ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 14° 42' 55.9616"
14.7155449
ลองจิจูด (แวง) : E 100° 26' 7.494"
100.4354150
เลขที่ : 77723
พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร
เสนอโดย nattaya udon วันที่ 26 พฤษภาคม 2554
อนุมัติโดย อ่างทอง วันที่ 27 พฤษภาคม 2554
จังหวัด : อ่างทอง
0 250
รายละเอียด
พระมหาพุทธพิมพ์ วัดไชโยวรวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรีได้สร้าง พระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยในปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ เจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด) สมุหนายก เป็นแม่กองปฎิสังขรณ์ทั้งหมด พุทธศักราช 2430-2437 การกระทุ้งฐานรากเพื่อสร้างโบสถ์และวิหารทำให้พระพุทธรูปองค์โตพังทลายลงอีก หลังจากนั้น ได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ ช่างปั้นพระพุทธรูปฝีพระหัตถ์ยอดเยี่ยม มาช่วยสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ สถาปนาวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวงชื่อ "วัดไชโยวรวิหาร" และพระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" อย่างไรก็ตาม คนทั่วไปก็ยังคงเรียกว่า "วัดเกษไชโย"
สถานที่ตั้ง
วัดไชโยวรวิหาร
เลขที่ ๒๑ หมู่ที่/หมู่บ้าน
ตำบล ไชโย อำเภอ ไชโย จังหวัด อ่างทอง
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอ่างทอง
ตำบล บางแก้ว อำเภอ เมืองอ่างทอง จังหวัด อ่างทอง
โทรศัพท์ ๐๓๕๖๑๕๙๑๖
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่