ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 8° 24' 40.6044"
8.411279004324733
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 57' 58.108"
99.96614109851113
เลขที่ : 75290
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
เสนอโดย wannapha klatkesa วันที่ 25 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย นครศรีธรรมราช วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564
จังหวัด : นครศรีธรรมราช
8 18139
รายละเอียด

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และมีอายุการก่อสร้างเก่าแก่ โดยมีความสำคัญทางศาสนามาแต่โบราณ อีกทั้งมีโบราณสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีและศาสนา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารหรือ ที่ชาวนครเรียกว่าวัดพระธาตุโบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับพิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะให้มาบวชที่วัดพระธาตุ ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุเป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็น เอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้า บรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารประวัติ จากตำนานที่เล่าเรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ไ์ด้กลับ ไปลังกาโดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราชจึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ มีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น

สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระธาตุ

1. พระบรมธาตุเจดีย์
2. วิหารพระทรงม้า
3. วิหารเขียน
4. วิหารโพธิ์ลังกา
5. วิหารสามจอม
6. วิหารพระแอด
7. วิหารทับเกษตร
8. วิหารคด
9. วิหารธรรมศาลา
10. วิหารหลวง
11. วิหารโพธิ์พระเดิม
12. พระอุโบสถ
13. เจดีย์รายรอบพระบรมธาตุเจดีย์
14. โบราณวัตถุภายในวัด

นอกจากนี้ในบริเวณวัดพระธาตุ ยังจำหน่าย สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)เครื่องถมนคร งานฝีมือโบราณที่ ถือเป็นเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราช เครื่องถมหลากหลายทั้งแหวน สร้อย กำไล พาน ขันและอื่นๆ อีกมากมี แหล่งขายรวมอยู่ที่ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมืองบริเวณวัดพระมหาธาตุวรวิหาร และตลาดท่าวัง

การเดินทางไปวัดพระธาตุ

การเดินทางโดนรถยนต์ส่วนตัว
จากเส้นทางสาย 401 ถึงตัวเมืองนครศรีธรรมราช ไปที่ถนนราชดำเนิน เมื่อถึงตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารเด่นตระหง่านอยู่ด้านขวามือ
2. การเดินทางโดยรถสาธารณะ
ากตัวเมืองนครสามารถนั่งรถโดยสารสายสนามกีฬา-หัวถนน (รถมาสด้า) ค่าโดยสารประมาณ 10 บาท ไปลงหน้า วัดพระธาตุ หรือจะนั่งรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ประมาณ 20-50 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทาง

สถานที่ตั้ง

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณมีเนื้อที่ ทั้งหมดจำนวน 25 ไร่2 งาน

ประวัติความเป็นมา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ.1098 เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง

ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรมธาตุและสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง 4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม.กว้าง 1 เมตรเรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน

สมัยรัตนโกสินทร์ การบูรณะครั้งใหญ่ทำในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวในระหว่างปี พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2441 มีผู้นำในการบูรณะคือ พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถู ปาฏมาภิบาล (ปาน) ต่อมา พ.ศ. 2513 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมวิหารคดหรือพระระเบียงและมี การซ่อมอีกหลายครั้ง

สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้บูรณะปฏิสังขรณ์กลีบบัวทอง คำ ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมปลียอดทองคำโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารีเป็นองค์ประธานคณะกรรมการโครงการเหรียญบาทสืบทอดพระธาตุเมืองคอนโดยมีกรม ศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ โดยเสริมความแข็งแรงของปลียอด

อาณาเขตติดต่อมีดังนี้

ทิศเหนือ จดโรงเรียนวัดพระมหาธาตุ กว้าง 3 เส้น

ทิศใต้ จดถนนพระลาน กว้าง 3 เส้น

ทิศตะวันออก จดถนนราชดำเนิน ยาว 8 เส้น 10 วา

ทิศตะวันตก จดถนนพระบรมธาตุ ยาว 8 เส้น 10 วา

ความสำคัญต่อชุมชน

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีทั้งในเมืองนครศรีธรรมราช และ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะมีความสำคัญดังนี้

เป็นที่ตั้งขององค์พระบรมธาตุเจดีย์อันเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกลจะหลั่งไหลมามนัสการพระ บรมธาตุเจดีย์อยู่มิได้ขาดสาย มีโบราณสถานโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก อยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารซึ่งล้วนแล้วแต่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสิ้น เช่น พระวิหารหลวง วิหารพระม้า วิหารเขียน วิหารโพธิ์ลังกา วิหารสามจอม วิหารพระแอด วิหารทับเกษตร วิหารคดหรือพระระเบียง วิหารธรรมศาลา วิหารโพธิ์พระเดิม เจดีย์รอยองค์พระบรมธาตุเจดีย์ พระพุทธบาทจำลอง พระศรีมหาโพธิ์ พระพวย พระบรมราชา พระบุญมาก พระพุทธรูปปาง ประทานอภัย พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช โดยเฉพาะพระวิหารหลวงนั้นเป็นอาคารที่มีความใหญ่ โตและงดงามมากนับเป็นพระอุโบสถที่กว้างใหญ่ที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งเริ่มต้นของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่อง ด้วยองค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นที่รวมแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน จึงได้มีการนำ ทรัพย์สินเงินทองมาถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งทางวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารก็ได้ใช้วิหารเขียน เป็นที่เก็บรักษาสิ่งของขนาดเล็กที่ทำด้วยทอง เงิน นาก สำริด เช่น พระพุทธรูป ต้นไม้เงิน ต้น ไม้ทอง ถ้วยชาม และใช้วิหารโพธิ์ลังกาเก็บโบราณวัตถุ เช่นศิลาจารึก เครื่องปั้นดินเผา พระ พุทธรูป หีบศพเจ้าพระยานคร พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นต้น จึงได้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ของวัดไป เมื่อ พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้ประกาศรับพิพิธภัณฑสถานของวัดพระมหาธาตุวร- มหาวิหารเป็นสาขาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า ?ศรีธรรมราช พิพิธภัณฑสถาน? ซึ่งต่อมากรมศิลปากรก็ได้จัดสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จังหวัด นครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นแหล่งเริ่มต้นของหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2480 กรมศิลปากรได้มาตั้งหอสมุดแห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราชในวัด พระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยใช้สถานที่ที่วิหารสามจอม เมื่อมีหนังสือเพิ่มจึงได้ย้ายไปที่วิหาร ธรรมศาลา วิหารทับเกษตรและวิหารคด ตามลำดับ ต่อมากรมศิลปากรได้ไปจัดสร้างหอสมุด แห่งชาติสาขาจังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นที่หน้าวัดสวนหลวง ตำบลศาลามีชัย อำเภอเมือง นครศรีธรรมราช เป็นแหล่งกำเนิดประเพณีสำคัญ ๆ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ประเพณี แห่ผ้าขึ้นธาตุ ประเพณีตักบาตรธูปเทียน ส่วนประเพณีสวดด้านในปัจจุบันได้สูญหายไป ในวัน สำคัญทางพุทธศาสนาจะมีพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันมาทำบุญในวัดพระมหาธาตุเป็นจำนวน มาก ใช้เป็นสถานที่ประกอบราชพิธีและพิธีที่สำคัญในอดีต เช่น การแต่งตั้งเจ้าเมือง การถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีแรกนาขวัญ พิธีโล้ชิงช้า

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

โบราณวัตถุที่สำคัญในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารดังนี้

1.พระบรมธาตุเจดีย์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของพระบรมธาตุเจดีย์ เป็นทรงระฆังคว่ำ(โอคว่ำ) ปากระฆังติดกับพื้นกำแพงแก้ว ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้

ส่วนประกอบของพระบรมธาตุเจดีย์

ความสูงของพื้นถึงยอด สูง 37 วา ฐานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้าง 3 ศอก ฐานยาวด้านละ ยาว18 วา 1 ศอก 15 นิ้ว ยอดหุ้มด้วยทองคำหนัก 800 ชั่ง (600 กิโลกรัม) ส่วนที่หุ้มทองคำ สูง 6 วา 2 ศอก 1 คืบ ปล้องไฉน 52 ปล้อง หน้ากระดานปล้องไฉนมีพระเวียน 8 องค์ บัวคว่ำ บัวหงาย หุ้มด้วยทองคำแผ่น สูง6 วา 2 ศอก 1 คืบ ทองรูปพรรณหลายชนิด เช่น แหวน จำนวนมากกำไล ต่างหู ผูกแขวนบนปลียอดทองคำ บนยอดสุดมีบาตรน้ำมนต์ 1 ใบ รอบองค์เจดีย์ระฆังคว่ำ มีกำแพงแก้ว 4 ด้าน เท่ากัน กว้าง/ยาว 12 วา 2 ศอก รอบกำแพงแก้วมีใบเสมา และรั้วเหล็กรอบกำแพงแก้ว ฉัตร บังสูรย์ และกระดิ่งเป็นระฆัง ห้อย ฐานพระบรมธาตุเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีหัวช้างยื่นออกจากฐาน 22 หัว

2. วิหารพระทรงม้า (พระวิหารมหาภิเนษกรมณ์)

ตั้งอยู่ติดกับพระบรมธาตุเจดีย์ทางด้านทิศเหนือความกว้าง5 วา 10 นิ้วยาว 15 วา 3 ศอก สูง 7 วา ฝาผนังภายในวิหารมีภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์ทรงม้า เสด็จออกบรรพชา ลักษณะเป็นศิลปะอยุธยาตอนกลาง โบราณวัตถุภายในวิหารพระม้ามีดังนี้

ลักษณะโบราณวัตถุ จำนวน

1. พระพุทธรูปสำคัญ คือรูปพระพุทธเจ้าปางห้ามญาติ 3 องค์ พระโมคลาน และพระสารีบุตร

2. บันไดตรงกลางวิหาร ทางขึ้นไปยังลานประทักษิณ22 ขั้น

3. ยักษ์อยู่ตรงหัวบันได ด้านซ้ายคือท้าวเวกุราช ด้านขวา 2 ตน คือท้าวเวชสุวรรณ

4. พญาครุฑ อยู่ข้างบันได ด้านซ้าย คือท้าววิรุฬหก2 ตัว ด้านขวา คือท้าววิรุฬปักษ์

5. สิงห์ อยู่ราวข้างบันได ด้ายซ้ายและขวา 6 ตัว

6. พระพุทธสิหิงค์จำลอง อยู่ข้างราวบันไดเหนือสิงห์ 2 องค์ ทั้งข้างซ้ายและขวา

7. เทพ อยู่เหนือสุดราวบันได ด้ายซ้ายคือท้าวจัตุคาม 2 องค์ ด้านขวา คือท้าวรามเทพ

8. ประตูไม้ เปิดสู่ลานประทักษิณ ที่บานประตูมีภาพ 1 ประตู แกะสลักทั้งสองบาน ด้านซ้ายเป็นรูปพระพรหม ด้านขวาเป็นรูปพระอินทร์

9. ภาพปูนปั้นเป็นภาพเทวดาและสัตว์ในเทพนิยายอยู่ผนัง สองข้างบันได -

10. พญานาค อยู่ด้านหน้าของบันได ทั้งซ้ายและขวา 2 ตัว คือท้าวภุชงค์

11. พระพุทธรูป อยู่ฐานพระบรมธาตุเจดีย์ รูปประทับยืน 3 องค์ คือพระร่วงโรจน์ฤทธิ์อีก 2 องค์คือพระพุทธรูปปางลีลา และปางขัดสมาธิ

3. วิหารสามจอม

วิหารสามจอมอยู่ทางด้านตะวันออกของพระบรมธาตุเจดีย์ ภายในวิหารเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ซึ่งเชื่อกันว่าพระองค์เป็นผู้สร้าง พระบรมธาตุเจดีย์ด้านหลังของวิหารมีซุ้มสามช่องบรรจุพระพุทธรูปปางมารวิชัย และเป็นที่เก็บ อิฐเชื้อพระวงศ์และเจ้านายในเชื้อสายของพระเจ้ากรุงธนบุรีตากสินมหาราช และซุ้มประตูเป็น ภาพปูนปั้นเรื่องพุทธประวัติตอนทรงตัดเมาฬีเพื่อออกผนวช

4. วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียง หรือวิหารคด

เป็นวิหารอยู่รอบฐานบริเวณภายในขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ มีประตู 2 ประตู ประตูด้านหน้า คือประตูเหมรังศรี ข้างประตูมีสิงห์โตหินตัวผู้และตัวเมีย หน้าจั่วซุ้มประตู ประดับแก้วสีเป็นรูปครุฑและนาคยึดเกี่ยวกัน ภายในวิหารมีพระพุทธรูปนั่งทั้งสี่ด้านของระเบียง จำนวน 137 องค์ เป็นฝีมือช่างอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ทุกด้านของวิหารมีธรรมาสน์ตั้งอยู่เพื่อ แสดงธรรมในสมัยก่อนมีชาวบ้านมาสวดหนังสือก่อนพระเทศน์เป็นประจำ แต่ปัจจุบันประเพณี สวดหนังสือ (สวดด้าน) ได้สูญหายไป

5. วิหารหลวง

ตั้งอยู่บริเวณนอกเขตพระระเบียง ทางด้านใต้ของพระบรมธาตุเจดีย์ สร้างใน สมัยสุโขทัย ได้มีการปฏิสังขรณ์มาเป็นระยะ ๆ จวบจนในปัจจุบัน สถาปัตยกรรมของวิหารหลวงเป็นแบบสุโขทัย มีความกว้างใหญ่และงดงาม มาก เสารอบนอก 40 ต้น เสาภายใน 24 ต้น ห้องระหว่างเสา 13 ต้นปลายเสาแบนราบเข้าหากัน แบบอยุธยา ทำให้ดูอ่อนช้อยงดงามมาก ด้านหน้าของวิหารแกะสลักไม้รูปพระอินทร์ทรงช้าง เอราวัณ เป็นภาพแกะสลักที่วิจิตรงดงามมาก ด้านหลังของวิหารแกะสลักเป็นพระนารายณ์ทรง ครุฑ เพดานเขียนลายไทยปิดทองมีลายดารกาเป็นแฉกงดงามมาก หลังคามีช่อฟ้าและใบระกา พระประธานเรียกว่า พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยการก่อ อิฐถือปูนลงรักปิดทองสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น ด้านข้างมีพระสาวกซ้ายและขวา คือพระโมคคั ลานะ และพระสารีบุตร และมีพระพุทธรูปยืนอีกหลายองค์

เส้นทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

การเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ใช้ 2 เส้นทางดังนี้

1.คนที่เดินทางมาจากทิศใต้ จากสี่แยกหัวถนน ตรงเข้าถนนราชดำเนิน จนถึงสี่ แยกประตูชัย ตรงไปจะถึงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อยู่ทางด้านซ้ายมือ

2.หากเดินทางมาจากทิศเหนือ จากกองทัพภาคที่ 4 เข้าถนนราชดำเนิน บริเวณ หน้าสนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านสี่แยกท่าวัง ศาลากลางจังหวัด หอนาฬิกา ตรงไป ทางด้านขวามือ จะถึงบริเวณหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

หมวดหมู่
ศาสนสถาน
สถานที่ตั้ง
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช
ถนน ราชดำเนิน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช
ชื่อที่ทำงาน สำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช
ถนน ราชดำเนิน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช รหัสไปรษณีย์ 80000
โทรศัพท์ 075-324479 โทรสาร 075-356458
เว็บไซต์ www.fad14.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่