สระมน วังโบราณเมืองกาแพงเพชร เมืองโบราณทุกเมืองต่างมีพระราชวัง ราชวัง หรือวัง แล้วแต่ ฐานะของเมืองนั้นๆ ที่เมืองกาแพงเพชร มีพระราชวังโบราณ อยู่ติดกับวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดหลวงประจาเมือง และหลักเมือง มีกาแพงดินขนาดสูงประมาณสามเมตร ติดอยู่ทางด้านประตูสะพานโคม หรือทางออกไปอาเภอพรานกระต่าย มีขนาดพระราชวังใหญ่ กว่า ๒๐ไร่ ซึ่งบางส่วนของสระมนอยู่ในบริเวณโรงเรียนกาแพงเพชรในปัจจุบัน ถัดจากกาแพงพระราชวังเข้ามา มีคูน้าล้อมรอบ คูน้านี้เอง เป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดมุมให้มนทั้งสี่มุม เราจึงเรียกกันทั่วไปว่าสระมน บริเวณศูนย์กลางของสระมนเป็นสระน้าขนาดใหญ่ ที่มีน้าขังทั้งปี อาจสันนิษฐานได้ว่า เป็นแหล่งน้ากินน้าใช้ในพระราชวัง บริเวณในสระมนไม่มีหลักฐานสิ่งก่อสร้างให้เห็นเหลืออยู่เลย เพราะสิ่งก่อสร้างที่ทาพระราชวัง คงก่อสร้างด้วยไม้ทั้งหมด เมื่อเมืองเก่ากาแพงเพชรเป็นเมืองร้าง คงพังและสลายไปกับกาลเวลาไม่มีอะไรให้เห็นเป็นหลักฐานอีก การขุดค้นหาหลักฐานของกรมศิลปากร ได้พบแต่กระเบื้องหลังคา และเศษภาชนะถ้วยชามซึ่งเป็นหลักฐานสาคัญว่าเป็นที่อยู่อาศัยของกษัตริย์เมืองกาแพงเพชร หรือเจ้าเมืองกาแพงเพชร แต่ละยุคสมัย ตามฐานะและความสาคัญของเมืองกาแพงเพชร ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่ก็ยืนยันได้ว่ากาแพงเพชรเป็นเมืองสาคัญเมืองหนึ่งในสมัยโบราณอย่างแน่นอน ถัดมาในเขตสระมน มีฐานศิลาแลง ขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นฐานอาคาร แต่ไม่เห็นเสาใดๆอาจเป็นอาคารไม้ ที่มีฐานก่อเป็นศิลาแลง ลักษณะมีทางเดินมาจากวัดพระแก้ว แวะมาสถานที่แห่งนี้ก่อนเข้าไปยังบริเวณอาคารพระราชวัง บริเวณแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นสถานที่ว่าราชการของกษัตริย์เมืองกาแพงเพชร เจ้าเมืองกาแพงเพชร อย่างแน่นอน สระมนเป็นสถานที่สาคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดกาแพงเพชรที่มิใคร่มีใครสนใจเท่าใดนัก เพราะ หานักท่องเที่ยวเข้าไปชมก็ยากยิ่งและไม่มีใครเขียนถึงไว้ อย่างเป็นหลักฐานชัดเจน ไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง กรมศิลปากรได้ขุดแต่งพบ ร่องรอยถนนเชื่อมต่อ ระหว่างวัดพระแก้วกับพระราชวังโบราณแห่งนี้ จึงเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า เป็นพระราชวังโบราณอย่างแน่นอน เมื่อพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นเมืองกาแพงเพชร ได้เสด็จเข้าพักในพลับพลาบริเวณสระมนแห่งนี้ ซึ่งเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๙ ก็เชื่อกันโดยทั่วไปว่า บริเวณแห่งนี้คือพระราชวังโบราณ ดังที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงบันทึกไว้ว่า ออกจากวัดไปที่หลักเมือง แล้วไปที่วัง วังนี้มีแนวเชิงเทินต่ารอบ ไม่เห็นมีกาแพงเหลือเลยเห็นจะใช้ระเนียดไม้เช่นเมืองพม่าเขาก็ยังใช้อยู่ ยาว๖เส้นไว้ชานในกว้าง๕เส้น ระหว่างระเนียดชั้นนอกพอสมควร พอการพิทักษ์รักษาและบริษัทบริวารจะอยู่ชั้นใน ขุดคูรอบจะมีระเนียดไม้ปากคูข้างในอีกชั้นหนึ่ง มีถนนเข้าสามด้าน เว้นด้านหนึ่ง ดูภูมิคล้ายสระแก้วเมืองพิษณุโลก ในกลางวังมีสระใหญ่รูปรีสระหนึ่ง ไม่มีรอยก่อสร้างเลย เห็นจะเป็นเรือนไม้ทั้งนั้น เขาปลูกพลับพลาและปะราที่พักในที่นี้ มีราษฎรมาประชุมเป็นอันมาก..................