วัสดุ/วัตถุดิบ/สื่อ/อุปกรณ์สำหรับการผลิตผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. ปูนา ๕ กิโลกรัม
๒. ใบข่า ๒ ขีด
๓. ใบตะไคร้ ๒ ขีด
๔. น้ำ ๒ ลิตร
๕. เกลือ ๓ ขีด
๖. ใช้กระชอนกรองขนาดกลาง ๑ ใบ
๗. ครกตำขนาดใหญ่ ๑ ชุด
๘. กะละมังขนาดกลาง ๒ ใบ
๙. หม้อดินต้มน้ำปูขนาดใหญ่ ๑ ใบ
๑๐. เตาอั้งโล่ ๑ เตา
๑๑. ฟืน ๓ มัด
๑๒. ไม้พาย ๑ อัน
วิธีการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. จัดทำเอกสารประกอบการบรรยาย
๒. สาธิตการผลิดน้ำปูให้ผู้สนใจทราบถึงขั้นตอนการทำ
ขั้นตอนการถ่ายทอดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
๑. นำปูที่เก็บมาล้างให้สะอาด
๒. นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด พร้อมส่วนผสมใบข่า ๒ ขีด ใบตะไคร้ ๒ ขีด น้ำ ๒ ลิตร เกลือ ๒ ขีด
๓. คั้นแล้วบีบเอาแต่น้ำ และกรองด้วยกระชอนทิ้งไว้ ๑ คืน
๔. นำน้ำปูมาใส่หม้อดิน ตั้งไฟอ่อน ๆ
๕. ต้มหรือเคี่ยวจนได้ที่ พอเย็นตักใส่ภาชนะไว้ประกอบอาหาร หรือบรรจุกระปุกพลาสติกเพื่อจำหน่าย ราคา ๑ กิโลกรัม ๕๐๐ บาท
ประโยชน์/คุณค่าของภูมิปัญญาและของผลงานใช้ทำน้ำพริกหนุ่ม ใส่ยำหน่อไม้ ใส่ส้มตำมะละกอ ใส่แกงหน่อไม้สด ใส่ตำส้มโอและส้มตำมะเฟือง มะขามอ่อน ซึ่งสามารถทำเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ที่ทำ และยังมีโปรตีนและแคลเซียม