูมิปัญญาของชาวอีสาน และชาวตำบลผึ่งแดด สืบไป พานบายศรี สู่ขวัญ ๒ การทำพานบายศรีสู่ขวัญ มีปรากฏในภูมิภาคแถบลุ่มแม่น้ำโขงทุกประเทศ ทุกกลุ่มชาติพันธุ์มีชื่อเรียกขานต่างกันไปตามภาคถิ่นนั้นๆและความเชื่อทั้งจากพื้นฐานความเชื่อดั่งเดิม ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ แม้กระทั้งความเชื่อพุทธศาสนา และศาสนาอื่นในประเทศไทย ในตำบลผึ่งแดด “การทำพานบายศรีสู่ขวัญ ” มีการสืบต่อสืบทอดอย่างชัดเจนในภาคอีสาน และภาคเหนือล้านนาในอดีต พิธีกรรมดังกล่าวยังมีอยู่จนถึงปัจจุบัน จนบางแห่งมาทำขึ้นใหม่ เพื่อนำคุณค่าของพิธีกรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในพิธีต่างๆหลายจังหวัด “การบายศรีสู่ขวัญ”เป็นกิจกรรมหลัก เช่น ที่บ้านภู ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร การท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ ก็มีการบายศรีสู่ขวัญเป็นกิจกรรมหลัก ตำบลผึ่งแดดมีบุคคลที่สำคัญ ประมุขของประเทศต่างๆมาเยือนประเทศไทยในภาคอีสาน กิจกรรมที่ขาดไม่ได้ก็คือ “ พิธีบายศรีสู่ขวัญ ” ให้แก่แขกบ้านแขกเมือง เพราะเป็นการสร้างเสริมจิตใจ เสริมกำลังใจให้แก่คนในดินแดนแถบนี้อย่างยิ่ง แต่เหนือสิ่งอื่นใด “ การบายศรีสู่ขวัญ” จะกระทำไม่ได้เลยหากขาดองค์ประกอบสำคัญ ซึ่งถือว่า เป็นเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ในการประกอบพิธีกรรมสิ่งนั้นก็คือ “พานบายศรีสู่ขวัญ” ๓ เครื่องสังเวยเทวดา การติดต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้พออกพอใจ สิ่งเหล่านั้นก็ต้องงดงาม และเป็นสิ่งแสดงออกถึงความตระการตาแม้จะถูกใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ตาม ดังนั้น “ช่างทำบายศรีสู่ขวัญ หรือ พาขวัญ” ต้องตระหนักในสิ่งนี้ ประการสำคัญถึงแม้ว่าสังคมยุคใหม่จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถเรียนรู้จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้เกือบทุกเรื่องราวก็ตาม แต่การสอนสั่งที่เป็นธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมปฏิบัติ ที่ให้ผู้เรียนรู้ รู้จักและเคารพอาจารย์ถือเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น การปฏิบัติและการเรียนรูจากครู – อาจารย์ได้สอนสั่ง จิตใจที่อ่อนโยน ความเอื้ออาทรความไม่แข็งกระด้างของคนรุ่นใหม่ ก็จะได้จากการเรียนรู้ จากการสั่งสอนแบบไทยๆ ที่เป็นภูมิปัญญาของคนท้องถิ่นอย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้ยังถือว่า มีคุณค่าอย่างมากมายให้แก่สังคมไทย การที่เราได้ใช้กิจกรรมด้านวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือให้คนรุ่นใหม่รับเอาแบบแผนในการดำเนินชีวิต จากการเรียนรู้แบบ “พาเฮ็ดพาทำ” ไม่เป็นการฝืนใจ หรือบังคับ ก็จะทำให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยดี ติดตัวไป และเกิดประโยชน์ต่อรู้เรียนได้อย่างแท้งจริง และยั่งยืน ในโลกปัจจุบัน ที่ความทันสมัยและเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนดให้เราเดินตามจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเดินตามโลกอย่างมีสติและในขณะเดียวกันก็จะต้องเปลี่ยนสิ่งต่างๆ จากอุปสรรคหรือปัญหาให้เป็นโอกาส โดยเฉพาะการนำศักยภาพของท้องถิ่น ภูมิปัญญาของท้องถิ่น และองค์ความรู้ต่างๆมาปรับเปลี่ยนให้สามารถนำมาใช้ในโลกยุคใหม่ โดยให้เกิดมูลค่าจากสิ่งเหล่านั้น บ้านผึ่งแดด หมู่ที่ ๑-๒ ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เรื่องของ “พานบายศรีสู่ขวัญ หรือพาขวัญ” ก็เช่นกัน ต้องนำมาสร้างกิจกรรม หรือสิ่งของให้มีมูลค่าให้เห็นเป็นรูปธรรม งานประเพณีลอยกระทง และงานบุญกฐิน ของตำบลผึ่งแดด องค์ประกอบคือต้องใช้พาขวัญเป็นเครื่องประกอบสำคัญ ต้อนรับแขก เราสามาทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือพาขวัญ สามารถที่จะทำประกวด “พานบายศรี” ในงานนี้ได้เช่นกัน และก็ให้เกิดการพัฒนาพานบายศรีได้อีกกระบวนการหนึ่ง ที่สำคัญการทำพานบายศรีขนาดเล็ก เพื่อเป็นของที่ระลึก ในงานต่างๆก็จะเป็นเครื่องเตือนใจ ๔. ผู้มาเยือนทั้งหลายได้นำไปเป็นสัญญาลักษณ์แห่งความผูกพันแทนพิธีกรรมแทนการมาร่วมงานได้ทางหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าให้เป็นของที่ระลึกในงานได้เป็นอย่างดีของบ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด ๒. งานบุญประทายข้าวเปลือก (บุญเบิกฟ้า) ของชาวบ้านผึ่งแดด ของชาวตำบลผึ่งแดด ก็จะใช้พานบายศรีขนาดใหญ่ในพิธีกรรมดังกล่าวเช่นกันซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ของทุกปี และกระทำพิธีบูชาเทวดา และ พระแม่โพสพ ก็ต้องใช้ “พานบายศรีหรือพาขวัญ” เข้ามาเกี่ยวข้องเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกข้าวถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งการทำพานบายศรีสู่ขวัญ หรือพาขวัญ” ให้เป็น เครื่องบูชาเทวดา โดยทำด้วยวัสดุที่คงทนอยู่ ได้นาน เพื่อให้ชาวนาได้นำไปบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่บ้าน ๓. การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้านและในท้องถิ่น ศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์หลักเมือง หลักบ้าน ผีหอปู่ตา ก็ล้วนแต่มีพานบายศรี เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น สิ่งเหล่านี้หากเราช่วยกันคิดช่วยกันทำและทำอย่างสร้างสรรค์ เชื่อว่า มีเม็ดเงินเข้าสู่หมู่บ้านไม่ใช่น้อย ได้อย่างสบาย ๔. การสร้างให้เป็นสัญญาลักษณ์สำคัญของทองถิ่นและพัฒนาเป็นของที่ระลึก หากท่านเป็นคนอีสาน สัญญาลักษณ์ก็ต้องเป็นของท้องถิ่นอีสาน พัฒนาเป็นของที่ระลึก จำหน่ายเป็นสินค้าที่ระลึกของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนตำบลผึ่งแดด ทำไหมจะทำให้พานบายศรี (พาขวัญ) สร้างมูลค่าให้ชาวช่างทำพานบายศรี (พาขวัญ) ของตำบลผึ่งแดด เช่นเดียวกับสิ่งของต่างๆเหล่านั้นไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบัน “พานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) ” เป็นสัญญาลักษณ์ของคนอีสาน ไปแล้ว ๕ เมื่อมาถึงวันนี้เราชาวอีสานทั้งหลาย ต้องฝึกการ “ทำพานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) ให้เกิดความถนัดและสวยงามยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน เราก็ต้องช่วยกันระดมความคิดมันสมอง ช่วยกันพัฒนางานช่าง”พานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) ” จะทำให้คุณค่าของงานศิลปกรรมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น มาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ งานศิลปะเฉพาะที่เกิดจากศิลปินได้สร้างขึ้นมา จะได้ถูกดูแลและรักษาไว้ ผลงานที่เป็นพานบายศรี มีลักษณะเฉพาะเกิดจากความคิด จิตนากาของช่างโบราณคนใดคนหนึ่ง คณะช่างทำพานบายศรี (พาขวัญ) ต้องช่วยกันถ่ายทอดให้กับชนรุ่นหลัง จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง มิฉะนั้นแล้ว เหล่าช่าง”ทำพานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) ” ก็จะถูกเลือนหายและจะเป็นเพียงผู้ถูกว่าจ้างทำงานช่างศิลปะเท่านั้น คนไทยคนลาว ที่อาศรัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และลุ่มน้ำสาขาต่างๆตั้งแต่แคว้นสิบสองปันนามณฑลยูนาน ประเทศจีน ลงมาจนถึงแม่น้ำโขงตอนล่าง ในภาคอีสานของประเทศไทย และภาคใต้ประเทศลาว คนเหล่านี้ ประเพณี-วัฒนธรรม และอารยธรรมที่แสดงถึงความรุ่งเรืองมาช้านาน “ภาคอีสาน และชาวไทยอีสาน” ของบ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร ก็เป็นส่วยหนึ่งของผู้สืบทอดประเพณี-วัฒนธรรมอันดีงามดังกล่าว กาลเวลานั้นได้ล่วงพันมาถึงปัจจุบัน สภาพเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองการปกครองของคนเผ่าไทย – ลาว ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยมีแนวคิดวิทยาการ และภูมิปัญญา จากดินแดนอื่นเข้ามาผสมปนเป ดังนั้น ประเพณีวัฒนธรรม (อารยธรรม) ของคนเผ่าไทย – ลาว บ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด ของเราท่านก็ไม่ได้ที่จะทำการยกเว้นแต่ประใดๆๆ....เลย บายศรีเป็นภาชนะที่ใช้จัดตกแต่งให้สวยงามพิเศษด้วยใบตองและดอกไม่สด เพื่อเป็นสำหรับใส่อาหารคาว – หวาน ในพิธีสังเวยบูชา และพิธีทำขวัญต่างๆ ในราชพิธี การทูลถวายบายศรีสู่พระขวัญ ต้องถวายเป็นลำดับชั้น บายศรีต้น ๙ ชั้น สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ๖ บายศรีต้น 7 ชั้น สำหรับเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า พระราชอาคันตุกะ ประเทศต่างๆ บายศรีต้น 5 ชั้น สำหรับเจ้านายที่ทรงกรม หรือเสนาบดี บายศรีต้น 3 ชั้น สำหรับพิธีสมรสของชั้นหลาน เจ้านายฝ่ายต่างๆ บายศรีชั้นเดียว (หรือบายศรีใหญ่ ใส่ขันน้ำพานรอง) ใช้ในพิธีทั่วไป ส่วนต่างๆที่ประกอบกันเป็น “พานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ)” มีความหมายเป็นอย่างดี เช่น กรวดข้าว หมายถึงความอุดมสมบูรณ์ ใบชัยพฤกษ์ (ใบคูณ) หมายถึง อายุยืนยาว ดอกดาวเรือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ดอกรัก หมายถึง ความรัก ความมั่นคง ไข่ต้ม ในกรณีบายศรีแต่งงานจะมีสองฟอง เป็นของเสี่ยงทายหัวใจ ฝ่ายชาย ฝ่ายหญิง จะมั่นคงมากน้อยเพียงใด ผ่าไข่ต้มเป็นสองซีก การดู ดูกันที่ไข่แดง ถ้าเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ทายว่าใจโลเลแต่ไข่แดงอยู่ตรงกลางแสดงว่าใจมั่นคง ไก่ต้ม ประกอบพิธีการเรียกขวัญที่ผู้ไปที่ไกล ๆ ให้ลุขะเทวดาได้นำมาส่ง ถือเป็นอีตหรือเป็นการบูชา สังเวยเทวดา (ชาวตำบลผึ่งแดด) คุณแม่วาสนา สุพร ช่างทำพานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) บอกถึงการต้มไข่ให้ไข่แดงอยู่ตรงกลางว่า... ในงานมงคลแต่ละที จะปล่อยให้ไข่แดงเอียงได้อย่างไร ? คงไม่เป็นมงคลมากนัก ภูมิปัญญาบ้านเรา “ผู้เฒ่า, ผู้แก่” ช่างทำบายศรีสู่ขวัญ บ้านผึ่งแดด ตำบลผึ่งแดด อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร มีวิธีอย่างหนึ่งคือ (เป็นเคล็ดลับ) ที่ไม่ลับ คือ ตอนนึ่งข้าวเหนียว เอาไข่ใส่ในข้าวตั้งไข่ให้ตรง พอข้าวสุกก็จะได้ไข่แดงอยู่ตรงกลาง เรื่องไข่เสี่ยงทายเป็นเรื่องง่าย แต่เรื่องการทำบายศรีสู่ขวัญเป็นเรื่องใหญ่ มากมาก ..... ใบตองที่จะนำมาทำบายศรีสู่ขวัญนั้น ต้องเป็นใบตองจากต้นกล้วยตานีเท่านั้น ถึงจะสวยงาม เลือกใบตองที่อ่อนแก่เท่า ๆ กัน สีจะได้เสมอกัน แล้วต่อด้วยการพับใบตองเป็นปีกผีเสื้อ, เป็นนิ้ว, เป็นปีกแมงดา มีผีมือแล้วยังไม่พอ “ต้องมีคนปลอด” แต่งงานแล้ว ผัว ๗ เมีย เมียเดียว พับใบตองสวยแล้ว เอาไปแช่น้ำส้ม เพื่อไม่ให้ใบตองเปลี่ยนสี ถึงเวลาเอาขึ้นมาผึ่งลม ทาน้ำมันมะกอกให้ขึ้นเงา ฝีมือช่างทำบายศรีสู่ขวัญบ้านผึ่งแดด ถ้า ๓ ชั้น ก็ต้อง ๒ วัน ถ้าเป็นงานใหญ่ ๗ ชั้น ก็ต้องทันถึง ๕ วัน ใช้ช่างฝีมือจำนวนมาก ใช้ความละเอียดอ่อน ความตั้งใจยาวนานเพียงนี้ เพื่อใช้ในพิธี เพียงไม่กี่ชั่วโม ก่อนที่เราจะทำการสู่ขวัญนั้น ควรให้ดำเนินการดังนี้ ๑. เชิญผู้รับการสู่ขวัญจุดเทียน ๒. กราบพระขอโอกาสก่อนค่อยสูตรขวัญ (ถ้าพระสงฆ์อยู่ที่นั้น) ๓. ขึงด้าย (สายสินธ์) ด้ายมงคลระหว่างพาขวัญกับผู้รับการสู่ขวัญและญาติ แล้วให้จับพาขวัญเวลาผู้เฒ่า, ผู้แก่ มอบพาขวัญ (มอบพานบายศรี) ให้จับเสื้อหรืออะไรต่อกันไป “การจับพาขวัญให้จับมือขวา ถึงบทสูตรขวัญให้ประณมมือ ๔. อันเชิญเทวดา(ชุมนุมเทวดา) ครับ เชิญมาเป็นสักขีพยาน ๕. เริ่มบทสูตรขวัญ บอกให้ผู้เข้าร่วมทุกคนประณมมือ ไว้ก่อน จนถึงบทสูตรที่ว่า ศรี... ศรี... จึงค่อยจับพานบายศรีสู่ขวัญ (พาขวัญ) อีกครั้งหนึ่ง ๖. พรมน้ำมนต์ (หรือวิดพาย) โดยพ่อหมอสูตรขวัญ (พราหมณ์) พิธีบายศรีสู่ขวัญ ยังไม่มีผู้ใดชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ... ความเป็นไป เป็นอย่างไร ผู้ที่เรียกขวัญหรือ ผู้ทำขวัญก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด (เพียงแต่มีการบอกเล่าสืบต่อกันมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์) คนอีสานมีความเชื่อกันว่า บรรดาคนทั้งหมดที่เกิดมาในโลกนี้มีธรรมชาติติดตามเจ้าของไปทุกคนทุกหนทุกแห่ง คำว่า “ขวัญ” เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างหน้าตาปรากฏให้เห็น ไม่สามารถถือ หรือจับต้องได้ แต่จะสังเกตได้ด้วยความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าเมื่อใด วันใด ขวัญของผู้นั้นหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้าม พิธีบายศรีสู่ขวัญที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน คนไทยอีสานบ้านผึ่งแดดเชื่อกันว่าเป็นพิธีกรรมหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มกำลัง, พลัง ใจให้เข้มแข็ง เมื่อมีขวัญที่มั่นคงแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์ คำว่า “บายศรี” (แปลว่า ข้าวที่เป็นมงคล) เป็นเอกลักษณ์ของพิธีกรรมที่เกี่ยวกับชีวิตของมนุษย์เรา ๘ บายศรี (พาขวัญ) จะเย็บด้วยใบตอง ทำเป็น ๓ ชั้น มีข้าว สิ่งของที่สำคัญอื่น ๆ ประกอบด้วยดอกบัว, เทียนชัย, น้ำมะพร้าวอ่อน, แว่นเทียน ๓ ชั้น เทียน ๙ เล่ม ด้วยสายสัญจน์ “บายศรี” ในที่นี้หมายถึง สังคมที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ต้องยึดมั่นด้วยคุณธรรม ๓ ประการ คือ พานบายศรี (พาขวัญ) ๓ ชั้น หมายถึง ๑. ประพฤติชอบด้วยกาย เรียกว่า กายสุจริต ๒. ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียกว่า วจีสุจริต ๓. ประพฤติชอบด้วยใจ เรียกว่า มโนสุจริต - ดอกบัว หมายถึง บัว ๔ เหล่า แต่ที่นี้หมายถึง เอาบังประเภทที่ ๔ ที่พ้นผิวน้ำจะชูก้านและดอก พร้อมจะขยายกลีบ เบ็งบาน เมื่ออาทิตย์สองแสงมาในยามเช้าของวันรุ่งขึ้น - เทียนใจ หมายถึง แสงสว่างทางปัญญา - น้ำมะพร้าว หมายถึง น้ำใจบริสุทธิ์ - แว่นเทียน หมายถึง ภพทั้ง ๓ ได้แก่ กายภพ, รูปภพ, อรูปภพ - เทียน ๙ เล่ม หมายถึง ไฟ ๓ กอง คือ ราคะ, โทสะ, โมหะ - ด้านสายสิญจน์ หมายถึง ห่วงแห่งความผูกผัน “พาขวัญ" จะใช้ (พาโตก) ที่ทำด้วยไม้, หวาย หรือทำด้วยทองก็ได้ มีประเพณีตั้งเครื่องบูชา คือ “บายศรี” หรือ ขันหมากเบ็ง ซ้าย - ขวา (ทั้งนี้แล้วแต่ท้องถิ่น)ในพาขวัญจะใส่ข้าวสาร, กล้วย, ข้าวต้มมัด, ขนม, ธูปเทียน, ผ้าผืน แพรวา, น้ำอบ น้ำหอม, ดอกไม้ใส่ตามยอดบายศรี ฝ้ายผูกแขน เทียนฮอบหัว (รอบหัว) ๑ เล่ม เทียนค่าคีง ๑ เล่น (ความยาวช่วงตัวจากเอวถึงไหล) ไข่ต้ม เท่าจำนวนผู้ที่จะรับขวัญ เทียนมงคลตั้งบนจอมพาขวัญ (ยอดพาขวัญ) , เครื่องคายบูชาขวัญ ให้ใส่ซอยไว้ที่ยอดบายศรี ก่อนประกอบพิธีให้เอาเครื่องคายบูชาผูกแขนพราหมณ์ (หมอสูตร) ก่อน พร้อมกับค่าคายเป็นเงิน (๑๒ บาท) หรือแล้วแต่งานนั้น ๆ (บางงานก็ให้ค่าคายบูชาแล้วก็แล้วไป) ความสำคัญอยู่ที่ค่าบูชาครูจะต้องให้ (ไม่ให้ไม่ได้ ) พร้อมกับเครื่องคาย ส่วนค่าตอบแทนนั้นเป็นเรื่องสินน้ำใจของผู้เชิญพราหมณ์มาสูตรขวัญนั้นนั้น การเข้าสู่พาขวัญ ผู้จะรับการสู่ขวัญนั้นให้นั่ง ผินหน้า (หันหน้า) ไปทางทิศราศีประจำวันตั้งอยู่ โบราณว่าจะเป็นมงคลยิ่ง ราศีประจำวันมีดังนี้ วันอาทิตย์ ราศีอยู่ที่ ทิศปัจจิม วันจันทร์ ราศีอยู่ที่ ทิศพายัพ วันอังคาร ราศีอยู่ที่ ทิศบูรพา วันพุธ ราศีอยู่ที่ ทิศอุดร วันพฤหัสบดี ราศีอยู่ที่ ทิศอีสาน วันศุกร์ ราศีอยู่ที่ ทิศทักษิณ วันเสาร์ ราศีอยู่ที่ ทิศอาคเนย์ เมื่อฟังแล้วประณมมือไปทางทิศหัวใจเป็นตั้งอยู่ ส่วนมากแล้วหมอสูตรในพิธีจะเป็นผู้บอก อยู่ให้รู้เพื่อแลกเปลี่ยนพอสังเขป ประจำอยู่ทิศดังนี้ วันอาทิตย์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศอุดร วันจันทร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศหรดี วันอังคาร หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศอีสาน วันพุธ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศบูรพา วันพฤหัสบดี หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศอาคเนย์ วันศุกร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศพายัพ วันเสาร์ หัวใจเป็นอยู่ทิศ ทิศทักษิณ ๑๐ การประณมมือไปทางทิศที่หัวใจเป็นอยู่ จะทำให้เกิดมงคลยิ่ง เราจะเห็นได้ว่า พิธีบายศรีสู่ขวัญนั้นล้วนแล้วแต่เป็นสิริมงคล เสริมขวัญกำลังใจให้กับผู้เข้าร่วมการสู่ขวัญ เพื่อนฟ้องน้องพี่, ญาติผู้ใหญ่, อาคันตุกะ ผู้มาเยือน วันเวลา สู่ขวัญ การสู่ขวัญนั้น ไม่นิยมกระทำในวันจมและวันคืนดับ (ข้ามแรม) นอกจากนั้นไม่ห้ามนอกจากนั้นการสู่ขวัญจะทำการประกอบพิธีในเวลากลางวัน แต่ตอนเย็น, ตอนกลางคืนก็ยังมีการกระทำกันอยู่ จึงไม่มีความสำคัญในเรื่อง กลางวัน - กลางคืน แต่จะยึดเอาวันเวลาที่เป็นมงคลเท่านั้นก็พอ เวลามงคลนั้นพ่อพราหมณ์จะบอกวันเวลา วันใดเป็นมงคล, เวลาใดเป็นมงคลแล้วผู้เตรียมงานต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด