บนเทือกเขาภูพาน ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบะยาวอยู่ทางทิศประจิม ของหมู่บ้านผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี เป็นดินแดนศักสิทธิ์ที่ชาวบ้านเล่าขานกันมาแต่โบราณกาล มีถ้ำลึกลับซึ่งเชื่อว่าเป็นเมืองของคนบังบดลับแลโบราณเรียกว่าถ้ำเม็ง หรือถ้ำเกวียนหักวันดีคืนดีวันพระเดือนหงายเต็มดวง บางทีจะมีเสียงผู้คนพูดคุยและหัวเราะกันชัดถ้อยชัดคำด้วยสำเนียงภาษาครึ่ง มนุษย์ครึ่งเทพบางคืนมีลำแสงประหลาด สาดประกายออกมาจากบริเวณนั้นและบางครั้งก็มีเสียงฆ้อง กลองเสียงพิณและเสียงแคนบรรเลงแว่วดังให้ได้ยินกันเสียงเยือกเย็นไพเราะ เสนาะหู ส่วนที่มาของชื่อ ถ้ำสุมณฑานั้นได้มีการกล่าวถึงในวรรณคดีอีสานล้านช้าง ว่าพญากุมภัณธุ์ยักษ์ ออกไปหาอาหารบนเทือกเขาแห่งหนึ่ง บนเขาภูพาน ได้เห็นพระนางสุมณฑา ซึ้งเป็นธิดาเดียวของพระยาขอม ผู้ครองเมืองจานนครราช วันนั้นพระนางร้อนรุ่มพระทัยไม่เป็นสุขอยู่ในตำหนักปรารถนาจะเสด็จประพาสป่า เที่ยวเล่นจึงพร้อมด้วยบริวารสนมกำนัลติดตามไป พระนางก็บรรทมพักผ่อนอยู่ป่านั้นเอง ครั้นพญายักษ์ผ่านมาพบเข้าก็คิดจะจับนางสนมกินเป็นอาหารแต่เมื่อเข้าใกล้ได้ เห็นสิริโฉมของพระนางสุมณฑาเข้าจึงได้มีจิตปฎิพัทธ์รักใคร่เปลี่ยนใจไม่กิน นางสนมแต่เป่ามนต์ให้หลับและลักลอบอุ้มเอาพระนางสุมณฑาพามาซ่อนไว้ในถ้ำที่ ยอดภูผาหักแห่งนี้ เมื่อพระนางสุมณฑาตื่นขึ้นมาจากบรรทมรู้ตัวว่าอยู่ ในหมู่ล้อมของยักษ์บริวารพญายักษ์ พระนางตกใจกลัวยิ่งนักได้แต่สวดมนต์ภาวนาร่ายคาถาตามคัมภีร์พระเวทย์ลัทธิพราหมณ์ อ้อนว้อนเทวดาอารักษ์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงดลบันดาลให้ร่างกายของพระนางร้อน เหมือนเปลวเพลิง มิให้พญายักษ์เข้าใกล้ได้ กุมภัณธุ์พญายักษ์ก็มิอาจเข้าใกล้ถึงกายของพระนางสุมณฑาได้จึงเพียงนั่งนอน เฝ้าอยู่หน้าถ้ำพร้อมกับบริวารยักษ์ คอยเก็บหาอาหารผลไม้ มาอุปัฎฐากให้พระนางสุมณฑาด้วยจิตใจจงรักภักดีมิได้ขาด พระบิดาของพระนางสุมณฑาส่งทราบข่าวจึงให้เท้าทั้ง 6 เป็นเหล่าบุตรของมเหสีรองออกตามหาพระธิดาจนได้มาพบจึงทำศึกสู้รบกันเพื่อ แย่งพระนางแต่ก็ไม่สามารถชนะยักษ์ได้พระยาขอมจึงบัญชาท้าวทั้ง 3 ของมเหสีหลวงมีพระนามว่า พระศรีโหร์ พระสังข์ทอง และพระสังข์สินชัยไป ติดตามเอาพระนางกับคืนมาให้ได้ท้าวทั้งสามเป็นผู้มีฤทธิ์มีอำนาจก็ได้ทำศึก สู้กับพญายักษ์ต่างไม่มีใครแพ้ชนะจนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยหล้าทั้ง 2 ฝ่ายพญายักษ์เผลอหลับไปพระสังข์สินชัยลอบเข้าไปพาพระนางสุมณฑาหนีกลับไป เมืองขอม ลำน้ำที่พระสังข์สินชัยพาพระนางล่องหนียักษ์นั้น ผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวกันมาว่าคือ ร่องน้ำสงคราม เป็นแม่น้ำสายเดียวในประเทศไทยที่ยังคงความใสสะอาด บริสุทธิ์ต้นลำน้ำไหลลงมาจากภูผาลมทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านผาสุกอยู่ ด้านหน้าของวัดถ้ำสุมณฑา ห่างจากหน้าวัดประมาณ 3 กิโลเมตร ออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอำเภอส่องดาวทอดยาวไปถึงปากน้ำชัยบุรีแล้ว ไหลลงรวมกับน้ำโขงสู่ทะเลร่องแม่น้ำสงครามคือร่องรอยไพร่พลของพระสังข์สิน ชัยและพญายักษ์ที่วิ่งรุกไล่กันขึ้นลงตีนเขาและยอดเขาทำสงครามแย่งพระนางสุ มณฑากันได้เกิดกลายเป็นร่องน้ำ จึ่งเรียกชื่อ แม่น้ำสงคราม หน้าผาชันสูงใหญ่มหึมาหน้าถ้ำสุมณฑาที่เห็นประจักษ์ตาอยู่เดี่ยวนี้ ว่ากันว่าเป็นเพราะอิทธิ์ฤทธิ์ลูกศรของพระสังข์สินชัย ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์กลับชาติมาเกิดในสมัยนั้นแผลงไปถูกหินยอดเขาจนแตกทลาย ก้อนหินใหญ่หักโค่นหล่นลงคงเหลือแต่หน้าผาสูงใหญ่เป็นหน้าผาชัน ของภูผาหักอันสวยงามแห่งเทือกเขาภูพานที่ตั้งของวัดผาสุการาม หรือ วัดถ้ำสุมณฑาในปัจจุบัน